วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ ภาค ก. กทม. แนวใหม่


ภาค ก. กทม. แนวใหม่ วิเคราะห์ได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 (50 ข้อ) ในส่วนของวิชาความสามารถในการวิเคราะห์สรุปเหตุผล
1. วิเคราะห์ปริมาณสดมภ์ 5 ข้อ
2. วิเคราะห์ข้อมูลน่าเชื่อถือ 5 ข้อ
3. เงื่อนไขภาษาและการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง 18 ข้อ
4. แผนภูมิตรรกวิทยา 2 ข้อ
5. ตรรกวิทยา 5 ข้อ
6. กฎหมาย กทม. และกฎหมายระเบียบพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ 10 ข้อ
7. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น 5 ข้อ

ส่วนที่ 2  เป็นวิชาภาษาไทย 50 ข้อ ออกเรื่อง
1. การเลือกใช้คำ กลุ่มคำ
2. การเรียงลำดับข้อความ
3. error
4. การอ่านบทความยาว
5. การอ่านสรุปความตีความ



เรื่องที่ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (สถิติออก 10 ข้อ)

M  กรุงเทพมหานคร
       l    การจัดตั้ง
             กรุงเทพมหานคร  มีวิวัฒนาการมาจากการรวมจังหวัดพระนคร  และจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็น  "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี"  ตามประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  24  และ  25  ลงวันที่  21  ธันวาคม  2514  รูปการปกครองนครหลวงธนบุรีแบ่งเป็น  2  ระดับ  ระดับภูมิภาคนั้นถือว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรี  เป็นจังหวัดหนึ่ง  ระดับท้องถิ่นเป็นการรวมเอาเทศบาลนครกรุงเทพ  และเทศบาลนครธนบุรีเป็นเทศบาลนครหลวง
             ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  335  ลงวันที่  13  ธันวาคม  2515  เปลี่ยนรูปนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร  ซึ่งยังคงเป็นจังหวัด  แต่ในขณะเดียวกันก็มีสภากรุงเทพมหานครเป็นลักษณะของหน่วยการปกค รองท้องถิ่น  ได้มีการปรับปรุงแก้ไขการปกครองในรูปกรุงเทพมหานครอีก  2  ครั้ง  ตาม  ...  ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร  .. 2518  และ  ... ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร  .. 2528  ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน  และกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  แต่เพียงอย่างเดียว  มิได้เป็นจังหวัดอีกต่อไป
        l   รูปแบบและการบริหาร
             กรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วยสภากรุงเทพมหานคร  และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
             1)  สภากรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วยสมาชิก  ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรตามเกณฑ์ราษฎร  100,000  บาท  ต่อสมาชิก  1  คน  วาระ  4  ปี
                   สภากรุงเทพมหานครจะเลือกตั้งสมาชิกเป็นประธานสภา  1  คน  และรองประธานสภาไม่เกิน  2  คน  ดำรงตำแหน่งคราวละ  2  ปี
             2)  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากราษฎร  อยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  และมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกิน  4  คน  โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
             ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  และบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย  บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตี  นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย  วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย  รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  และอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
             กรุงเทพมหานคร  ได้มีการจัดระเบียบการบริหารราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  โดยการแบ่งเป็น "สำนักงานเขต" (ปัจจุบันมี  50  สำนักงานเขต) 
             สำนักงานเขต  จะมีผู้อำนวยเขต  และสภาเขต  สภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎร  เขตละอย่างน้อย  7  คน  สำหรับเขตที่มีราษฎรเกิน  100,000  คน  ให้มีสมาชิกสภาเขตเพิ่มขึ้นโดยถือเกณฑ์ราษฎร  100,000  คนต่อสมาชิกหนึ่งคน  สมาชิกอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี
             สภาเขตทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการเขต  มิใช่ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติ
       l    อำนาจหน้าที่
             กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้  คือ  การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  การทะเบียน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง  การผังเมือง  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  และทางระบายน้ำ  การวิศวกรรม  จราจร  การขนส่ง  การจัดให้มี  และควบคุมตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้าม  และที่จอดรถ  การดูแลรักษา  ที่สาธารณะ  การควบคุมอาคาร  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด  และจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  การป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  การสาธารณูปโภค  การสาธารณสุข  การจัดการศึกษา  การส่งเสริมการศึกษา  การส่งเสริมการประกอบอาชีพ  การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร  และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ  เทศบาลนครหรือตามที่คณะรัฐมนตรี  นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย  หรือมีกฎหมายระบุเป็นหน้าที่ ของกรุงเทพมหานคร
      l     ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
             กรุงเทพมหานครอาจตราข้อบัญญัติขึ้นในกรณีดังนี้
             1)  เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
             2)  มีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานคร  มีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติ  กรุงเทพมหานคร
             3)  การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
             4)  การคลัง  การงบประมาณ  การเงิน  การทรัพย์สิน  การจัดหาผลประโยชน์จาก  ทรัพย์สิน  การจ้าง  และการพัสดุ
             จะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไว้ด้วยก็ได้เป็นโท ษจำคุกไม่เกิน  6  เดือน  และหรือปรับไม่เกิน  10,000  บาท
       l    การควบคุมส่งเสริม
             1.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแล  การปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งมีอำนาจในการสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครโดยอนุมัติของคณะรั ฐมนตรี  หรือโดยข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  และสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  พ้นจากตำแหน่ง  ตามมติคณะรัฐมนตรี
             2.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ควบคุมส่งเสริมการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร  ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (..)
             3.  กระทรวง  ทบวง  กรม  อาจส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานคร  เพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง  ทบวง  กรมนั้น  โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร  หรืออาจจะมอบอำนาจให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
             4.  รัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนให้กรุงเทพมหานครโดยตรง   
             5.  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการเงิน  และการบัญชีของกรุงเทพมหานคร
ต่อเรื่องที่ 6
หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
       ในการปฏิรูประบบราชการ  ได้มีการตรา  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี  .. 2546  ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  9  ตุลาคม  .. 2546  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่  วันที่  10  ตุลาคม  .. 2546  เป็นต้นไป  โดยพระราชกฤษฎีกานี้เป็นการออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎห มาย  ดังนี้
             1.   มาตรา  221  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
             2.   มาตรา  3/1  และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) .. 2545
M  ขอบเขตและความหมาย
             ส่วนราชการ  หมายความว่า  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม  และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร  แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             รัฐวิสาหกิจ  หมายความว่า  รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
             ข้าราชการ  หมายความรวมถึงพนักงาน  ลูกจ้าง  หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
       หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ได้แก่  การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย  7  ประการ  ดังต่อไปนี้
             1.   เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
             2.   เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
             3.   มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในชิงภารกิจของรัฐ
             4.   ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
             5.   มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
             6.   ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
             7.   มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
M  การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
       การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  หมายถึง  การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็ นอยู่ที่ดีของประชาชน  ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม  ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
       ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง ที่จะได้รับการบริการจากรัฐ  และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการดังต่อไปนี้
             1.   การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการ  ต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามหลักของการบริหารราชการเพื่อประ โยชน์สุขของประชาชนและสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ   และนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
             2.   การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดย  ซื่อสัตย์สุจริต  สามารถตรวจสอบได้  และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถ ิ่น
             3.   ก่อนเริ่มดำเนินการ  ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้ วนทุกด้าน  กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส  มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน  ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน  ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจง ทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะ ได้รับจากภารกิจนั้น
             4.   ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและคว ามพึงพอใจ  ของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการเพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะ ต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เห มาะสม   
             5.   ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากากรำเนินการ  ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว  ในกรรีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น  หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น  ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ  เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป  และให้แจ้ง  ... ทราบด้วย
       การดำเนินการข้างทั้ง  5  ข้อ  ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง  ทั้งนี้  ...  จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไป ตามนี้ด้วยก็ได้
M  การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
             1.   การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ให้ส่วนราชการปฏิบัติ  ดังต่อไปนี้
                  (1)        ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
                  (2)        การกำหนด  แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ  ตามข้อ 1 ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน  ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการำเนินการของแต่ละขั้นตอน  เป้าหมายของภารกิจ  ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
                  (3)        ส่วนราชการต้องจัดให้มี  การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น  ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก... กำหนด
                  (4)        ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ  หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้เป็ นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระท บนั้น  หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
             2.      ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ  หรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกันให้ส่วนราชการที่เก ี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหาร ราชการแบบบูรณาการร่วมกัน  โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
         ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชกา รจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ   เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ  แล้วแต่กรณี  สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชกา รได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             3.      ส่วนราชการมีหน้าที่  พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ  เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ  โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง  รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์  รวมทั้ง  ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ  สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ  ในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกั น  ทั้งนี้  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับกา รบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
             4.      เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์  ... อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ  โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร  หรือโดยวิธีการอื่นใดเพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
             5.      ให้คณะรัฐมนตรี  จัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
       เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว  ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และสำนักงบประมาณ  ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน  90  วัน  นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ วให้มีผลผูกพัน  คณะรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  และส่วนราชการ  ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแ ผ่นดิน  นั้น
       การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  ให้จัดทำเป็นแผน  4  ปี  โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดค ล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งร าชอาณาจักรไทย  และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้  อย่างน้อยจะต้งอมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤ ทธิ์ของงาน  ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ  ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้  ระยะเวลาการดำเนินการ  และการติดตามประเมินผล
             6.      เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว  ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญั ติ  โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่หรือก ฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกให้สอดคล้องกับแผนกา รบริหารราชการแผ่นดิน  ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ  และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ
         แผนนิติบัญญัตินั้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกร รมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว   ให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไ ปตามนั้น
         ในกรณีที่เห็นสมควร  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลัก เกณฑ์การจัดทำแผนนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบั ติงานก็ได้
             7.      ให้ส่วนราชการจัดทำ  แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ  โดยจัดทำเป็นแผน  4  ปี  ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามข้อ  5
         ในแต่ละปีงบประมาณ  ให้ส่วนราชการจัดทำ  แผนปฏิบัติราชการประจำปี  โดยให้ระบุสาระสำคัญรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใ ช้  เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
         เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดแล ้ว  ให้สำนักงบประมาณดำเนินการ  จัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจตา มแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
         ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใด  หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี  มิให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
         เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำ  รายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปี  เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
             8.      กรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัด ทำแผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ   ให้สำนักงบประมาณและ  ... ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการตามข้อ 7  ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้ วยวิธีการงบประมาณ  ทั้งนี้  เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทำแผนจนเกินสมควร
         เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการของส ่วนราชการใดแล้ว  การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปด ำเนินการอย่างอื่น  ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจให ม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ   จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับแผนปฏิบั ติราชการให้สอดคล้องกันแล้ว
         การปรับแผนปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่ง านหรือภารกิจใดไม่อาจำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้   หรือหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์  หรือหากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือมีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ
         เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับแผนปฏิบัติราชการแล้ว  ให้ดำเนินการแก้ไขแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกันด้วย
             9.      เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง  ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่  สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูล  ต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่  ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ  ทั้งนี้  เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดนโ ยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
M  การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภาร กิจของรัฐ
             1.      เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิ ภาพ  ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมาย  แผนการทำงาน  ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ  และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ  และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
             2.      ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุน  ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
             3.      ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วย  ของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตา มระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและรายงานให้สำนักงบประมาณ   กรมบัญชีกลางและ ก... ทราบ
             4.      ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใด  สูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดีย วกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น   ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำ  แผนการลดรายจ่ายต่อหน่วย  ของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ  กรมบัญชีกลาง  และ ก... ทราบ  และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในสิบห้าวัน  ก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไป ได้
             5.      ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มี  การประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการำเ นินการอยู่  เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใ ดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก   และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป  ทั้งนี้  ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
         ในการประเมินความคุ้มค่าข้างต้น  ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ  ความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ  ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้  และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดำเนินการด้วย
         ความคุ้มค่านี้  ให้หมายความถึง  ประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม  และประโยชน์หรือผลเสียอื่น  ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย
             6.      ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง  ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรมโดยพิจารณาถึงปร ะโยชน์และผลเสียทางสังคม  ภาระต่อประชาชน  คุณภาพ  วัตถุประสงค์ที่จะใช้  ราคาและประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
         ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพแล ะการดูแลรักษาเป็นสำคัญให้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำส ุดในการซื้อหรือจ้างเสมอไป
             7.      ในการปฏิบัติภารกิจใด  หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต  อนุมัติ  หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ประกาศ  หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด  ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต  อนุมัติ  หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าวแจ้งผลการพิจารณา  ให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
             8.      ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ประกาศ  หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติไว้  และขั้นตอนการปฏิบัตินั้นต้องใช้ระยะเวลาเกินสิบห้าวัน  ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต  อนุมัติ  หรือให้ความเห็นชอบ  ประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
         ส่วนราชการใดที่มีอำนาจอนุญาต  อนุมัติ  หรือให้ความเห็นชอบ  มิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเงื่อนไขข้างต้น  หากเกิดความเสียหายใดขึ้น  ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง  และหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้น  มิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน
             9.      ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบในปัญหานั้นๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว  การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย  ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
         ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ โดยคณะกรรมการ  เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว  ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการ  ซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย  แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้น  ผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจ ฉัยก็ตาม  ถ้ามีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่ายให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่า ยข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
         ความผูกพันที่กำหนดไว้นั้น  มิให้ใช้บังคับกับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
             10. การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร  เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นล ายลักษณ์อักษรในขณะนั้น  จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้  แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้นบันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อั กษร  และเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงาน ให้ผู้สั่งราชการทราบในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
M  การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
             1.      ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั ่ง  การอนุญาต  การอนุมัติ  การปฏิบัติราชการ  หรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่ งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง   เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ  ทั้งนี้  ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจดังกล่าวต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดว กและรวดเร็วในการบริการประชาชน
             2.      เมื่อได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจแล้ว  ให้ส่วนราชการกำหนด  หลักเกณฑ์การควบคุม ติดตามและกำกับดูแลการใช้อำนาจและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำน าจและผู้มอบอำนาจไว้ด้วย  ซึ่งหลักเกณฑ์นั้นต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือการกลั่นกรองงานที่ไม ่จำเป็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการ   ในการนี้  หากสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคม  แล้วจะเป็นการลดขั้นตอน  เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย  รวมทั้งไม่เกิดผลเสียหายแก่ราชการให้ส่วนราชการดำเนินการให้ข้า ราชการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสมและกำลังเงินงบประมาณ
         เมื่อส่วนราชการใดได้มีการกระจายอำนาจการตัดสนใจ  หรือได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมแล้ว   ให้ส่วนราชการนั้นเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
             3.      เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ  ... ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนด  หลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ  ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ  และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการ  ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
             4.      ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อ ประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน   ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำ  แผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ  รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเปิดเผยไว้    ที่ทำการของส่วนราชการและในระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ  เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
             5.      ในกระทรวงหนึ่ง  ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายในกร ะทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจ ัดตั้งศูนย์บริการร่วม  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายห รือกฎอื่นใด  ทั้งนี้  เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามขอทราบข้อมูล  ข้ออนุญาต  หรือขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวงเดียวกันโดยตดต่อเจ้ าหน้าที่    ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
         ในศูนย์บริการร่วมให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่างๆ และดำเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  เพื่อดำเนินการต่อไป  โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของทุกส่ว นราชการในกระทรวง  รวมทั้งแบบคำขอต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมที่จะบริการประชาชนได้  ณ ศูนย์บริการร่วม  และให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดพิมพ์ราย ละเอียดของเอกสารหลักฐานที่ประชาชนจะต้องจัดหามาในการขออนุมัติ หรือขออนุญาตในแต่ละเรื่องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร ่วม  และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งใ ห้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อ   และตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นดังกล่าวนั้นประชาชนได้ยื่ นมาครบถ้วนหรือไม่  พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ดำเนินการในเรื่อง นั้น
         ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคำเนอ แนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา   ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
M  การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
             1.      ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชน  หรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน  ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน   และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป  ส่วนราชการใดมิได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด  และ ก... พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ได้  หรือส่วนราชการได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไว้  แต่ ก... เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร  ... จะกำหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้
         ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบให้ข้าราชการป ฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาข้างต้น
             2.      เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือ  จากประชาชน  หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ส่วนราชการนั้น  ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถาม  หรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายใน  15  วัน  หรือภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อ  1
             3.      ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถาม หรือขอข้อมูล หรือแสดงความคดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
             4.      เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่ว นราชการทุกแห่งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ   และการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารนเทศกลางขึ้น  และการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการจะต้องจัดทำในระ บบเดียวกันนี้
         ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส ่วนราชการได้  อาจร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชกา รดังกล่าวก็ได้  ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจะขอให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร  ค่าใช้จ่าย  และข้อมูลในการดำเนินการก็ได้
             5.      ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการอุปสรรค ความยุ่งยาก  หรือปัญหาอื่นใดจากบุคคลใด  โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควรให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่ จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้น ให้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบผลการดำเนินการด้วย ทั้งนี้อาจแจ้งให้ทราบผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชก ารด้วยก็ได้
         ในกรณีการแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ  มิให้เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ของผู้ร้องเรียน  เสนอแนะหรือแสดงความคดเห็น
             6.      เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความส ะดวกรวดเร็ว  ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจออกกฎ  ระเบียบ ข้อบังคับ  หรือประกาศ  เพื่อใช้บังคับกับส่วนราชการอื่น  มีหน้าที่ตรวจสอบว่ากฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือประกาศนั้น  เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความยุ่งยาก  ซ้ำซ้อน  หรือความล่าช้า  ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการอื่นหรือไม่  เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็วต่อไป
         ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือส่วนรา ชการอื่นในเรื่องใด  ให้ส่วนราชการที่ออกฎ  ระเบียบข้อบังคับ  หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที  และในกรณีที่เห็นว่าการร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้ าใจผิดหรือความไม่เข้าใจในกฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือประกาศ  ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียนหรือเสนอแนะทราบภายใน  15  วัน  การร้องเรียนหรือเสนอแนะนี้จะแจ้งผ่าน  ... ก็ได้  และในกรณีที่ ก... เห็นว่า  กฎ  ระเบียบ ข้อบังคับ  หรือประกาศใดมีลักษณะข้างต้น  ให้ ก... แจ้งให้ส่วนราชการที่ออกกฎระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือประกาศนั้นทราบ  เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข  หรือยกเลิก  ต่อไปโดยเร็ว
                  7.  การปฏิบัติราชการในเรื่องใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย  เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ  ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล  จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น  
             ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ ายแต่ละปี  รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประม าณนั้น  และสัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้วให้ประชาชนสามารถข อดูหรือตรวจสอบได้    สถานที่ทำการของส่วนราชการ  และระบบครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ  ทั้งนี้  การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบหรือเส ียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
             ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง  ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลง  ห้ามมิให้เปิดเผยข้อความ  หรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว  เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ  หรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการ  หรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า
    O การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
             1.  นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการขอ งส่วนราชการแล้ว  ให้ส่วนราชการจัดให้มี  คณะผู้ประเมินอิสระ  ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสั มฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่  ...  กำหนด
             2.  ส่วนราชการอาจจัดให้มี  การประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชา  แต่ละระดับ  หรือ  การประเมินภาพรวมของหน่วยงานในส่วนราชการ  ก็ได้  ทั้งนี้  การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นความลับ  และเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ
             3.  ใน  การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล  ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้า ราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ   ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้ รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น
             4.  กรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพ  และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน  หรือเมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย  สามารถเพิ่มผลงาน  และผลสัมฤทธิ์  โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย  และคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ  หรือสามารถดำเนินการตามแผนการตลาด  ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่  ...  กำหนด
       ให้  ...  เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรร เงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการ  หรือให้ส่วนราชการ  ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น  เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสร รเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด   ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  และวิธีการที่  ...  กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
       O  การขยายผลการดำเนินการ
                   1.  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระรา ชกฤษฎีกานี้  โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงา น  และการดำนวยความสะดวก  และการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ใ นพระราชกฤษฎีกานี้  และให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแล  และให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดังกล่าว
                   2.  ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ  จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพร ะราชกฤษฎีกานี้
              ในกรณีที่  ...  เป็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใด  ไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ดังกล่าว  หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้  ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลองค์การมหาชน  หรือรัฐวิสาหกิจ  เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินก ารให้ถูกต้องต่อไป

ต่อเรื่องที่ 6
การรักษาราชการแทน  และการปฏิบัติราชการแทน
M  ความหมาย
       ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  ได้กำหนดวิธีการบริหารราชการที่สำคัญไว้อยู่  2  ประการ  คือ  การรักษาราชการแทน  และการปฏิบัติราชการแทน  ซึ่งทั้งสองกรณีนี้มีความแตกต่างกันในวัตถุประสงค์และวิธีการใช ้  ดังนี้
       การรักษาราชการแทน  หมายถึง  การให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งหนึ่ง  มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในตำแหน่งอื่นอีกเป็นการชั่วคราว  ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
       การปฏิบัติราชการแทน  หมายถึง  การมอบอำนาจ  ในการสั่งการ  อนุญาต  อนุมัติ  หรือการปฏิบัติราชการของผู้ที่มีอำนาจดังกล่าวพึงจะปฏิบัติ  หรือดำเนินการตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือคำสั่งใด  หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ให้แก่ผู้อื่นเป็นผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวแทนตน  โดยต้องทำเป็นหนังสือ  (ลายลักษณ์อักษร)  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีการกำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื ่นด้วย
       สำหรับคำว่า การรักษาการในตำแหน่ง  ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน  จะมีความหมายเช่นเดียวกับการรักษาราชการแทน แต่ใช้เฉพาะตำแหน่งที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ก ำหนดให้ใช้วิธีการรักษาราชการแทนไว้ (ดูหัวข้อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535)
M  หลักเกณฑ์ในการรักษาราชการแทน
             1.  การรักษาราชการแทน  จะมีได้ต่อเมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ (ตำแหน่งว่าง)  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
             2.  ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
             3.  การรักษาราชการแทน  เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 41-49  และมาตรา  56  และ  64  แห่ง  ...  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  ดังต่อไปนี้
             4.  หลักเกณฑ์นี้มิใช้บังคับกับราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร

ตำแหน่ง
ผู้รักษาราชการแทนและวิธีการ
นายกรัฐมนตรี
มาตรา 41
เฉพาะกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้
1.  รองนายกรัฐมนตรี
     - กรณีมีคนเดียว  ให้รักษาราชการแทนโดยอัตโนมัติ
     - กรณีมีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใด
คนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
2.  รัฐมนตรี
     - ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้  ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชกา รแทน
รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวง/ทบวง
มาตรา 42
1.   รัฐมนตรีช่วยว่าการ
      -  ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายคน  ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ รักษาราชการแทน
2.   รัฐมนตรี
      -  ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชกา รแทน
เลขานุการรัฐมนตรี
มาตรา 43 
1.   ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี
      -  ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการฯ  หลายคนให้รัฐมนตรีว่าการฯ  มอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการฯ  คนหนึ่งคนใดเป็นผู้รักษาราชการแทน
2.   ข้าราชการในกระทรวง
      -  ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการฯ  ให้รัฐมนตรีว่าการฯ  แต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ปลัดกระทรวง/ทบวง
มาตรา 44 วรรค 1
และ 45
1.   รองปลัดกระทรวง/ทบวง
      -  กรณีที่มีรองปลัดกระทรวง/ทบวง คนเดียวให้รักษาราชการแทน (โดยอัตโนมัติ)  ไม่ต้องแต่งตั้ง
      -  กรณีมีรองปลัดกระทวง/ทบวงหลายคน ให้แต่งตั้งรองปลัดกระทรวง/ทบวง คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
2.   อธิบดีหรือเทียบเท่า
      -  กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้แต่งตั้ง ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือ เทียบเท่าคนใดคนหนึ่งในกระทรวงนั้นแทน (ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง  ได้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น)
รองปลัดกระทรวง/
ทบวง
.44 วรรค 2
และ ม.45
ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าในกระทรวง
(ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง  ได้แก่  ปลัดกระทรวง)


ต่อเรื่องที่ 6
อธิบดี
มาตรา 46 วรรค 1
1.   รองอธิบดี
      -  กรณีที่มีรองอธิบดีคนเดียว  ให้รักษาราชการแทนโดยอัตโนมัติ
      -  กรณีมีรองอธิบดีหลายคนให้แต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ร ักษา-ราชการแทน
2.   หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่า รองอธิบดี
      -  กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเทีย บเท่ารองอธิบดีหรือข้าราชการตำแหน่งหัวหน้ากอ หรือเทียบเท่าขึ้นไป คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
(ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง  ได้แก่  ปลัดกระทรวง)
3.   ผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า
      -  กรณีนายกฯ (สำหรับนายกฯ)  หรือรัฐมนตรีว่าการฯ เห็นสมควรเพ่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบปฏิบัติราชการในกรมนั้ น  จะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธ ิบดีหรือเทียบเท่า  เป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
รองอธิบดี
มาตรา 46 วรรค 2
ข้าราชการในกรมซึ่งตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี หรือหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ผู้มีอำนาจแต่งตั้งได้แก่ อธิบดี)
เลขานุการกรม
ผู้อำนวยการกอง/สำนัก
มาตรา 47
ข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท ่า
(ผู้มีอำนาจแต่งตั้งได้แก่ อธิบดี)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
มาตรา 56
1.   รองผู้ว่าราชการจังหวัด
      -  กรณีที่มีรองผู้ว่าฯ คนเดียว ให้รักษาราชการแทนโดยอัตโนมัติ
      -  กรณีมีรองผู้ว่าฯ หลายคนให้แต่งตั้งรองผู้ว่าฯ คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
2.   ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
      -  กรณีที่ไม่มีรองผู้ว่าฯ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ถ้ามีผู้ช่วยผู้ว่าฯคนเดียวให้รักษาราชการแทนโดยอัตโนมัติ
      -  ถ้ามีผู้ช่วยผู้ว่าฯ หลายคนให้แต่งตั้งผู้ช่วยผู้ว่าฯ คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
3.   ปลัดจังหวัด
      -  กรณีไม่มีรองผู้ว่าฯ และผู้ช่วยผู้ว่าฯ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนโ ดยอัตโนมัติ
4.   หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโส
      -  กรณีที่ไม่มีรองผู้ว่าฯ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ซึ่งมีอาวุโสเป็นผู้รักษาราชการแทน (กรณีที่จะต้องแต่งตั้ง ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ได้แก่ ปลัดกระทรวง)
นายอำเภอ
มาตรา 64 วรรค 1

มาตรา 64 วรรค 2


มาตรา 64 วรรค 3
ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโส
      -  กรณีไม่มี  ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าฯ แต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสเป็นผู้รักษาราชการ แทน
      -  กรณีมี  ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ  แต่ไม่อาจปฏิบัติได้ ให้นายอำเภอแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสเป็นผู้รักษาราชการ แทน
      -  กรณีที่ผู้ว่าฯ หรือนายอำเภอมิได้แต่งตั้ง ผู้รักษาราชการแทนไว้ให้ปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสเป็นผู้รักษาราชการ แทน
   L  ข้อสังเกตุ         ­
             1.  สำหรับกรณีที่ถ้าคณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้า ที่ต่อไป  จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่เพราะ  นายกรัฐมนตรีตาย  ขาดคุณสมบัติ  หรือต้องพ้นจากตำแหน่งในกรณีต่าง ๆ มาตร 4 วรรค 4 ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี  ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้  ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้ าที่แทน
             2.  ถ้าตำแหน่งใดไม่มีการบัญญัติใน  ... ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  เช่น จ่าจังหวัด  ปลัดอำเภอ  เสมียนจังหวัด  เป็นต้น  เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้เป็นครั้งคราว  จะต้องดำเนินการตามมาตรา 68  แห่ง  ... ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535  ออกคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรเป็น  ผู้รักษาการในตำแหน่ง
          สำหรับตำแหน่งปลัดจังหวัด  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยแล้วว่าให้ใช้วิธีการรักษ าราชการแทน  เช่นเดียวกับในฐานะหัวหน้าส่วนราชการตามมาตรา 31  วรรคสอง  (เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก)
             3.  คำว่า  "หัวหน้าส่วนราชการผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ"  ในส่วนของข้าราชการพลเรือนสามัญ  มิได้มีระเบียบกำหนดไว้ชัดเจน  แต่สำนักงาน  ..  ได้เคยพิจารณาจัดลำดับอาวุโสในส่วนราชการไว้ดังนี้
                   3.1   ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงกว่า  ถือว่าผู้นั้นอาวุโสกว่า
                   3.2   หากระดับเดียวกัน  ผู้ใด  ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับนั้นก่อน  ถือว่าอาวุโสกว่า
                   3.3   หากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับเดียวกันพร้อมกัน  ผู้ที่เงินเดือนมากกว่าถือว่าอาวุโสกว่า
                   3.4   หากได้รับเงินเดือนเท่า  ผู้ที่อายุราชการมากกว่า  อาวุโสกว่า
                   3.6   หากได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเดียวกัน  ผู้ที่ได้รับเครื่องราชฯ  ชั้นนั้นก่อนมีอาวุโสกว่า
                   3.7   หากได้รับเครื่องราชฯ  ชั้นเดียวกัน  พร้อมกัน  ผู้ใดมีอายุแก่กว่ากัน  ผู้นั้นอาวุโสกว่า

M   หลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการแทน
       การปฏิบัติราชการแทน  ตามมาตรา 38  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  เป็นการมอบอำนาจในการสั่ง  การอนุญาต  การอนุมัติ  การปฏิบัติราชการ  หรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินก ารตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  คำสั่ง  หรือมติคณะรัฐมนตรีให้ผู้อื่นดำเนินการแทนโดยมีหลักเกณฑ์  ดังนี้
             1.  กรณีที่จะมอบอำนาจตามกฎหมายนี้ได้  จะต้องเป็นกรณีที่กฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือคำสั่ง  หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น  มิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น  หรือ  มิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้
             2.  ผู้ที่จะมอบอำนาจได้  ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งตามที่ระบุในมาตรา 38
             3.  การมอบอำนาจเป็นดุลยพินิจของผู้ดำรงตำแหน่งนั้น  ที่จะมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นหรือไม่ก็ได้
             4.  วัตถุประสงค์ในการมอบอำนาจ  ผู้มอบอำนาจจะต้องพิจารณา  ถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน  ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ  การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ
             5.  ผู้ที่จะรับมอบอำนาจได้  ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 38  เท่านั้น
             6.  หลักฐานการมอบอำนาจ  ในการมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้น  ให้ทำเป็นหนังสือ
             7.  ผลการมอบอำนาจ  เมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจ นั้น  และต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจตามวัตถุประสงค์ของการม อบอำนาจดังกล่าว
             8.  ผู้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจนั้นให้ผู้อื่นต่อไปไม่ได้  ยกเว้นกรณีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอำนาจนั้นต่อไปก็ได้  หากมอบให้แก่รองผู้ว่าฯ  หรือผู้ช่วยผู้ว่าฯ  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  แจ้งให้ผู้มอบอำนาจชั้นต้นทราบ  หากจะมอบให้แก่บุคคลอื่นจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจา กผู้มอบอำนาจชั้นต้นแล้ว
             9.  การควบคุมการใช้อำนาจที่ได้รับมอบ  ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอ บอำนาจและให้มีอำนาจแนะนำ  และแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้
       นอกจากนี้ในมาตรา  38  วรรคสี่  กำหนดว่า  คณะรัฐมนตรีอาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ตลอดจนการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรม  ฟ้องคดี  และดำเนินคดีแทนกระทรวง  ทบวง  กรม  หรือกำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  หรือเงื่อนไขในการมอบอำนาจให้ผู้มอบอำนาจ  หรือผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติก็ได้
       ในปัจจุบันคณะรัฐมนตรี  ได้ออก  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ  .. 2546  กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขในการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการ   โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 38 (13) มาตรา 38 วรรคสี่  มาตรา 50/2  และมาตรา 50/5  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  (ฉบับที่ 5)  .. 2545  ดังต่อไปนี้โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  .. 2546  เป็นต้นไป  โดยในระเบียบดังกล่าวได้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การมอบอำนาจ  เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในตัวกฎหมาย  ดังนี้
   O   หลักเกณฑ์การมอบอำนาจ
             1.  การมอบอำนาจให้คำนึงถึง
                   (1)            ขีดความสามารถและความรับผิดชอบของ  ผู้รับมอบอำนาจ  รวมตลอดทั้งการอำนวยความสะดวก  และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
                   (2)            ความรวดเร็ว  และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการ
                   (3)            ประสิทธิภาพ  และความประหยัด
                   (4)            การสร้างความมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่
             2.  การมอบอำนาจตามระเบียบนี้ต้องไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอนหรือระยะเว ลาในการใช้อำนาจ
             3.  ผู้มอบอำนาจมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินการเรื่องนั้นโดยตรง  และในกรณีที่เป็นการใช้อำนาจในเขตจังหวัดใด  นอกจากกรุงเทพมหานคร  ให้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดนั้น
             4.  ในการมอบอำนาจ  ให้ผู้มอบอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้
                   (1)            วางหลักเกณฑ์การใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
                   (2)            จัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนา จ
                   (3)            กำกับดูแลและแนะนำการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
                   (4)            จัดทำบัญชีการมอบอำนาจเสนอผู้บังคับบัญชา  และ  ...  และเปิดเผยให้ประชาชนทราบ
             5.  การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือโดย  ระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจ  อำนาจที่มอบ  หลักเกณฑ์ในการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ  และการรายงานผลการใช้อำนาจ  ในการใช้อำนาจที่รับมอบให้ผู้รับมอบอำนาจบันทึกการใช้อำนาจตามห ลักเกณฑ์ที่ผู้มอบอำนาจกำหนด
             6.  ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติราชการในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น  ทั้งนี้  โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ  และความรับผิดชอบที่มีต่อเรื่องนั้น ๆ และผู้มีส่วนร่วมพิจารณาในเรื่องใด  ต้องร่วมรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นจากเรื่องนั้นด้วย
             7.  ในกรณีที่  ... เห็นว่าการมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งใดมิได้เป็นไปตามระเบียบนี ้  ให้  ...  แนะนำให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น  ดำเนินการปรับปรุงตามที่เห็นสมควร
             8.  ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้  ให้  ... เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ  ...  ให้เป็นที่สุด
             9.  ในกรณีที่ไม่สมควรหรือไม่อาจใช้บังคับระเบียบนี้กับการมอบอำนาจ ในเรื่องใด  หรือหน่วยงานใด  ... จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ยกเว้น  การใช้บังคับระเบียบนี้กับเรื่องหรือหน่วยงานนั้น  ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
       การมอบอำนาจของตำแหน่งต่าง ๆ
             1.  บรรดาอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งที่อาจมอบได้ตามมาตรา 38  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  นั้น  ให้ผู้มีอำนาจซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป  มอบอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทั้งหมด  เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้จะไม่มอบอำนาจก็ได้
                   (1)            เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญ
                   (2)            เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป ็นมาตรฐานเดียวกัน
                   (3)            เป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน  หรือเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนได้
             2.  ในกระทรวงที่มีการแบ่งกลุ่มภารกิจซึ่ง  หัวหน้ากลุ่มภารกิจ  มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวง  ให้หัวหน้ากลุ่มภารกิจดำเนินการมอบอำนาจตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว ้ในระเบียบนี้  โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นปลัดกระทรวงของส่วนราชการในกลุ่มภารกิ จนั้น
             3.  ให้อธิบดีดำเนินการวางระเบียบการมอบอำนาจตามมาตรา  38 (8)  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534  ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามระเบียบนี้
             4.  การมอบอำนาจให้แก่  ผู้ว่าราชการจังหวัด  เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอำนาจจากส่วนราชการ  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหว ัดที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ
             5.  ให้นายอำเภอ  ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ  และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดดำเนินการ  มอบอำนาจให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดในระเบียบ
             6.  การใช้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด  ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด  และของผู้ดำรงตำแหน่งใดในจังหวัด  ต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด  ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัดเพื่อประโยช น์ในการปฏิบัติภารกิจใดให้สอดคล้องกัน   การมอบอำนาจจากผู้ดำรงตำแหน่งในราชการส่วนกลางไปยังผู้ว่าราชกา รจังหวัด  และการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดตามข้อ 4  และการใช้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด  และผู้รับมอบอำนาจ  ภายในกลุ่มจังหวัดเดียวกันต้องสอดคล้องกับแนวทางที่ประชุมร่วมร ะหว่างรองนายกรัฐมนตรี  ซึ่งกำกับดูแลกลุ่มจังหวัดดังกล่าว  และผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มเดียวกันนั้นได้กำหนดไว้
          7.         การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนในต่างประเทศ  ส่วนราชการใดมีภารกิจที่ต้องดำเนินการในต่างประเทศ  ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นมอบอำนาจทั้งปวงที่จะต้องดำเนินการในต ่างประเทศนั้นให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทน   และให้หัวหน้าคณะผู้แทนมอบอำนาจให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคค ลในคณะผู้แทน  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ
       การมอบอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและองค์กรมหาชน
             1.        การมอบอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน  ให้ส่วนราชการซึ่งกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการใ ห้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวางระเบียบการมอบอำนาจให้เหมาะสมกับ ภารกิจการบริการประชาชน  ทั้งนี้  โดยคำนึงถึงความสะดวก  รวดเร็ว ประสิทธิภาพ  และประหยัดในการบริการประชาชน  ตามแนวทางตามระเบียบนี้
             2.        การมอบอำนาจในรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน
          เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน  คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ  และขององค์การมหาชน  ดำเนินการให้มีระเบียบว่าด้วยการมอบอำนาจให้สอดคล้องกับแนวทางต ามระเบียบนี้  โดยจะกำหนดให้ระเบียบดังกล่าว  อย่างน้อยต้องกำหนดให้การใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจในเขตจังหวั ดใด  ต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนการปฏิบัติการของจังหวัดนั้นด้วยก็ ได้

      ข้อสังเกตเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน  และปฏิบัติราชการแทน
             1.        ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใด  หรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น  มอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน  ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับผู้ซึ่งมอ บอำนาจ
             2.        ในกรณีที่กฎหมายฉบับอื่น  แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการ  หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด  ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการ  หรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่ รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
ตำแหน่งที่อาจมอบอำนาจได้ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 38
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  .. 2534
ตำแหน่งผู้มอบ
ผู้รับมอบอำนาจ
นายกรัฐมนตรี
-  รองนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
-  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง  ปลัดกระทรวง  อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
ปลัดสำนักนายกฯ
รองปลัดสำนักนายกฯ ผู้ช่วยปลัดสำนักนายก อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
ปลัดกระทรวง/ทบวง
-  รองปลัดกระทรวง/ทบวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง/ทบวง อธิบดี หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
อธิบดี หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
- รองอธิบดี ผู้ช่วยอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
ข้าราชการในกอง ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
ผู้ว่าราชการจังหวัด
- รองผู้ว่าฯ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
นายอำเภอ
ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า
ประจำกิ่งอำเภอ
ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำกิ่งอำเภอ
หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำกิ่งอำเภอ
ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น
อาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นได้ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด