วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชาภาษาไทย - การเขียน

วิชาภาษาไทย - การเขียน
การเขียนคือการแสดงความรู้/ความคิด/ความรู้สึกและความต้องการของผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสามารถอ่านเข้าใจได้ รับทราบความรู้ ความ
คิดความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น
***ข้อสอบการเขียนจะทดสอบในเรื่องการเรียงความและการเขียนประโยคตามหลักภาษาโดยจะกำหนดข้อความ/ประโยคหรือบทความแล้วให้ตอบคำถาม
โดยเลือกข้อความที่กำหนดให้ซึ่งเป็นข้อความที่ถูกต้องตามหลักภาษาหรือใส่เครื่องหมายเลขกำกับหัวข้อแล้วให้เรียงเลขที่กำกับมาให้ถูกต้อง***
การเรียงความ
หลักในการทำข้อสอบ ควรพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
หลักการพิจารณาข้อความ 
    1.ความหมายของคำในความหมายอย่างเดียวกันต้องเลือกดูคำที่มีความหมายแจ่มแจ้งที่สุดเช่นคำว่า "สวย" กับ "งาม" มีความหมายใก้ล
เคียงกัน คำว่า "งาม"น่าจะเหมาะกับประโยค ที่สอื่ความหมายถึงการมีจิตใจดีและมีคุณธรรมส่วนคำว่า "สวย" หมายถึงรูปร่างหน้าตาภายนอก ซึ่งคำว่า "
งาม"จะมีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจกว่า เป็นต้น
2.การประหยัดคำ เราต้องใช้คำให้ถูกที่และเหมาะสมกับฐานะบุคคลปัจจุบันมักจะใช้คำผิดๆส่วนมากป็นคำราชาศัพท์หรือศัพท์ที่ใช้มานานแล้ว เช่น คำว่า "
มหาศาล"นั้นแต่ก่อนใช้แต่กับ พระมหากษัตริย์ และพราหมณ์แต่ปัจจุบันยังนำมาใช้แม้แต่ลุ่มโจร
3. หลักความใก้ลชิด ต้องวางคำขยายให้ถุกต้องตามตำแหน่งหน้าที่มิเช่นนั้นจะทำให้ความหมายกำกวม เช่น ไหมเป็นสินค้าสำคัญซึ่งได้มาจากตัวหนอนเล็กๆ
ประโยคนี้ควรแก้เป็น ไหมซึ่งได้มาจากหนอนตัวเล็กๆเป็นสินค้าสำคัญ
4. ฐานแห่งน้ำหนัก ประโยคหนึ่งๆถ้าแบ่งเป็น 3 ตอน ใจความสำคัญมักจะอยู่ตอนท้าย รองลงมาเป็นต้นประโยค ส่วนกลางประโยคจะมีความสำคัญมากที่สุด
เช่น
               ยกมืขึ้นไม่เช่นนั้นจะตาย
               ชนชาวไทยร่วมชาติขิงข้าพเจ้าทั้งหลายจงตื่นเถิด
5. เหตุผล ต้องพิจารณาจากหลักเหตุผลถ้าข้อความใดผิดหลักความเป็นจริงก็ใช้ไม่ได้ เช่น ประโยคที่ว่า เด็กคนนั้นเก่งจังเลยแค่ 5-6 เดือนก็วิ่งได้แล้ว
ซึ่งเป็นไปไม่ได้
6.ไวยากรณ์หรือหลักของภาษาเราต้องดูว่าคำที่ใช้ถูกต้องและมีความหมายกลมกลืนในประโยคหรือไม่ เช่น
  คำว่า "สมควร" ควรเชื่อมกับคำว่า "แก่" เช่นประโยคต่อไปนี้
  "เขาจะต้องทดลองปฎิบัติราชการจนหัวหน้าเห็นว่าเขามีความสามารถ สมควรแก่ ตำแหน่ง"
"สมเด็จพระบรมพิตรพพระราชสมภารเจ้าตั้งพระราชหฤทัยทรงพระราชวิจารณ์ราชกิจดดยสมควรแก่ประเทศชาติ โดย สมควรแก่ กาลสมัย
  คำว่า "สม" ควรเชื่อมกับคำว่า "กับ" ดังนี้
  "เปรียบสตรีมีกุลชาติ มารยาทน่าชม สมกับ หญิง"
"ท่านต้งปฎิบัติหน้าที่ให้ สมกับ เป็นครู"
  คำปฎิเสธซ้อนกันไม่ควรใช้มิเช่นนั้นจะกลายเป็นคำบอกรับไป เช่น
"ห้ามไม่ให้เก็บดกไม้" กลายเป็น "ให้เก็บดอกไม้ได้"
"มิใช่ลำเอียงก็เปล่า" กลายเป็น "ลำเอียง"
7. การใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามความนิยม ต้องดูตามความเหมาะสม
      ประโยคที่ใช้ตามภาษาอังกฤษไม่ควรใช้ เช่นคำว่า "จับหวัด" เพราะภาษาไทยใช้ว่าว่า "เป็นหวัด"
  ประโยคที่มีคำภาษาบาลีเช่นคำว่า "อันว่าข้าพเจ้านี้มีความทุกข์"ก็ไม่ควรใช้เพราะคำว่า "อันว่า" ไม่เป็นที่นิยมและบรรยายเป็นตัวอักษรไม่ได้
  ประโยคว่า "ฉันจะไปตัดเสื้อ" ควรใช้ "ฉันจะไปให้ช่างตัดเสื้อ"
  ประโยคว่า "ฉันจะไปตัดผม" ควรใช้ "ฉันจะไปให้ช่างตัดผม" แต่ประโยค "เขาตัดผมของฉันและแต่งให้เรียบร้อย" ก็ไม่ควรใช้เพราะยาวไปไม่เป็น
ที่นิยม
หลักการเรียงความ (ในการสอบ)
   
    การจัดเรียงข้อความที่วางไว้ผิดที่ ผิดความหมาย ให้ได้ใจความชัดเจนนั้นในข้อสอบจะวางข้อความกลับกันไปมาอ่านแล้วไม่ได้ใจความชัดเจนจึงต้องเรียบ
เรียงข้อความใหม่เพื่อให้อ่านได้ความ มีหลักในการเรียงข้อความดังนี้
1.ข้อความที่กำหนดให้ส่วนใหญ่ข้อความนั้นจะเป็นตอนๆให้ผู้สอบอ่านข้อความที่กำหนไว้ในข้อสอบตั้งแต่ต้นจนจบทุกข้อความแยกเอกรรถประโยคอเนกถรรถ
ประโยคและสังกรประโยคแล้วกำหนดว่าข้อความใดควรจะอยู่ก่อนอยู่หลังโดยจัดเรียงตามลำดับควมแล้วใส่หมายเลขกำกับลงบนข้อความนั้นๆ เรียงตามลำดับไป
จนจบข้อความ
  2.จัดประโยคโดยเรียบเรียงตามลำดับข้อความให้ได้ใจความดีและเป็นภาษาที่สละสลวย
3.อ่านข้อความที่ได้จัดเรียงลำดับตามหมายเลขแล้วว่าได้ความชัดเจนหรือยังถ้ายังไม่ชัดเจนก็เรียบเรียงข้อความใหม่จนกว่าจะได้ความชัดเจน
  4.เมื่อได้ลำดับหมายเลขและใจความชัดเจนดีแล้วจึงเขียนข้อความเรียงลำดับหมายเลขลงในระดาษคำตอบ
***ในการเรียงข้อความนี้ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกหัดทำบ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญและต้องฝึกอ่านจดจำข้อความที่ใช้ภาษาได้ถูกต้องจะช่วยให้ทำข้อสอบได้
รวดเร็วถูกต้องและดีขึ้นใช้เวลาในการทำข้อสอบน้อยลง
***ในการสอบเนื่องจากเวลามีจำกัดเมื่ออ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วมีความเห็นว่าจะเรียงลำดับให้อ่านได้ใจความยากและไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องหรือไม่ขอ
แนะนำว่าควรจะทำข้อสอบข้ออื่นที่ทำได้ก่อนเสร็จแล้วจึงกลับมาเรียบเรียงใหม่
การเขียนประโยคตามหลักภาษา
ประโยค คือกลุ่มคำที่กี่ยวข้องกันเป็นระเบียบและมีเนื้อความครบบริบูรณ์ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง
    ส่วนต่างๆของประโยค ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
    1. ภาคประธาน ประกอบด้วย บทประธานและบทขยายประธาน
  2. ภาคแสดง ประกอบด้วย บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม บทขยายกรรม
  รูปประโยค มีอยู่ 5 รูปคือ
  1. ประโยคกรรตุคือประโยคที่กล่าวตรงไปตรงมา คือมีการเรียงประธาน+กริยา และกรรม ตามลำดับ เช่น สุนัขกัดแมว
2. ประโยคกรรม คือประโยคที่เอากรรมของกริยามาเป็นประธาน โดยวางไว้หน้าประโยค เพื่อเน้นกรรม เช่น แมวถูกสุนัขกัด
3.ประโยคกริยา คือประโยคที่เอาคำกริยามาไว้หน้าประโยคเพื่อเน้นคำกริยานั้นๆ เกิดการปฎิวัติขึ้น,มีนักเรียน 20 คนในชั้นนี้
4. ประโยคการิต คือประโยคกรรตุ หรือประโยคกรรม แต่มีผู้รับแทรกเข้ามา เช่น เขาบังคับให้คนใช้ทำงานหนัก,ครูให้นักเรียนทำงานหนัก
5.ประโยคกริยาสภาวมาลาคือประโยคที่เอาคำกริยาสภาวมาลาเป็นบทประธาน (กริยาสภาวมาลาคือกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับนาม) หรือบทขยายประธาน
บทกรรมหรือบทขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคก็ได้ เช่นออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง,พูดดีเป็นศรีศักด
วิชาภาษาไทย - การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ
การเลือกใช้คำหรือกกลุ่มคำ คือการหาคำหรือกลุ่มคำมาเติมลงในช่องว่างที่เว้นไว้เพื่อให้ความหมายนั้นสอดคล้องกับเรื่องหรือเพื่อให้เรื่องมีความหมายที่ชัดเจน
ไม่กำกวม หรือไม่ให้ความหมายของเรื่องเป็นอย่างอื่นดังตัวอย่างข้อสอบ
1. พิธีการสมโภชกรุงรัตนโสินทร์ 200 ปี ในเดือนเมษายน ศกนี้ จะมีการ....ให้ประชาชนได้เห็นทั่วประเทศ
  ก. ถ่ายเทป                         ข. ถ่ายทอด
  ค. ส่งทอด                          ง. ถอดถ่าย
คำตอบ ข.
2. พระพุทธเจ้ามิได้ทรงมีพระประสงค์จะสอน ปรัชญา โดยตรง แต่ทว่าสอน.....เฉพาะที่ทรงเล็งเห็นว่าจะมี....ต่อการพ้นทุกข์เท่านั้น
  ก. วิปัสสนา,โอกาส             ข. ปรัชญา,ประโยชน์
  ข. แก้ปัญหา,ประโยชน์        ง. คนทั่วไป,โอกาส
ตอบ ข.
3. เราควรจะ...ได้ว่า เรามีขุมควมคิดที่ประมาณค่ามิได้...อยู่ในพระไตรปิฎก
  ก. ดีใจ,ช้อน                     ข. ดีใจ,บรรจุ
  ค. ภูมิใจ,ซ่อน                   ง. ภูมิใจ,บรรจุ
ตอบ ง.
4.แต่....ล้ำค่านี้ดูเหมือนจะมีสภาพเช่นเดียวกับ....ธรรมชาติของประเทศเรานั่นเอง
      ก. ขุมความคิด,ขุมทรัพย์     ข. สมบัติ,ขุมทรัพย์
      ค. ขุมทัพย์,ทรัพยากร         ง. ขุมทรัพย์,สมบัติ
ตอบ ค.
5.คือพวกเราได้รับผลประโยชน์กันเพียง....เราขาดเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญสำหรับ....เอาทรัพยากรที่เรามีอยู่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่
เพื่อความเจริญของประเทศ
  ก. เล็กน้อย,ขุดคุ้ย               ข. เล็กน้อย,ขุดค้น
  ค. ผิวเผิน,ช่วยไม่ได้            ง. ผิวเผิน,ขุดคุ้ย
ตอบ ข.
วิชาภาษาไทย - การสรุปความและการจับใจความ
            การอ่านเพื่อสรุปความและจับใจความควรอ่านไปให้ตลอดเรื่องแต่อย่าเพิ่งสรุปเมื่อ่านจบเรื่องแล้วจะต้องจับใจความให้ได้ดังต่อไปนี้
   
    1. ต้องหาใจความสำคัญของเรื่องให้ได้
ใจความสำคัญ จะปรากฎอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง หรือย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่งส่วนข้อความอื่นจะเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนขยายใจความสำคัญแต่ก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งประโยคที่เป็นใจความสำคัญ อาจจะอยู่ ตอนต้นหรือตอนท้ายของเรื่องก็ได้
   
2. เนื้อเรื่องและส่วนประกอบหลัก ที่จะนำมาขยายความสำคัญโดยตรงและส่วนประกอบย่อยอื่นๆ จะเป็นส่วนขยายความให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นคือ
   
    - ทำให้ทราบใจความสำคัญว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง
    - มีความต่อเนื่องกันมาอย่างไร
    - ขยายความเข้าใจได้ชัดเจน
    - สรุปใจความได้
   
           เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว จึงนำความเข้าใจจากการอ่านมาสรุปเนื้อความบทความหรือเรื่องราวที่อ่านเพื่อนำมาจับใจความให้ได้ว่า ใคร? ทำอะไร?ที่ไหน? เมื่อไหร่? อย่างไร? เมื่อจับใจความและเข้าใจได้ดังนี้แล้วจึงจะนำความเข้าใจไปตอบคำถามที่กำหนดให้

วิชาภาษาไทย - การอ่านตีความ
             การตีความ คือการอ่านเพื่อให้ทราบความหมายหรือความคิดที่สำคัญของเรื่องการตีความมักเป็นไปตามประสบการณ์และความรู้สึกของแต่ละคน ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องตีความตรงกันเสมอไป
   
            การตีความควรประเมินค่าและบอกได้ว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใดและบกพร่องในส่วนใดควรพิจารณาถึงรูปแบบและจุดประเทศในการเขียนแล้วจึงชี้ข้อดีข้อบกพร่องโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทของงานของการเขียนนั้นๆคุณภาพของถ้อยคำสำนวนที่ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เป็นต้น
   
    ลักษณะของคำถามในเรื่องการอ่านตีความ
    อาจจะถามเกี่ยวกับคำถามดังต่อไปนี้
    1. การตั้งชื่อเรื่อง (สามารถสรุปใจความสำคัญ ข้อความที่อ่านได้)
    2. รู้จุดมุ่งหมายของผู้เขียน
    3. รู้ความหมายของข้อความ
    4. รู้ความสำคัญของเรื่อง
    5. รู้ความหมายของคำศัพท์
    6. รู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
    7. ระเบียบวิธีคิด (คือการวิเคราะห์และประเมินผลได้)
    8. ความสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าและระหว่างประโยค
    9. วิธีนำเสนอเรื่อง(อธิบายตามลำดับขั้น ยกตัวอย่าง ชี้ผลลัพท์ที่สัมพันธ์กัน ให้คำนิยาม ด้วยถ้อยคำที่แปลกออกไป)
    10. การประเมินข้อความ เนื้อเรื่องที่อ่าน

วิชาภาษาไทย - ความเข้าใจภาษา
ความเข้าใจภาษา เข้าใจเรื่องราว
    
           การทำความเข้าใจภาษาเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวนั้นควรอ่านเรื่องหรือบทความให้ตลอดเรื่องอย่างช้าๆเพื่อให้ทราบความหมายหรือความคิดที่สำคัญของเรื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนเมื่อเข้าใจเรื่องราวแล้วก็จะสามารถแยกได้ว่าข้อความใดสำคัญมากข้อความใดสำคัญน้อย จุดประสงค์ของเนื้อเรื่องหรือบทความ คืออะไรอยู่ที่ใดและต้องการอะไร หรือให้ทำอะไร เมื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีแล้วจึงเรียงลำดับความสำคัญมากหรือน้อย เพื่อนำไปตอบคำถามให้ตรงกับจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดให้
   
          ความเข้าใจภาษาเข้าใจเรื่องราวต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเวลาอันรวดเร็วซึ่งต้องอาศัยพื้นฐาน คือสมาธิในการอ่าน การทำความเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและควรมีความรู้ความชำนาญในเรื่องถ้อยคำและสำนวนเป็นอย่างดี จึงจะนำมาใช้ในการทดสอบได้

วิชาภาษาไทย - ความหมายของคำหรือกลุ่มคำ

 
      ความหมายของคำหรือกลุ่มคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้โดยทั่วไปมีความหมาย2อย่างคือความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
    ความหมายโดยตรง คือ คำแปลหรือคำจำกัดความที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรมเป็นความหมายตรงตัวเลย เช่นคำว่า "เผา" ก็หมายถึง เอาไฟจุด เป็นต้น
    ความหมายโดยนัย คือคำที่มีความหมายที่ไม่ตรงับความหมายดั้งเดิม เช่น "แดดเผา" แปลว่าทำให้เร่าร้อน , "เผาขน" แปลว่า ระยะประชั้นชิด เป็นต้น
***ลักษณะข้อสอบ***จะออกมาเพื่อให้เลือกตอบคำถามที่มีความหมายตรงกับคำขีดเส้นใต้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. เด็กเกเรจนพ่อแม่ต้องบอกศาลา
      ก. กล่าวโทษ            ข. กล่าวตักเตือน
  ค. นำไปไว้ที่ศาลา     ง. เลิกเอาใจใส่
ตอบ ง.
2. เขาทั้งสองรักกันอย่างดูดดื่ม
      ก. ซาบซึ้ง                ข. ชุ่มชื่น
      ค. ละมุนละไม          ค. อ่อนหวาน
ตอบ ก.
3. เธออย่าทำอะไรบุ่มบ่ามน่ะ
      ก. หลงไหล             ข. คลั่งไค้ล
      ค. ผลีผลาม           ง. ไม่มีเหตุผล
ตอบ ค.                           

วิชาภาษาไทย - การใช้คำราชาศัพท์
ใช้ ทรง นำหน้ากริยาธรรมดา เพื่อทำให้คำกริยาธรรมดากลายมาเป็นคำกริยาราชาศัพท์   สำหรับ พระราชา และเจ้านาย เช่น ทรงยินด ี, ทรงขว้าง , ทรงวาง   , ทรงวิ่ง , ทรงยิง ,ทรงกรุณา , ทรงสามารถ ,ทรงกล่าว , ทรงอธิบาย , ทรงรับ , ทรงกระแอม   , ทรงชุบเลี้ยง , ทรงฟัง.
ใช้ ทรง เป็นสกรรมกริยา   นำหน้านามธรรมดาคือนำหน้าคำนามที่ไม่เป็นคำราชาศัพท์สำหรับพระราชาและเจ้านายมีความหมายได้หลายประการตามแต่นามอันเป็นกรรมจะบ่งถึง   เช่น ทรงศีล (รับศีล) , ทรงบาตร (ตักบาตร) , ทรงธรรม (ฟังเทศน์)   , ทรงม้า (ขี่ม้า) , ทรงรถ , ทรงปืน , ทรงสกี , ทรงดนตรี , ทรงเบ็ด , ทรงกีฬา ,   ทรงตะกร้อ ,ทรงศร
ห้ามใช้   ทรง นำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว   ไม่นิยมคำว่าทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก ได้แก่คำต่อไปนี้ ตรัส   , ดำรัส ประทับ (อยู่ , ยืน ,นั่ง) เสด็จ (ไป)   สรง , สรงน้ำ กริ้ว เสวย โปรด   ( รัก ,ชอบ ) ประชวร บรรทม รับสั่ง สุบิน   ทอดพระเนตร (ยกเว้นคำเดียวคือ ทรงผนวช เพราะนิยมใช้กันมาอย่างนี้)

เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปประทับแรมที่ต่างจังหวัด ให้ใช้คำว่า แปลพระราชฐาน

ถ้าเดินทางกลับกรุงเทพฯ ให้ ใช้คำว่า ......................
ก. เสด็จนิวัติพระนคร
ข. กลับพระราชวัง
ค. ดำเนินกลับพระราชวัง
ง. แปลพระราชฐาน
ตอบ ก.
สมเด็จพระสังฆราช..................ไปวัดพระศรีรัตนะศาสดาราม เป็นประจำ
ก. เสด็จพระราชดำเนิน
ข. เสด็จพระดำเนิน
ค. เสด็จ
ข. เดิน
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ค
คำกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทำผิด คือข้อใด
ก. พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม
ข. พระอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม
ค. พระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
ง. พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ก.
- ค. พระพุทธเจ้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ใช้เมื่อพระองค์มีพระราชดำรัสก่อน
- ง. พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ใช้เมื่อตอบว่าสบายดี
สมาคมอนุรักษ์ช้างไทยได้...................ถวาย.................แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ก. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม - ช้างสีดอ
ข. น้อมกระหม่อม - ช้างนรการ
ค. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม - ช้างนรการ
ง. น้อมกระหม่อม - ช้างสีดอ
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ก.
ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาท” เป็นคำกราบบังคมทูลพระราชวงศ์ลำดับใด
ก. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ข. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ค. สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
ง. ถูกทุกข้อ
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ง.
การใช้คำราชาศัพท์ข้อใด้ต่อไปนี้ผิด
ก. ทรงยินดี
ข. ทรงวิตก
ค. ทรงดำรัส
ง. ทรงเจิม
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ค.
คำว่า “ตาย” สำหรับสมเด็จพระสังฆราช ใช้คำว่า
ก. สิ้นพระชนม์
ข. ทิวงคต
ค. ถึงแก่มรณภาพ
ง. มรณภาพ
ตอบ ก
คำราชาศัพท์ในข้อใดถูกต้องตามความหมาย
ก. พระดัชนี หมายถึง นิ้วนาง
ข. พระมัชฌิมา หมายถึง นิ้วก้อย
ค. พระอนามิกา หมายถึง นิ้วชี้
ง. พระอังคุฐ หมายถึง นิ้วหัวแม่มือ
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ง.
- พระอังคุฐ หมายถึง นิ้วหัวแม่มือ
- พระดัชนี หมายถึง นิ้วชี้
- พระมัชฌิมา หมายถึง นิ้วกลาง
- พระอนามิกา หมายถึง นิ้วนาง
- พระกนิษฐา หมายถึง นิ้วก้อย
(ข้อสอบราชาศัพท์) ข้อใดต่อไปนี้ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง
ก. ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เคยมาเยือนไทยในฐานะ อาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีพระโอวาท แก่ผู้ที่มาเข้าเฝ้า
ค. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ามีพระสมณสาสน์ถึงรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม
ง. สมเด็จพระมหาสมณเจ้าเสวยได้มาก
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ค.
1. พระราชอาคันตุกะ ใช้เมื่อ พระมาหากษัตริย์ เป็นแขกของ พระมหากษัตริย์
2. ราชอาคันตุกะ ใช้เมื่อ ประธานาธิบดี ,นายกรัฐมนตรี ,สามัญชน เป็นแขกของ พระมหากษัตริย์
3. อาคันตุกะ ใช้เมื่อ พระมหากษัตริย์ เป็นแขกของ ประธานาธิบดี ,นายกรัฐมนตรี ,สามัญชน
เอกสารกำหนดขั้นตอนของ ราชพิธี พระราชกุศล และงานรัฐพิธี คือข้อใด
ก. หมายกำหนดการ
ข. กำหนดการ
ค. ขั้นตอนของงานพิธี
ง. เอกสารกำหนดการ
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ก.
ถ้ารายงานกิจการด้วยวาจาต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ใช้คำตามข้อใด
ก. กราบบังคมทูลถวายรายงาน
ข. กราบบังคมทูลรายงาน
ค. กราบบังคมทูลถวายกิจการ
ง. ถวายรายงาน
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้

ตอบ ข.
- ถ้าถวายรายงานด้วยวาจา ใช้คำว่า กราบบังคมทูลรายงาน
- ถ้าถวายหนังสือรายงาน ใช้คำว่า กราบบังคมพระกรุณาถวายรายงาน
ถ้าต้องการเขียนหนังสือถึงสมเด็จพระสังฆราช ต้องใช้คำขึ้นต้นข้อใดถูกต้อง
ก. ขอประธานกราบทูล
ข. กราบทูล
ค. นมัสการ
ง. กราบเรียน
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ข.
ข้อใดใช้คำไม่ถูกต้อง
1.        สมบัติตาแข็งเมื่อดื่มกาแฟหลายถ้วย
2.        สมชายตาขวางเมื่อเห็นลูกสาวนั่งคุยกับคนรัก
3.        สมศรีตาคมเมื่อเลือกของได้สวยและถูก
4.        สมศักดิ์ตาฟางเพราะอายุมาก
เฉลย
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
คำตอบที่ถูกคือ ตัวเลือกที่ 4
- ข้อ 1 ผิด เพราะ รสชาติอาหารที่นี่ถูกคอ ควรแก้เป็น รสชาติอาหารที่นี่ถูกปาก
เพราะ ถูกคอใช้กับคนที่ชอบพอกัน, อัธยาศัยเข้ากันได้ดี
- ข้อ 2 ผิด เพราะ ปรับปรุงดิน ควรแก้เป็น ปรับปรุงที่ดิน
- ข้อ 3 ผิด เพราะ ในที่สุดควรจะมีคำว่า ก็ต่อด้วย เป็น ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ออมชอมกันได้
พระราชสมัญญา มีความหมายว่า
ก. ชื่อที่ได้รับแต่งตั้ง
ข. นามสกุล
ค. ชื่อเล่น
ง. มีปัญญาที่ชาญฉลาด
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้

ตอบ ค
ถ้าเขียนจดหมายถึงสมเด็จพระราชาคณะ ต้องใช้คำลงท้ายตามข้อใดจึงจะถูกต้อง
ก. ขอนมัสการด้วยความเคารพ
ข. ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ค. ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ง. ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ง.
เมื่อเวลาห้าทุ่มวันนี้หม่อมเจ้าวรศิริพันธ์ได้
ก. สิ้นพระชนม์
ข. ถึงแก่พิราลัย
ค. ถึงแก่อสัญกรรม
ง. ถึงแก่อนิจกรรม
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ข.
(ข้อสอบราชาศัพท์) ข้อใดต่อไปนี้ผิด ?
ก. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชบัญชาแก่ผู้ที่มาเข้าเฝ้า
ข. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ เป็นพระธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินออกจากตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
ง. นายกรัฐมนตรีได้น้อมเกล้า ฯ ถวาย หนังสือแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ง.
ทูลเกล้า ฯ ถวาย ใช้กับของที่ยกได้ เช่น หนังสือ เงิน หรือสิ่งของขนาดเล็ก
น้อมเกล้า ฯ ถวาย ใช้กับของที่ยกไม่ได้ เช่น รถยนต์ ที่ดิน หรือสิ่งของขนาดใหญ่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ.............เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 76 พรรษา
ก. ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
ข. ทรงบำเพ็ญกุศล
ค. ทรงพระบำเพ็ญกุศล
ง. ทรงทำบุญ
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ก.
เมื่อคราวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปมูลนิธิ
ศิลปาชีพบางไทร คณะผู้จัดงานได้จัดให้มีการละเล่นพื้นบ้านของชาวเขา................
ก. หน้าพระที่นั่ง
ข. หน้าพระพักตร์
ค. เฉพาะพระพักตร์
ง. หน้าที่นั่ง
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้

ตอบ ค.

จะใช้คำว่าเฉพาะพระพักตร์” หรือ “แสดงหน้าที่นั่งก็ได้”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมี....................... ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ให้รับเด็กที่มีความพิการทางสายตามาอยู่ใน.....................
ก. พระบรมราชองค์การ         พระบรมราชูปถัมภ์
ข. พระบรมราชองค์การ         พระราชานุเคราะห์
ค. พระราชเสาวนีย์         พระบรมราชินูปถัมภ์
ง. พระราชดำรัสสั่ง         พระราชูปถัมภ์
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ก.
การใช้คำราชาศัพท์ข้อใดต่อไปนี้ถูก
ก. ทรงปกครอง
ข. ทรงตรัส
ค. ทรงเสด็จ
ง. ทรงรับสั่ง
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ก.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ให้...................แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ก. พระบรมราโชวาท
ข. พระราโชวาท
ค. พระโอวาท
ง. พระโชวาท
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ข.
การถวายรถยนต์ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้คำราชาศัพท์ตามข้อใด
ก. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรถยนต์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อนถวายรถยนต์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรถยนต์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ง. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อนถวายรถยนต์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เปิดข้อความแล้ว! คุณเห็นข้อความ เพราะคุณคือสมาชิกที่มีส่วนร่วมตอบกระทู้
ตอบ ข
- การถวายของที่หนัก ให้ใช้คำว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อนถวาย
- ผู้น้อยให้ของผู้ที่สูงกว่าให้ใช้คำว่า แด่

1+3+5+9+.....+97+99 เท่ากับเท่าไร
วิธีคิด     [ (99+1)*((99/2)+1) ]/2    ตอบ   2500
จากตัวเลขประกอบสามเหลี่ยม ข้อใดคือคำตอบที่ถูกต้อง
http://e-learning.spiceday.com/images/default/attachimg.gifhttp://e-learning.spiceday.com/attachments/forumid_555/20090125_c06fd5d58cecd6354289mvqmsx5SRALa.jpg
25-1-2009 19:39

ตอบ  ข.  18
วิธีคิด เอาด้านทั้งหมดมาคูณกัน แล้วหารด้วย 10
รูปที่ 1     8x5x3 /10    = 12
รูปที่ 2     4x7x5 /10    = 14
รูปที่ 3     2x9x10 /10  = 18
24 96 480 ..?...
1.1220           2.2100
3.2460           4.2880
ตอบ 4.2880
วิธีคิด
8*3 = 24
24*4 = 96
96*5 = 480
480*6 = 2880
16 52 36 156 64 312 100 ..?...
1.618            2.828
3.936          4.1248
ตอบ 3.936
วิธีคิด
อนุกรมซ้อนกันสองชุด
26 52 156 312
กับ
16 36 64 100
อนุกรมแรกให้ *2 แล้วก็ *3 แล้วก็ *2 แล้ว *3 สลับไปเรื่อยๆ อันสุดท้ายจะได้ 312*3 936
196 169 121 64 ..?...
1.32             2.16
3.8               4.4
ตอบ 2.16
วิธีคิด
196 = 14^2 (เครื่องหมาย ^ = ยกกำลัง)
169 = 13^2
121 = 11^2
จะสังเหตเห็นว่า
14-1 = 13
13-2 = 11
ดังนั้น  11-3 = 8
8^2= 64