ไม่มีเฉลยนะครับ
วิชา แบบธรรมเนียมทหารวิชา การกำลังพลสำรองวิชา การกำลังสำรองวิชา การข่าวเบื้องต้นวิชา คุณลักษณะและขีดความสามารถ อาวุธทหารราบวิชา
ปลย. ๑๑วิชายุทธวิธี เรื่อง บุคคลทำการรบในเวลากลางวันวิชายุทธวิธี เรื่อง บุคคลทำการรบในเวลากลางคืนวิชายุทธวิธี
เรื่อง ป้อมสนาม
วิชายุทธวิธี รูปขบวนทำการรบ หมู่ ปล.
การพักแรมวิชา
วีรกรรมของพระมหากษัตริย์ไทย
มหาราช ๙ พระองค์วิชา อุดมการณ์ความรักชาติวิชา การพัฒนาสังคมและชุมชน
วิชา ยาเสพติด
จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียง ๑ ข้อ
วิชา แบบธรรมเนียมทหาร
๑. เครื่องหมายยศเป็นรูปดาว ๕ กลีบ ทำด้วยโลหะสีทองประดับบนอินธนูบนบ่าข้างละ ๓ ดาว เป็นเครื่องหมายชั้นยศอะไร
ก. ร้อยตรี ข. ร้อยโท
ค. ร้อยเอก ง. พันตรี
๒. ทหารประจำการที่สังกัดศูนย์การทหารม้า ใช้เครื่องหมายสังกัดทำด้วยโลหะสีทองติดที่คอเสื้อด้านซ้าย คือ
ก. ศม. ข. ศบ.
ค. ศร. ง. ศสพ.
๓. กองทัพภาคที่ ๑ ใช้อักษรย่อคือ
ก. ทภ. ๑ ข. ทภ.๒
ค. ทภ. ๓ ง. ทภ.๔
๔. เครื่องหมายเหล่าทหารราบทำด้วยโลหะสีทองติดคอเสื้อข้างขวาเป็นรูปอะไร
ก. รูปกระบี่ไขว้ประกอบด้วย ๓ จักร ข. รูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน
ค. รูปลูกระเบิดมีเปลว ง. รูปสายฟ้าประกอบกับจักร
๕. เครื่องหมายเหล่าทหารสรรพาวุธทำด้วยโลหะสีทองติดคอเสื้อข้างขวาเป็นรูปอะไร
ก. รูปกระบี่ไขว้ประกอบด้วย ๓ จักร ข. รูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน
ค. รูปลูกระเบิดมีเปลว ง. รูปสายฟ้าประกอบกับจักร
๖. เครื่องหมายเหล่าทหารพลาธิการทำด้วยโลหะสีทองติดคอเสื้อข้างขวาเป็นรูปอะไร
ก. รูปกระบี่ไขว้ประกอบด้วย ๓ จักร ข. รูปปืนเล็กไขว้ประกอบกับตับกระสุน
ค. รูปลูกระเบิดมีเปลว ง. รูปสายฟ้าประกอบกับจักร
๗. ทหารที่เป็นเหล่าหลักในการทำหน้าที่เข้าแย่งยึดพื้นที่ เคลื่อนย้ายด้วยท้าว ทำการรบได้ทุกภูมิประเทศ
และเหตุการณ์เป็นหน้าที่ของเหล่าใด
ก. เหล่าทหารช่าง ข. เหล่าทหารปืนใหญ่
ค.เหล่าทหารม้า ง. เหล่าทหารราบ
๘. ทหารที่ทำการรบด้วยการยิง ทำการยิงสนับสนุน หรือยิงช่วยเหลือทหารราบในการปฏิบัติการรบเป็นหน้าที่
ของเหล่าใด
ก. เหล่าทหารช่าง ข. เหล่าทหารปืนใหญ่
ค.เหล่าทหารม้า ง. เหล่าทหารราบ
๙. ทหารประจำการที่สังกัดศูนย์การทหารราบใช้เครื่องหมายสังกัดทำด้วยโลหะสีทองติดเครื่องหมายที่
คอเสื้อด้านซ้าย คือ
ก. ศสพ. ข. ศม.
ค. ศบ. ง. ศร.
๑๐. ทหารกองประจำการที่สังกัดศูนย์การทหารปืนใหญ่ใช้เครื่องหมายสังกัดทำสีทองติดเครื่องหมายที่คอเสื้อด้านซ้าย คือ
ก. ศสพ. ข. ศม.
ค. ศป. ง. ศร.
๑๑. เครื่องหมายยศ นายทหารประทวนทำด้วยแถบไหมสีทองเหลือง ๓ บั้ง คือ
ก. สิบตรี ข. สิบโท
ค. สิบเอก ง. จ่าสิบตรี
๑๒. นศท. ควรจะได้ทราบว่า เหล่าทหารบกมีกี่เหล่า
ก. ๑๕ เหล่า ข. ๑๖ เหล่า
ค. ๑๗ เหล่า ง. ๑๘ เหล่า
๑๓. ทหารการข่าว มีหน้าที่เกี่ยวกับอะไร
ก. ข่าวทหารทั้งปวง ข. เบิกจ่ายเงินเดือน
ค. การรักษาพยาบาล ง. ให้ความบันเทิง
๑๔. ยศทหารนั้น มีกี่ประเภท คือ
ก. ๑ ประเภท ข. ๒ ประเภท
ค. ๓ ประเภท ง. ๔ ประเภท
๑๕. ผู้ใดแต่งเครื่องแบบทหารโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย มีอย่างไร
ก. จำคุกตั้งแต่ ๓ เดือน ถึง ๕ ปี ข. จำคุกตั้งแต่ ๑ ปี ถึง ๓ ปี
ค. จำคุกตั้งแต่ ๓ ปี ถึง ๕ ปี ง. จำคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี
๑๖. กรมสวัสดิการทหารบก ใช้คำย่อว่าอะไร
ก. สก. ข. สห.
ค. สพ. ง. สบ.
๑๗. กรมการสัตว์ทหารบก ใช้คำย่อว่าอะไร
ก. กส. ข. สส.
ค. สบ. ง. สพ.
๑๘. กรมการแพทย์ทหารบก ใช้คำย่อว่าอะไร
ก. พบ. ข. พธ.
ค. กธ. ง. กง.
๑๙. กรมยุทธศึกษาทหารบก ใช้คำย่อว่าอะไร
ก. ยศ. ข. ผท.
ค. จย. ง. ยย.
๒๐. กรมกำลังสำรองทหารบก ใช้คำย่อว่าอะไร
ก. กสร. ข. สบส.
ค. สบบ. ง. สตธ.
วิชา การกำลังพลสำรอง
๒๑. กำลังสำรองหมายถึงกำลังที่ไม่ใช่กำลังประจำการที่เตรียมไว้ในยามสงครามมีอะไรบ้าง ?
ก. กำลังกึ่งทหาร ข. กลุ่มพลังมวลชนที่ได้จัดตั้งแล้ว
ค. กลุ่มพลังมวลชนอื่น ๆ ง. ถูกทุกข้อ
๒๒. กำลังกึ่งทหารได้แก่.-
ก. กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) ข. กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.)
ค. หน่วยอาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) ง. ทหารกองเกิน
๒๓. กลุ่มพลังมวลชนอื่น ๆ ได้แก่.-
ก. กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) ข. กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.)
ค. หน่วยอาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) ง. ทหารกองเกิน
๒๔. ข้อใดเป็นกลุ่มพลังมวลชนที่ได้มีการจัดตั้งแล้ว
ก. กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) ข. กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.)
ค. หน่วยอาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) ง. ทหารกองเกิน
๒๕. ข้อใดเป็นกำลังพลสำรอง
ก. กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) ข. กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.)
ค. หน่วยอาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) ง. ทหารกองเกิน
๒๖. กำลังพลสำรองหลักประเภท ส.ต.กองประจำการและพลทหารได้มาจากไหน ?
ก. พลทหารที่รับราชการครบกำหนดแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน
ข. นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.)
ค. หน่วยกองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน
ง. กลุ่มกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ
๒๗. กำลังพลสำรองหลักประเภท นายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวนได้มาจากไหน ?
ก. พลทหารที่รับราชการครบกำหนดแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน
ข. นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.)
ค. หน่วยกองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน
ง. กลุ่มกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ
๒๘. ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ (พลทหารที่รับราชการครบตามกำหนดแล้วปลดเป็นกองหนุน) จะอยู่ใน
ชั้นกองหนุนต่าง ๆ รวม ๓ ชั้น อย่างไร ? จึงจะปลดเป็นพ้นราชการประเภทที่ ๑
ก. ชั้นที่ ๑ จำนวน ๑๐ ปี ชั้นที่ ๒ จำนวน ๗ ปี และชั้นที่ ๓ จำนวน ๖ ปี
ข. ชั้นที่ ๑ จำนวน ๗ ปี ชั้นที่ ๒ จำนวน ๖ ปี และชั้นที่ ๓ จำนวน ๑๐ ปี
ค. ชั้นที่ ๑ จำนวน ๖ ปี ชั้นที่ ๒ จำนวน ๗ ปี และชั้นที่ ๓ จำนวน ๑๐ ปี
ง. รวม ๓ ชั้น เป็นเวลา ๒๓ ปี
๒๙. ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ หมายถึงใคร ?
ก. ทหารกองประจำการที่ต้องโทษจำคุกรวมกันเกินกว่า ๑ ปีขึ้นไป
ข. ทหารกองประจำการที่กระทำให้เสื่อมเสียแก่ทางราชการและถูกปลด
ค. ทหารกองเกินที่ไม่ถูกคัดเลือกเข้าเป็นทหาร (จับสลากไม่ได้ใบแดง)
ง. ถูกทุกข้อ
๓๐. นายทหารสัญญาบัตรกองหนุนที่มีอายุไม่เกิน ๕๐ ปีคือนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนชั้นยศอะไร ?
ก. ร้อยตรี – ร้อยเอก ข. พันตรี - พันโท
ค. พันเอก - พันเอกพิเศษ ง. นายพล ขึ้นไป
๓๑. ความมุ่งหมายในการฝึกวิชาทหารของ นศท.มีอย่างไร ?
ก. ให้มีคุณลักษณะเป็นผู้นำ
ข.ให้เป็นผู้มีวินัย
ค. เชื่อมั่นในตนเอง และให้ดำรงตนเป็นพลเมืองดี
ง. ถูกทุกข้อ
๓๒. การปฏิบัติตัวของ นศท.ระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารในการแต่งกาย นศท. ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. เครื่องแบบต้องถูกต้องตามระเบียบ ข.เครื่องแบบต้องสะอาดเรียบร้อยตลอดเวลา
ค. ผมต้องตัดสั้นตามที่หน่วยฝึกกำหนด ง. ถูกทุกข้อ
๓๓. การเข้ารับการฝึกสอน นศท.ต้องกระทำตามเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถเข้ารับการสอนได้ด้วยเหตุใด ก็ตาม นศท.ผู้นั้นต้องรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อผู้ใด ? ก่อนถึงวันเข้ารับการฝึกสอนไม่น้อยกว่า ๑ วัน
ก. ผู้บังคับบัญชาที่หน่วยฝึก ข. ผู้กำกับ นศท.ณ สถานศึกษาที่ตนศึกษาอยู่
ค. ครูฝึก ณ สถานศึกษาที่ตนศึกษาอยู่ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๔. จากข้อ ๑๓ หากไม่สามารถรายงานก่อนเข้ารับการฝึกสอนได้ ให้กระทำอย่างไร ?
ก. รายงานเมื่อมาเข้ารับการเรียนการสอน ข. รายงานภายหลังไม่เกิน ๑ วัน
ค. รายงานภายหลังไม่เกิน ๓ วัน ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๕. เมื่อ นศท.สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ ๑ หรือ ชั้นปีที่ ๒ แล้วไม่ประสงค์จะเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นไปอีก
ด้วยเหตุผลใดก็ตาม นศท.จะต้องทำอะไรบ้าง ?
ก. ต้องดำเนินการขอหลักฐานหนังสือสำคัญประจำตัวแสดงวิทยฐานะ
ข. ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียน กองการเตรียมพล นสร.เพื่อสอบถามในเรื่องสิทธิต่า ๆ
ค. ไม่ต้องทำอะไรเลย
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
๓๖. การยกเว้น นศท.ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ใน พ.ศ.ใด ให้นำใบสำคัญ (สด.๙) พร้อมกับเขียนชื่อสถานศึกษาวิชาทหาร ชั้น / พ.ศ., เลขทะเบียน นศท. และที่อยู่ปัจจุบัน ไว้ด้านหลังของใบสำคัญ (สด.๙) แล้วนำไปมอบให้กับใคร ? ในการขอยกเว้นไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ
ก. อาจารย์ที่โรงเรียน ข. ผู้กำกับ นศท. ณสถานฝึกวิชาทหาร
ค. สัสดีอำเภอ ง. ครูฝึก
๓๗. การยกเว้น การนำหลักฐานต่าง ๆ ไปมอบ ( ตามข้อ ๑๖ ) จะต้องนำไปมอบภายในเดือนใด ?
ก. สิงหาคม ข. กันยายน ค. ตุลาคม ง. พฤศจิกายน
๓๘. เมื่อ นศท.พ้นสภาพการเป็น นศท. ถือว่าหมดสิทธิได้รับการยกเว้น ฯ เมื่อหมดสิทธิ นศท.ต้อง
ปฏิบัติอย่างไร ?
ก. รายงานตัวต่อ ผกท.ของสถานศึกษาวิชาทหารของตน
ข. ติดต่อสัสดีอำเภอ ณ ภูมิลำเนาทหารของตนภายใน ๓๐ วัน
ค. แจ้งต่อสถานศึกษาที่ตนศึกษาก่อนเข้าเป็น นศท.
ง. ถูกทั้ง ข้อ ก และข้อ ข
๓๙. สิทธิในการได้รับคะแนนเพิ่ม นศท.มีสิทธิได้รับคะแนนเพิ่มจากการสอบในโอกาสใด ?
ก. สอบเลื่อนชั้นในโรงเรียนที่ตนศึกษาอยู่ ข. สอบเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เลือก
ค. สอบเข้าโรงเรียนทหาร ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๐. จากข้อ ๑๙ ในการได้รับคะแนนเพิ่มจะได้รับอย่างไร. ?
ก. สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ เพิ่มให้ร้อยละ ๓
ข. สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๒ เพิ่มให้ร้อยละ ๔
ค. สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๓ เพิ่มให้ร้อยละ ๕
ง. ถูกทุกข้อ
๔๑. สิทธิในการลดหย่อนวันรับราชการในกองประจำการ นศท.ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ มีสิทธิ
ได้รับการลดหย่อนหรือไม่ถ้ามีลดหย่อนอย่างไร ?
ก.วันรับราชการทหารกองประจำการ 2 ปี 1 ปี 8 เดือน
ข.วันรับราชการทหารกองประจำการ 2 ปี เหลือ 1 ปี 6 เดือน
ค.วันรับราชการทหารกองประจำการ 2 ปี 6 เดือน
ง.วันรับราชการทหารกองประจำการ 2 ปี เหลือ 1 ปี
๔๒. จากข้อ ๔๑ นศท.ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ และร้องขอเข้ากองประจำการจะมีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือไม่ถ้ามีลดหย่อนอย่างไร ?
ก. ไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อน ข. จาก ๒ ปี เหลือ ๑ ปี ๖ เดือน
ค. จาก ๒ ปี เหลือ ๑ ปี ง. จาก ๒ ปี เหลือ ๖ เดือน
๔๓. หลักฐานการขอรับสิทธิลดหย่อนวันรับราชการในกองประจำการใช้หลักฐานอะไร ?
ก. ใบสำคัญ สด.๙ ข. บัตรประชาชน
ค. สำเนาทะเบียนบ้าน ง. หนังสือแสดงวิทยะฐานะสอบได้วิชาทหาร
๔๔. หลักฐานตามข้อ ๒๓ ต้องนำไปแสดงเมื่อไร. ?
ก. ให้เจ้าหน้าที่ก่อนการจับสลาก ข.ให้เจ้าหน้าที่เมื่อรับหมายเรียก
ค. ให้เจ้าหน้าที่เมื่อรายงานตัวเข้าหน่วย ง. ไม่มีข้อใดถูก
๔๕. หาก นศท.ผู้ที่จบการฝึกวิชาทหารปีชั้นที่ ๑ และ ๒ แล้วไม่ประสงค์จะเรียนต่อในชั้นต่อไป ให้ นศท.
รีบติดต่อขอรับหนังสือแสดงวิทยฐานะเมื่อผลสอบประจำปีการศึกษานั้นได้ประกาศผลสอบแล้ว ภายในกี่วัน
ก. ภายใน ๓๐ วัน ข. ภายใน ๑๕ วัน
ค. ภายใน ๗ วัน ง. ภายใน ๓ วัน
๔๖. สิทธิการขอแต่งตั้งยศทหาร นศท.ซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ และ ๒ เมื่อเข้ารับราชการทหารในกองประจำการครบตามกำหนด และปลดเป็นทหารกองหนุนแล้ว มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งยศตามระเบียบ
กองทัพบกที่กำหนด โดยสำเร็จ ชั้นปีที่ ๑ และจบมัธยมปลายหรือเทียบเท่าจะได้รับยศอะไร ?
ก. พลทหาร ข. สิบตรี
ค. สิบโท ง. สิบเอก
๔๗. จากข้อ ๔๖ สำเร็จชั้นปีที่ ๑ และจบอนุปริญญาขึ้นไปจะได้รับยศอะไร ?
ก. พลทหาร ข. สิบตรี
ค. สิบโท ง. สิบเอก
๔๘. จากข้อ ๒๖ สำเร็จชั้นปีที่ ๕ และจบอนุปริญญาขึ้นไปได้รับยศอะไร ?
ก. สิบโท ข. สิบเอก
ค. จ่าสิบเอก ง. ว่าที่ ร้อยตรี
๔๙. การไปขอรับการแต่งตั้งยศ นศท.ที่สอบได้วิชาทหารจากสถานศึกษาใด (หน่วยฝึกหรือศูนย์ฝึก) ให้ไปติดต่อเพื่อขอให้ทำเรื่องขอแต่งตั้งยศให้ (มทบ. / จทบ.) ส่วนผู้ที่มีการเปลี่ยนที่อยู่หรือย้าภูมิลำเนาแล้วไม่ทราบว่าจะไปติดต่อที่ใดให้ไปติดต่อที่...?
ก. สัสดี อำเภอหรือจังหวัดที่ตนอยู่ ข. นสร.แผนกทะเบียน กองการเตรียมพล
ค. บก.ทบ. ง. กระทรวงกลาโหม
๕๐. การขอแต่งตั้งยศ (ในข้อ ๔๙ )ต้องนำหลักฐานอะไรไปแสดง ?
ก. สมุดประจำตัวทหารกองหนุน ข. สำเนาทะเบียนบ้าน
ข. วุฒิการศึกษาและหนังสือแสดงวิทยฐานะ ง. ถูกทุกข้อ
วิชา การกำลังสำรอง
๕๑. กำลังสำรองได้แก่
ก. นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน ข. นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ
ค. นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง ง. ถูกทุกข้อ
๕๒. การที่จะได้มาซึ่งกำลังสำรองเหล่านี้ต้องอาศัยพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ปี พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. ๒๔๙๕ ข. พ.ศ. ๒๔๙๗
ค. พ.ศ. ๒๔๙๙ ง. พ.ศ.๒๕๐๐
๕๓. กำลังพลสำรองจำพวกทหารกองเกินเป็นกำลังพลสำรองที่ได้มา ตามกฎหมายรับราชการได้แก่ ผู้มีอายุ
ตั้งแต่เท่าใด
ก. ๑๘ ปี ถึง ๒๙ ปี บริบูรณ์ ข. ๒๐ ปี ถึง ๓๐ ปี บริบูรณ์
ค. ๒๕ ปี ถึง ๓๕ ปี บริบูรณ์ ง. ๓๐ ปี ถึง ๔๐ ปี บริบูรณ์
๕๔. นศท. ที่ไปสมัครสอบเข้าโรงเรียนทหาร ถ้านำหลักฐานการสอบได้วิชาทหารชั้นปีที่ ๑ ไปแสดง จะได้
คะแนนเพิ่มร้อยละเท่าไร
ก. เพิ่มให้ร้อยละ ๒ ข. เพิ่มให้ร้อยละ ๓
ค. เพิ่มให้ร้อยละ ๔ ง. เพิ่มให้ร้อยละ ๕
๕๕. เมื่อ นศท. สอบได้วิชาทหารชั้นปีที่ ๓ แล้ว ไม่มีโอกาสจะเข้ารับราชการฝึกวิชาทหารชั้นสูงขึ้นในปีถัดไป ให้ นศท. รีบติดต่อขอรับหนังสือสำคัญ ประจำตัวแสดงวิทยฐานะ สอบได้ภายในกี่วัน
ก. ๑๘ วัน ข. ๒๐ วัน
ค. ๓๐ วัน ง. ๔๐ วัน
๕๖. ข้อใดที่ไม่ใช่ความมุ่งหมายในการฝึกสอนวิชาทหาร แก่นักศึกษาเพื่อให้ นศท. แต่ละนายมีคุณลักษณะ
ก. มีลักษณะความเป็นผู้นำ
ข. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
ค. เป็นผู้มีวินัย
ง. เป็นกำลังสำรองของผู้บังคับกองร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ
๕๗. พันตรี , พันโท เป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนอายุไม่เกินกี่ปี
ก. ๖๐ ปี ข. ๕๐ ปี
ค. ๖๕ ปี ง. ๖๘ ปี
๕๘. นศท. ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ จะได้รับสิทธิลดหย่อนวันรับราชการทหารกองประจำการ ตาม พรบ. ดังนี้
ก. จาก ๒ ปี ๖ เดือน เหลือ ๒ ปี ข. จาก ๒ ปี ๖ เดือน เหลือ ๑ ปี ๖ เดือน
ค. จาก ๒ ปี เหลือ ๑ ปี ๖ เดือน ง. จาก ๒ ปี เหลือ ๑ ปี
๕๙.นายร้อย ( ร.ต. – ร.อ. ) เป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนอายุไม่เกินกี่ปี
ก. ๔๕ ปี ข. ๕๐ ปี
ค. ๕๕ ปี ง. ๖๐ ปี
๖๐. นศท. ที่พ้นสภาพการเป็น นศท. ตามระเบียบ รด. ว่าด้วยการฝึกวิชาทหารจะด้วยเหตุใดก็ตาม จะต้องไปติดต่อ จนท. ที่อำเภอภูมิลำเนาทหาร ( สัสดีอำเภอ ) ภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๖๑. ทหารกองเกินมีอายุเท่าไหร่
ก. ๑๕ ปี ข. ๑๖ ปี
ค. ๑๗ ปี ง. ๑๘ ปี
๖๒. นศท. ชั้นปีที่ ๓ ให้มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่ตำแหน่งอะไร
ก. ผบ.หมู่ ข. ผบ.ตอน
ค. ผบ.หมวด ง. ผบ.พัน
๖๓. นศท. ชั้นปีที่ ๑,๒ ให้มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่ตำแหน่งอะไร
ก. ลูกแถว ข. ผบ.หมู่
ค. ผบ.ตอน ง. ผบ.หมวด
๖๔. นศท. ชั้นปีที่ ๕ ให้มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่ตำแหน่งอะไร
ก. ผบ.หมู่ ข. ผบ.ตอน
ค. ผบ.หมวด ง. ผบ.พัน
๖๕. การเตรียมกำลังพลสำรองทั้งบัญชีและเอกสารมีกี่ประเภท
ก. ๑ ประเภท ข. ๒ ประเภท
ค. ๗ ประเภท ง. ๔ ประเภท
๖๖. ถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ จะต้องมาเป็นทหารเกณฑ์ กี่ ปี
ก. ๖ เดือน ข. ๑ ปี
ค. ๑ ปี ๖ เดือน ง. ๒ ปี
๖๗. ถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๒ จะต้องมาเป็นทหารเกณฑ์ กี่ ปี
ก. ๖ เดือน ข. ๑ ปี
ค. ๑ ปี ๖ เดือน ง. ๒ ปี
๖๘. กำลังกึ่งทหาร คือ
ก. อส.ทพ. ข. สอ.รด.
ค. ลส.ชบ. ง. กนช.
๖๙. ถ้าสำเร็จการฝึก นศท. ปี ๕ จะได้ยศ อะไร
ก. สิบตรี ข. สิบโท
ค. สิบเอก ง. ร้อยตรี
๗๐. ถ้าสำเร็จการฝึก นศท. ปี ๓ จะได้ยศ อะไร
ก. สิบตรี ข. สิบโท
ค. สิบเอก ง. ร้อยตรี
วิชา การข่าวเบื้องต้น
๗๑. ข่าวสารทางทหาร หมายถึงอะไร
ก. ข่าวสารที่ได้จากประชาชน และนักศึกษา
ข. ข่าวสารที่ได้จากหมู่นักศึกษา
ค. เอกสารภาพถ่าย สภาพวัตถุ แผนที่ การตรวจการณ์
ง. ข่าวที่ได้จากแหล่งชุมชนทั่วไป
๗๒. ข่าวกรองทางทหาร หมายถึงอะไร
ก. การรวบรวม จัดระเบียบวิเคราะห์ ประเมินค่าเกี่ยวกับ ขศ.
ข. ข่าวกรองทางการขนส่ง และโทรคมนาคม
ค. ข่าวกรองภูมิศาสตร์ทางทหาร
ง. ข่าวกรองทางสังคมจิตวิทยา และปัจจัยประชาชน
๗๓. มาตรการต่อต้านข่าวกรองมีกี่ประเภท
ก. ๑ ประเภท ข. ๒ ประเภท
ค. ๓ ประเภท ง. ๔ ประเภท
๗๔. ข่าวที่ ผบช. ต้องการสำหรับวางแผนทางยุทธวิธีในเรื่องของ ขศ.,ลมฟ้าอากาศ,และภูมิประเทศ เป็นข่าวกรองประเภทใด ?
ก. ข่าวสารทางทหาร ข. ข่าวกรองทางทหาร
ค. ข่าวกรองการรบ ง. ข่าวกรองทางยุทธศาสตร์
๗๕. หลักการรายงานประกอบด้วยข้อใด
ก. รวดเร็ว, ถูกต้อง, สมบูรณ์ ข. ความแน่นอน,ถูกต้อง
ค. การรายงานด้วยวาจา,โทรศัพท์ ง. รวดเร็ว, เชื่อถือได้
๗๖. ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการแสวงหาข่าวสารทหารคือข้อใด
ก. ทหารเหล่าข่าวเท่านั้น ข. ทหารทุกคน
ค. เฉพาะเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง ง. ผู้บังคับบัญชา
๗๗. สัญญาระหว่างชาติ (สัญญาเจนีวาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลย เมื่อ ๑๒ ส.ค.๒๔๙๒ ทหารต้องปฏิบัติต่อเชลยศึกตามลำดับขั้นอย่างไร)
ก. ค้น , แยก ,เงียบ , เร็ว , พิทักษ์ ข. ค้น , แยก , เร็ว , พิทักษ์ , เงียบ
ค. ค้น , แยก ,เงียบ , พิทักษ์, เร็ว ง. แยก , ค้น , เงียบ , เร็ว , พิทักษ์
๗๘. กรณีทหารถูกจับเป็นเชลยต้องปฏิบัติดังนี้?
ก. บอกตามความจริงเฉพาะ ยศ , ชื่อ และหมายเลขประจำตัว
ข. บอกตามความจริงเฉพาะชื่อหน่วย และยอดกำลังพลเท่านั้น
ค. บอกจำนวนและชนิดของอาวุธเท่านั้น
ง. ถูกทุกข้อ
๗๙. รายงานเหตุการณ์ปกติได้กี่วิธี
ก. ๓ วิธี ข. ๔ วิธี
ค. ๕ วิธี ง. ๖ วิธี
๘๐. วิธีการรายงานที่รวดเร็วที่สุดคือการรายงานด้วยวิธีใด?
ก. ลายลักษณ์อักษร ข. เอกสารและยุทธภัณฑ์
ค. ภาพสังเขป ง. โทรศัพท์และวิทยุ
๘๑. ผู้รับผิดชอบการต่อต้านข่าวกรองคือใคร
ก. ฝอ.๑ ข. ฝอ.๒
ค. ฝอ.๓ ง. ฝอ.๔
๘๒. ข้อใดต่อไปนี้เป็นมาตรการต่อต้านข่าวกรองเชิงรับ?
ก. การสกัดกั้นต่อต้านการลาดตระเวน ข. การวางแผนเข้าตี
ค. การสะกดรอย ง. การรักษาความลับ
๘๓. ข้อต่อไปนี้เป็นข่าวที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติการทางทหารยกเว้นข่าวเกี่ยวกับเรื่องใด ?
ก. ข้าศึก ข. ลมฟ้าอากาศ
ค. ภูมิประเทศ ง. การเมือง
๘๔. การข่าวมีความสำคัญต่อการปฏิบัติการทางทหารอย่างไร ?
ก. ฝ่ายเราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับข้าศึกมากเพียงใดข้าศึกย่อมรู้เรื่องฝ่ายเราน้อยลงเท่านั้น
ข. ผู้บังคับบัญชาอาศัยการข่าวเป็นพื้นฐานในการตกลงใจทางยุทธวิธี
ค. ถ้าฝ่ายเราป้องกันไม่ให้ข้าศึกทราบข่าวเกี่ยวกับฝ่ายเราก็เท่ากับเป็นการปิดหนทางปฎิบัติของข้าศึก
ง. ถูกทุกข้อ
๘๕. การพยายามรักษาความปลอดภัยแก่เชลยศึกในขณะส่งกลับไปยังส่วนหลังไม่ให้ใครทำการทารุณต่อเชลยศึกเรียกว่าอะไร ?
ก. การค้น ข. การพิทักษ์
ค. การแยก ง. ถูกทุกข้อ
๘๖. ข้อต่อไปนี้ข้อใดเป็นแหล่งข่าวที่ทหารต้องเพ่งเล็งเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อฝ่ายเรา ?
ก. การปฏิบัติและการงดปฏิบัติของข้าศึก ข. สภาพลมฟ้าอากาศและภูมิประเทศ
ค. แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของข้าศึก ง. ถูกทุกข้อ
๘๗. เพื่อเป็นการป้องกันและรักษามิให้ความลับของทางราชการรั่วไหลไปถึงข้าศึกทหารต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด ?
ก. ทหารที่ออกไป ลว.จะต้องไม่นำเอกสารใด ๆ เกี่ยวกับทางการทหารติดตัวไป
ข. ทหารจะต้องเป็นผู้ที่รู้ความลับของทางราชการทหารไว้ให้มากที่สุด
ค. ทหารจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงจากการถูกจับเป็นเชลยให้ถึงที่สุด
ง. ทหารต้องไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับกิจการทหารแก่บุคคลอื่นอย่างเด็ดขาด
๘๘. การเขียนจดหมายของทหารขณะอยู่ระหว่างปฏิบัติการในสนามรบให้ปฏิบัติอย่างไร ?
ก. เขียนบรรยายที่ตั้ง,กำลังพล,อาวุธ ให้บุคคลอื่นทราบ
ข. ที่หัวกระดาษจดหมายต้องเขียนตำบลที่อยู่ให้ชัดเจน
ค. การส่งจดหมายให้ส่งเฉพาะทางไปรษณีย์ทหารเท่านั้น
ง. ถูกทุกข้อ
๘๙. วิธีการรายงานข่าวสามารถกระทำได้อย่างไร
ก. รายงานด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร ข. รายงานโดยการเขียนข่าว ภาพสังเขป
ค. รายงานข่าวทางโทรศัพท์และวิทยุ ง. ถูกทุกข้อ
๙๐. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการนำความรู้ในเรืองข่าวมาใช้ประโยชน์?
ก. ไม่เปิดเผยขั้นเงินเดือนปัจจุบันและรายได้อื่นให้ภรรยาทราบ
ข. เปลี่ยนแปลงสถานที่พบปะเราและกิ๊กบ่อย ๆ
ค. กรณีคู่สมรสจับผิดได้ให้สารภาพเพียงครึ่งเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
๙๑. ความมุ่งหมายของข่าวทางทหารมีวัตถุประสงค์อยู่กี่ประการ ?
ก. ๒ ประการ ข. ๓ ประการ
ค. ๔ ประการ ง. ๕ ประการ
๙๒. การรายงานข่าวเกี่ยวกับข้าศึกจะต้องครอบคลุมรายละเอียดในเรื่อง ?
ก. ขนาด,การปฏิบัติ ข. ที่ตั้ง,หน่วย
ค. เวลา,ยุทโธปกรณ์ ง. ถูกทุกข้อ
๙๓. ทหารจะต้องรายงานข่าวสารทุกชนิดด้วยความรวดเร็วโดยให้ระบุว่า ?
ก. อะไร,อย่างไร,เมื่อไร ข. อะไร,ที่ไหน,เมื่อไร
ค. เมื่อไร,ที่ไหน,อย่างไร ง. อย่างไร,ที่ไหน,อะไร
๙๔. ระบบการใช้สัญญาณผ่านกระทำเพื่ออะไร ?
ก. ป้องกันทหารหนีออกนอกหน่วย ข. ป้องกันทหารพลัดหลงจากหน่วย
ค. ป้องกันข้าศึกแทรกซึมเข้ามาในหน่วย ง. ผิดทุกข้อ
๙๕. การแบ่งพื้นที่ในการปฏิบัติการข่าวกรองแบ่งได้ ๒ พื้นที่ ได้แก่อะไรบ้าง?
ก. พื้นที่อิทธิพล ข. พื้นที่เขตสีแดง
ค. พื้นที่ที่ต้องสนใจ ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค
๙๖. การวางแผนรวบรวมข่าวสารเพื่ออะไร?
ก. เพื่อจะได้วิเคราะห์
ข. เพื่อให้นายทหารฝ่ายการข่าวรวบรวมข่าวสารได้ตรงตามความเป็นจริง
ค. เพื่อให้ทันเวลา
ง. ไม่มีข้อถูก
๙๗. สิ่งบอกเหตุใดที่สามารถเตือนเราได้?
ก. สัตว์ตกใจ ข. ร่องรอยที่พักแรมหรือรอยเท้าจำนวนมาก
ค. เสียงระเบิด ง. ถูกทุกข้อ
๙๘. วิธีการรวบรวมข่าวสารในสนาม มีอะไรบ้าง?
ก. การเฝ้าตรวจในสนามรบ ข. การต่อต้านการลาดตระเวนและการค้นหาที่หมาย
ค. การลาดตระเวนทางพื้นดินและอากาศ ง. ถูกทุกข้อ
๙๙. การค้นหาที่หมายเป็นส่วนหนึ่งของงานข่าวกรองประเภทใด?
ก. ข่าวกรองการรบ ข. ภารกิจการลาดตระเวน
ค. การปฏิบัติการต่อต้านข่าวกรอง ง. การเฝ้าตรวจ
๑๐๐. เจ้าหน้าที่รวบรวมข่าวสาร คือใคร?
ก. เจ้าหน้าที่ข่าวกรอง ข. บริการข่าวสารพิเศษและแหล่งข่าว
ค. หน่วยทหาร ง. ถูกทุกข้อ
๑๐๑. ข้อมูลที่ทหารใช้ในการตกลงใจทางยุทธวิธีได้แก่?
ก. ข้อมูลทางยุทธศาสตร์ ข. ข้าศึก,ลมฟ้าอากาศและภูมิประเทศ
ค. OCOKA ง. ถูกทั้ง ข.และ ค.
๑๐๒. ข้อใดถูกต้องที่สุด?
ก. รู้เขารู้เรา ข. รู้เขาแต่ไม่ให้รู้เรา
ค. รู้เขารู้เราและไม่ให้เขารู้เรา ง. ถูกทุกข้อ
๑๐๓. ต้นกำเนิดของข่าวสารได้แก่?
ก. บุคคล, สิ่งของ ขศ. ข. ลมฟ้าอากาศ
ค. แหล่งข่าวสาร ง. OCOKA
๑๐๔. การติดป้ายชื่อเชลยศึก วันเวลา สถานที่ที่จับได้ และหน่วยที่จับได้เป็นขั้นตอนใด?
ก. ค้น ข. แยก
ค. เงียบ ง. พิทักษ์
๑๐๕. ภารกิจที่ทหารจะได้ข้อมูลในเรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิประเทศชัดเจนที่สุดได้แก่?
ก. การตั้งฐาน ลว. ข. การซุ่มโจมตี
ค. การ ลว. ง. การตีโฉบฉวย
๑๐๖. วิธีการสังเกตุที่สำคัญมีกี่วิธี?
ก. ๓ ข. ๔
ค. ๕ ง. ๖
๑๐๗. หลักปฏิบัติเรื่องการติดต่อสื่อสารของ ขศ.(ดักฟัง)ได้แก่?
ก. หากฟังรู้เรื่องจดจำถ้อยคำรายงาน ผบช.ทราบโดยเร็ว
ข. ควรเลือกดักฟังเฉพาะข้อมูลที่รูเรื่องและเข้าใจ
ค. หากฟังไม่เข้าใจให้บันทึกชนิดเครื่องมือสื่อสาร, ขนาดคลื่น และ ความถี่
ง. ข้อ ก. และ ค.ถูก
๑๐๘. การจัดยามคอยเหตุจัดเป็นมาตรการใด?
ก. ระบบสัญญาณผ่าน ข. การรักษาความปลอดภัยทางการสื่อสาร
ค. การรักษาความปลอดภัยที่ตั้งทางทหาร ง. การรักษาความลับ
๑๐๙. สัญญาเจนีวาถูกกำหนดขึ้นเมื่อ?
ก. ๑๒ ส.ค.๒๔๙๒ ข. ๒๑ ส.ค.๒๔๙๒
ค. ๑๒ ส.ค.๒๔๙๙ ง. ๒๑ ส.ค.๒๔๙๙
๑๑๐. คำว่า “เร็ว” ในสัญญาเจนีวาหมายถึง?
ก. ค้นด้วยความรวดเร็ว
ข. กักขัง ขศ.โดยเร็ว
ค. เคลื่อนย้าย ขศ.ไปยังส่วนหลังด้วยความรวดเร็ว
ง. แยก ขศ.ด้วยความรวดเร็ว
วิชา คุณลักษณะและขีดความสามารถ อาวุธทหารราบ
๑๑๑. อาวุธของทหารราบมีหลายชนิด อาวุธชนิดใดจัดเป็นอาวุธประจำกาย
ก. ค.๖๐ มม. ข. ลูกระเบิดขว้าง
ค. ปืนกล เอ็ม ๖๐ ง. ปืนพก ๘๖
๑๑๒. อาวุธของทหารราบมีหลายระดับหน่วย ตั้งแต่ ระดับหมู่,ตอน,หมวด …อาวุธชนิดใด เป็นอาวุธประจำกาย หมู่ปืนเล็ก
ก. ค.๖๐ ข. ปืนกล เอ็ม ๖๐
ค. ค.เอ็ม ๒๐๓ ง. ปรส.๑๐๖ มม.
๑๑๓. ปืนกล เอ็ม ๖๐ มีระยะยิงไกลสุด ๓,๗๒๕ เมตรมีระยะยิงหวังผลเท่าไร
ก. ๑,๐๐๐ เมตร ข. ๑,๑๐๐ เมตร
ค. ๑,๕๐๐ เมตร ง. ๗,๗๐๐ เมตร
๑๑๔. ค.ขนาด ๔๐ มม.เอ็ม ๒๐๓ มีระยะยิ งหวังผลต่อเป้าหมายเป็นจุด ๑๕๐ เมตร มีระยะยิงหวังผลต่อเป้าหมายเป็นพื้นที่เท่าไร
ก. ๑,๐๐๐ เมตร ข. ๕๐๐ เมตร
ค. ๔๐๐ เมตร ง. ๓๕๐ เมตร
๑๑๕. ค.ขนาด ๔๐ มม. เอ็ม ๒๐๓ เป็นอาวุธที่ประกอบติดกับ ปลย.เอ็ม ๑๖ เอ ๑ บรรจุกระสุนอย่างไร
ก. ท้ายรังเพลิง ข. ด้วยสายกระสุน
ค. ปากลำกล้อง ง. ไม่มีข้อถูก
๑๑๖. กระสุนของอาวุธประจำกายมีหลายชนิด กระสุนลูกปราย เป็นกระสุนของอาวุธอะไร
ก. ค.๑๒๐ มม. ข. ปืนพก ๘๖
ค. ปลย.๑๑ ง. ปรส.๑๐๖ มม.
๑๑๗. ปรส.๑๐๖ มม. มีภารกิจรองยิงเป้าหมายที่เป็นกลุ่มก้อน มีภารกิจหลักใช้ยิงเป้าหมายอะไร
ก. ข้าศึก ๒-๓ คน ข. ต่อสู้รถถัง
ค. เป้าหมายหลังที่กำบัง ง. ไม่มีข้อถูก
๑๑๘. ค.๖๐ มม. เป็นอาวุธกระสุนวิถีโค้ง ทำการยิงด้วยมุมสูง ใช้หลักการเล็งจำลองต่อเป้าหมาย บรรจุกระสุนอย่างไร
ก. บนท้ายลำกล้อง ข.ทางท้ายรังเพลิง
ค. ทางปากลำกล้อง ง. ช่องรังเพลิง
๑๑๙. อาวุธทหารราบแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ทั้งใช้ยิงป้องกันตัวผู้ใช้เอง และยิงสนับสนุนให้กับหน่วย อาวุธประเภทหนึ่งของทหารราบคืออะไร
ก. อาวุธประจำมือ ข. อาวุธประจำตัว
ค. อาวุธประจำหมู่ ง. อาวุธประจำหน่วย
๑๒๐. ปืนกล เอ็ม ๖๐ ใช้ยิงสนับสนุนให้กับผู้ถือปืนเล็กที่อยู่ในแนวหน้า ทำการยิงแบบใด
ก. กึ่งอัตโนมัติ ข. ทีละนัด
ค. อัตโนมัติ ง. กึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ
๑๒๑. อาวุธทหารราบ ซึ่งทหารเหล่าอื่นต้องเรียนรู้และฝึกเพื่อใช้ได้อย่างทหารราบ แบ่งออกได้ กี่ประเภท
ก. ๒ ประเภท ข. ๓ ประเภท
ค. ๔ ประเภท ง. ๕ ประเภท
๑๒๒. ปืนกล เอ็ม ๖๐ เป็นอาวุธทหารราบ ที่ใช้ในการยิงสนับสนุนในการเข้าตีตั้งรับ ที่จัดอยู่ในอัตราการจัดหน่วย ระดับใด
ก. หมู่ปืนเล็ก ข. หมวดปืนเล็ก
ค. กองร้อยอาวุธเบา ง. กองพันทหารราบ
๑๒๓. ปืนเล็กยาว แบบ ๑๑ เป็นอาวุธประจำกาย ใช้ยิงป้องกันตัวเองและหน่วย มีระยะยิงไกลสุดเท่าใด
ก. ๒,๖๕๐ เมตร ข. ๒,๖๐๐ เมตร
ค. ๓,๐๐๐ เมตร ง. ๓,๗๒๕ เมตร
๑๒๔. ปืนเล็กยาว แบบ ๑๑ มี ๓ ประเภท มีประเภทหนึ่งที่ ตัดลำกล้อง และพานท้ายให้สั้น ประเภทนั้น คือ
ก. ปลย.แบบ ๑๑ ข. ปลย.แบบ ๑๑ เอ ๑
ค. ปลย.แบบ ๑๑ เค ง. ปลย.๑๑ แซดเอฟ
๑๒๕. ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ มีความกว้างปากลำกล้อง ๕.๕๖ ม.ม. มีลักษณะการทำงานอย่างไร
ก. ทำงานด้วยการถอยหลังของส่วนเคลื่อนที่ ข. ทำงานด้วยสะท้อนถอยหลังของลำกล้อง
ค. ทำงานด้วย แก๊ส ง. ทำงานด้วยการเลื่อนลำกล้อง ออก และเข้า
๑๒๖. ซองกระสุน ของ ปืนเล็กยาว แบบ เอ็ม ๑๖ เอ ๑ มี ๒ ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดที่บรรจุบรรจุกระสุนได้เท่าไร
ก. ๒๐ นัด และ ๓๐ นัด ข. ๒๐ นัด และ ๔๐ นัด
ค. ๑๕ นัด และ ๓๐ นัด ง. ๑๕ นัด และ ๔๐ นัด
๑๒๗. อัตราการยิงต่อเนื่อง เป็นอัตราการยิงที่ประหยัดกระสุน และยิงไปแล้วลำกล้องไม่ร้อน อัตราการยิงต่อเนื่อง ของ ปืนเล็กยาว ๑๑ มีเท่าไร
ก. ๑๒-๑๕ นัด / นาที ข. ๑๕-๒๐ นัด / นาที
ค. ๒๐- ๒๗ นัด / นาที ง. ๒๗-๓๕ นัด / นาที
๑๒๘. ปืนพก แบบ ๘๖ มีความกว้างปากลำกล้อง ขนาด ๑๑ ม.ม. บรรจุกระสุนด้วยซองกระสุน ชนิดกี่นัด
ก. ๕ นัด ข. ๗ นัด
ค. ๑๐ นัด ง. ๑๒ นัด
๑๒๙. ปืนพก แบบ ๘๖ เป็นอาวุธประจำกาย ที่มีไว้ป้องกันตัวของพลยิงอาวุธประจำหน่วยมีระยะยิงหวังผล
เท่าใด
ก. ๑๕ เมตร ข. ๒๕ เมตร
ค. ๕๐ เมตร ง. ๑๕๐ เมตร
๑๓๐. กระสุน ปืนพก แบบ ๘๖ มี ๕ ชนิด มีอยู่หนึ่งชนิด ที่มีความมุ่งหมายหลักเพื่อใช้ล่าสัตว์เล็ก ชนิดนั้นคือกระสุนอะไร
ก. ธรรมดา ข. ส่องวิถี
ค. ซ้อมรบ ง. ลูกปราย
๑๓๑. ปืนกล เอ็ม ๖๐ เป็นอาวุธที่ยิงแบบอัตโนมัติ คือ ยิงเป็นชุดๆละ ๖–๙ นัด บรรจุกระสุนด้วยสายกระสุนโลหะชนิดข้อต่อ ๑ สาย มีกี่นัด
ก. ๑๐ นัด ข. ๕๐ นัด
ค. ๑๐๐ นัด ง. ๒๐๐ นัด
๑๓๒. ปืนกล เอ็ม ๖๐ เป็นอาวุธประจำหน่วย มีระยะยิงหวังผล ๑,๑๐๐ เมตร มีระยะยิงไกลสุดเท่าไร
ก. ๕๐ เมตร ข. ๔๐๐ เมตร
ค. ๔๖๐ เมตร ง. ๓,๗๒๕ เมตร
๑๓๓. ปืนกล แบบ ๙๓ เอ็ม ๒ ขนาดกว้างปากลำกล้อง ๑๒.๗ ม.ม.(.๕๐ นิ้ว) เป็นอาวุธประจำหน่วยใน
ระดับใด
ก. กองร้อยอาวุธเบา ข. กองพันทหารราบ
ค. กรมทหารราบ ง. กองพลทหารราบ
๑๓๔. ลักษณะการทำงานของอาวุธทหารราบ มีหลายแบบ ลักษณะการทำงานของ ปืนกล ๙๓ เอ็ม ๒ คือแบบอะไร
ก. การถอยหลังของส่วนเคลื่อนที่ ข. การสะท้อนถอยหลังของลำกล้องปืน
ค. การทำงานด้วยแก๊ส ง. การทำงานด้วยระบบไฟฟ้า
๑๓๕. ระยะยิงไกลสุด ของ ปืนกล แบบ ๙๓ เอ็ม ๒ คือ ๖,๘๐๐ เมตร ,ระยะยิงหวังผลสูงสุดเป้าหมายบนพื้นดิน คือ
ก. ๑,๑๐๐ เมตร ข. ๓,๗๒๕ เมตร
ค. ๗๒๕ เมตร ง. ๑,๘๓๐ เมตร
๑๓๖. เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ ม.ม.เอ็ม ๒๐๓ เป็นอาวุธที่มีขนาดน้ำหนักเบา โดยการยิงใช้ประกอบติดกับ ปืนชนิดใด
ก. ปืนกล เอ็ม ๖๐ ข. ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑
ค. ปืนพก แบบ ๘๖ ง. ปืนสั้นบรรจุเอง แบบ ๘๗
๑๓๗. เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ ม.ม.เอ็ม ๒๐๓ มีลักษณะการทำงานอย่างไร
ก. ด้วยแก๊ส ข. ด้วยการเลื่อนลำกล้องออกและเข้า
ค. ด้วยการถอยหลังของลำกล้อง ง. ด้วยการสะท้อนถอยหลังของส่วนเคลื่อนที่
๑๓๘. เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ ม.ม.เอ็ม ๒๐๓ น้ำหนักพร้อมยิง (รวม ปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ เอ ๑ และ กระสุน) เท่าใด
ก. ๑๑ ปอนด์ ข. ๓ ปอนด์
ค. ๗.๓๘ ปอนด์ ง. ๑๘ ปอนด์
๑๓๙. เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๔๐ ม.ม.เอ็ม ๒๐๓ มีระยะยิงที่ปลอดภัยต่ำสุด ในการฝึก ๘๐ เมตร ในการรบ กี่เมตร
ก. ๒๓ เมตร ข. ๓๑ เมตร
ค. ๓๒ เมตร ง. ๑๓ เมตร
๑๔๐. เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๘๘ ขนาด ๖๐ ม.ม. ทำการยิงด้วยวิธีเล็งจำลองและเล็งตรงได้ เป็นอาวุธที่มีลักษณะกระสุนวิถี อย่างไร
ก. วิถี โค้ง ข. วิถี ราบ
ค. วิถี ตรง ง. วิถี กลม
๑๔๑. เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๘๘ ขนาด ๖๐ ม.ม. เป็นอาวุธที่ทำการยิงด้วยมุมสูง โดยใช้กล้องเล็งแบบใดที่ใช้ในการช่วยเล็ง
ก. เอ็ม ๔ ข. เอ็ม ๒
ค. เอ็ม ๓ ง. เอ็ม ๑
๑๔๒. ลูกระเบิดยิง ของ เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๘๘ มี ๕ ชนิด ชนิด สังหาร เอ็ม ๔๙ เอ ๒ ชนวนกระทบแตก มีระยะยิงไกลสุดเท่าใด
ก. ๑,๗๘๐ เมตร ข. ๑,๔๖๐ เมตร
ค. ๑,๐๐๐ เมตร ง. ๓,๐๐๐ เมตร
๑๔๓. เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๙๓ ขนาด ๘๑ ม.ม. ทำการเล็งยิงด้วยมุมสูง จัดเป็นอาวุธประจำหน่วยใน
ระดับใด
ก. กองพันทหารราบ ข. กรมทหารราบ
ค. กองพลทหาราบ ง. หมู่ปืนเล็ก
๑๔๔. เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ ๙๓ ขนาด ๘๑ ม.ม. มีอยู่ ๒ แบบ มีอยู่หนึ่งแบบที่แผ่นฐานเป็นรูปลักษณะ สี่เหลี่ยม คือ
ก. แบบ เอ็ม ๑๖ ข. แบบ เอ็ม ๑๙
ค. แบบ เอ็ม ๒๙ ง. แบบ เอ็ม ๑
๑๔๕. เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๑๒๐ มม. ศอว.ศอพท. ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ กี่ชิ้นส่วน
ก. ๖ ชิ้นส่วน ข. ๕ ชิ้นส่วน
ค. ๔ ชิ้นส่วน ง. ๓ ชิ้นส่วน
๑๔๖. ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด ๑๐๖ ม.ม. จัดเป็นอาวุธประจำหน่วย ภารกิจหลักใช้ในการต่อสู้รถถัง กระสุนต่อสู้รถถังเจาะเกราะได้หนา เท่าใด
ก. ๘ นิ้ว ข. ๑๘ นิ้ว
ค. ๒๘ นิ้ว ง. ๓๘ นิ้ว
๑๔๗. ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด ๑๐๖ ม.ม. มี ปืนชี้เป้าหมายขนาด .๕๐ นิ้ว เอ็ม ๘ ซี ติดตั้ง อยู่บนลำกล้อง สามารถชี้เป้าหมายแบบส่องวิถีมองเห็นได้เด่นชัดถึงระยะกี่เมตร
ก. ๙๐๐ เมตร ข. ๑,๑๐๐ เมตร
ค. ๑,๕๐๐ เมตร ง. ๓,๐๐๐ เมตร
๑๔๘. เครื่องฉีดไฟ แบบ เอ็ม ๒ เอ ๑-๗ มี ลักษณะการทำงาน ประกอบด้วยกัน ๓ อย่างอะไร
ก. น้ำ , น้ำมัน , แก๊ส ข. น้ำมัน , ไฟ , เครื่องบังคับลม
ค. ดิน , น้ำ , ลม , ไฟ ง. แก็ส , ไฟ , เครื่องบังคับลม
๑๔๙. เครื่องยิงจรวดนำวิถี ดราก้อน เอ็ม ๔๗ ใช้ยิงต่อสู้รถถัง เป็นอาวุธที่ใช้ระบบนำวิถี แบบใด
ก. แบบเส้นลวด ข. แบบแสงเลเซอร์
ค. แบบแสงอินฟาเรด ง. แบบตรวจจับความร้อน
๑๕๐. เครื่องยิงจรวดนำวิถี ดราก้อน เอ็ม ๔๗ อำนาจการเจาะเกราะทะลุทะลวงของหัวรบ เจาะคอนกรีต
ได้หนา เท่าใด
ก. ๑๐ เมตร ข. ๘ เมตร
ค. ๕ เมตร ง. ๒ เมตร
วิชา ปลย. ๑๑
๑๕๑.ปลย.๑๑ ทำงานด้วยการถอยหลังของส่วนเคลื่อนที่ ระบายความร้อนด้วย อะไร
ก. น้ำเย็น ข. อากาศ
ค. แก๊ส ง. น้ำอุ่น
๑๕๒. ปลย.๑๑ มีขนาดความกว้างปากลำกล้อง กี่นิ้ว
ก. .๔๕ นิ้ว ข. .๓๓๒ นิ้ว
ค. .๒๒๓ นิ้ว ง. .๒๒๑ นิ้ว
๑๕๓.ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับ ปลย.๑๑ พร้อมที่จะยิง
ก. เมื่อลูกเลื่อนปิดรังเพลิง ข. เมื่อลูกกลิ้งขัดกลอน
ค. เมื่อลูกเลื่อนเปิดรังเพลิง ง. ข้อ ก และ ข ถูก
๑๕๔. การบรรจุกระสุนของปืนเล็กมีหลายวิธี ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการบรรจุกระสุนของปลย.๑๑
ก. บรรจุด้วยซองกระสุน ข. บรรจุด้วยมือ
ค. บรรจุด้วยคลิ๊ปกระสุน ง. บรรจุด้วยสายกระสุน
๑๕๕. ปลย.๑๑ มีเกลียวภายในลำกล้อง ๖ เกลียว ข้อใดคืออาการเวียนของเกลียวลำกล้อง ปลย.๑๑
ก. เวียนซ้าย ข. เวียนขวา
ค. เวียน ๒ รอบ ง. เวียนครึ่งรอบ
๑๕๖. ข้อใดไม่ใช่แบบของ ปลย.๑๑
ก. ปลย.๑๑ เอ ๑ ข. ปลย.๑๑ เค
ค. ปลย.๑๑ ง. ปลย.๑๑ เอฟ
๑๕๗. ซองกระสุนของ ปลย.๑๑ มี ๒ ขนาด คือ ซองสั้น และ ซองยาว อยากทราบว่าทั้ง ๒ ขนาดเมื่อบรรจุกระสุนเต็มซอง บรรจุได้กี่นัด
ก. ๒๐ และ ๔๐ นัด ข. ๒๐ และ ๓๐ นัด
ค. ๓๐ นัด และ ๔๐ นัด ง. ๒๐ นัด และ ๔๕ นัด
๑๕๘. ระยะยิงของ ปลย.๑๑ มี ๒ ระยะ คือ ระยะยิงไกลสุดและระยะยิงหวังผล ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดของระยะยิงหวังผลของ ปลย.๑๑
ก. ๕๐๐ เมตร ข. ๔๐๐ เมตร
ค. ๓๐๐ เมตร ง. ๔๖๐ เมตร
๑๕๙. การจับถือปืนให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า ภายในลำกล้องมีกระสุนอยู่ ๑ นัดเสมอ ข้อใดคือขั้นตอนสุดท้ายในการตรวจความปลอดภัยปืน
ก. การปลดซองกระสุน ข. การดึงคันรั้ง
ค. การตรวจรังเพลิง ง. การลั่นไก
๑๖๐. การถอดประกอบปืนในหน้าที่ของผู้ใช้ที่พึงถอดได้ของ ปลย.๑๑ สามารถถอดได้กี่ชิ้นส่วนใหญ่
ก. ๕ ชิ้นส่วน ข. ๖ ชิ้นส่วน
ค. ๘ ชิ้นส่วน ง. ๑๐ ชิ้นส่วน
๑๖๑. ปลย.๑๑ เมื่อไม่ได้บรรจุซองกระสุนและสายสะพายปืน หนักเท่าใก
ก. ๗.๓๘ ปอนด์ ข. ๓.๓๕ กก.
ค. ๗.๖๐ ปอนด์ ง. ข้อ ก และ ข. ถูก
๑๖๒. ศูนย์หลังของ ปลย.๑๑ ที่เป็นรูปตัว วี จะใช้ยิงเป้าหมายในระยะเท่าใด
ก. ต่ำกว่า ๑๐๐ เมตร ข. ต่ำกว่า ๒๐๐ เมตร
ค. มากกว่า ๒๐๐ เมตร ง. มากกว่า ๓๐๐ เมตร
๑๖๓. ข้อใดไม่ใช่หมู่ชิ้นส่วน ของการถอด ปลย.๑๑
ก. ด้ามปืนและเครื่องลั่นไก ข. พานท้ายปืน
ค. เครื่องรับแรงถอย ง. ลูกเลื่อนและโครงนำฯ
๑๖๔. ศูนย์หลังของ ปลย.๑๑ ที่เป็นศูนย์รูวงกลม จะมีตัวเลขบอกระยะยิงไม่เกินระยะยิงเท่าใด
ก. ๓๐๐ เมตร ข. ๔๐๐ เมตร
ค. ๕๐๐ เมตร ง. ๖๐๐ เมตร
๑๖๕. การปรับศูนย์หลังทางระยะของ ปลย.๑๑ ถ้าหมุนศูนย์หลังตามเข็มนาฬิกา จะทำให้การยิงกระสุนนัดใหม่เข้าเป้าเป็นอย่างไร
ก. ถูกต่ำกว่านัดเดิม ข. ถูกสูงกว่านัดเดิม
ค.ถูกรอยเดิม ง. ไปทางซ้ายของรอยเดิม
๑๖๖. ถ้าหมุนศูนย์หลังทางระยะของ ปลย.๑๑ ไป ๑/๔ รอบ จะทำให้กระสุนถูกเป้าหมายสูงหรือต่ำจากเดิม เท่าไร
ก. ๔ ซม.ในระยะ ๑๐๐ เมตร ข. ๔ ซม.ในระยะ ๒๕ เมตร
ค. ๔ ซม.ในระยะ ๕๐ เมตร ง. ๔ซม.ในระยะ ๒๐๐ม.
๑๖๗. ข้อใดกล่าวถูกเกี่ยวกับระยะยิงไกลสุดของ ปลย.๑๑
ก. ประมาณ ๒,๖๕๔ เมตร ข. ประมาณ ๓,๕๐๐ เมตร
ค. ประมาณ ๓,๐๐๐ เมตร ง. ประมาณ ๒,๖๐๐ เมตร
๑๖๘. การถอด ๖ หมู่ชิ้นส่วนใหญ่ของ ปลย.๑๑ เมื่อถอด ซองกระสุนออกแล้ว ชิ้นส่วนต่อไปที่จะถอด คืออะไร
ก. ลูกเลื่อน ข. รองลำกล้องปืน
ค. พานท้ายปืน ง. ลำกล้องและห้องลูกเลื่อน
๑๖๙. การประกอบชิ้นส่วน ปลย.๑๑ หลังการถอดเสร็จแล้ว ให้กระทำตรงกันข้ามกับการถอด ชิ้นส่วนแรกที่จะนำมาประกอบ คืออะไร
ก. พานท้ายปืน ข.ลำกล้องและห้องลูกเลื่อน
ค.ด้ามปืน ง. ซองกระสุน
๑๗๐. ปลย.๑๑ เมื่อสวมปลอกทวีความถอยแทนที่ปลอกลดแสงปากลำกล้องปืนแล้ว สามารถยิงกระสุน อะไร
ก. กระสุนซ้อมรบ ข. กระสุนเพลิง
ค. กระสุนพลาสติก ง. กระสุนส่องวิถี
๑๗๑. ปลย.๑๑ ใช้ยิงกระสุนขนาด ๕.๕๖X๔๕ มม. เมื่อสวมชุดลำกล้องรองเข้าไปแล้วจะใช้ยิงกระสุนขนาดใด
ก. .๒๒ มม. ข.๕.๖มม.X ๑๖ มม.
ค.๓๘ มม. ง. ข้อ ก และ ข ถูก
๑๗๒. ปลย.๑๑ เป็นอาวุธที่ติดกล้องเล็งได้ ใช้เป็นอาวุธของพลซุ่มยิง เมื่อติดกล้องเล็งแล้ว มีระยะยิงหวังผลไกลสุดเท่าใด
ก. ๔๐๐ เมตร ข. ๕๐๐ เมตร
ค. ๖๐๐ เมตร ง. ๘๐๐ เมตร
๑๗๓. หลังจากที่นำ ปลย.๑๑ ไปทำการยิงปืนแล้ว ผู้ใช้จะต้องกระทำอย่างไร
ก. เก็บปืนค้างคืนไว้ ๑ คืน ข. เก็บปืนไว้ ๓ วัน
ค.ทำความสะอาดทันที ง. ข้อ ก และ ข ถูก
๑๗๔. ปลย.๑๑ สามารถทำการยิงได้หลายอัตราการยิง ถ้ายิงด้วยอัตราการยิงสูงสุด ได้ กี่นัด/นาที
ก. ๕๐๐–๕๕๐๐ นัด/นาที ข. ๖๐๐–๖๕๐ นัด/นาที
ค. ๖๕๐–๗๐๐ นัด/นาที ง. ๗๐๐–๘๐๐ นัด/นาที
๑๗๕. ในการยิงปืน ปลย.๑๑ สามารถจัดคันบังคับการยิงตำแหน่งยิงได้ ๒ แบบ คือ แบบ ยิงทีละนัด และตำแหน่งอะไร
ก. ยิงเป็นชุด ข. ยิงไปหลายนัด
ค. ยิงทีละ ๓ นัด ง. ข้อ ก และ ข ถูก
๑๗๖. เมื่อยิงปืนในสนามระยะ ๒๕ เมตร กลุ่มกระสุนผิดไปทางสูง ๔ ซม. นศท.จะทำการแก้ไขการยิงโดยปรับศูนย์หลัง ทางระยะอย่างไร
ก. หมุนตามเข็มฯ ๑/๔ รอบ ข. หมุนตามเข็มฯ ๑ รอบ
ค. หมุนตามเข็ม ๓ รอบ ง.หมุนทวนเข็มฯ ๑ รอบ
๑๗๗. ในระยะยิง ๑๐๐ เมตร ถ้าหมุนศูนย์หลังไป ๑/๔ รอบ จะเปลี่ยนตำบลกระสุนถูกเป้าหมายในนัดต่อไป อย่างไร
ก. จากที่เดิม ๔ ซม. ข. ถูกที่เดิม
ค. จากที่เดิม ๘ ซม. ง. จากที่เดิม ๒ ซม.
๑๗๘. การยิงเป้าหมาย ปลย.๑๑ ส่วนใหญ่จะใช้ยิงในเวลากลางวัน แต่ถ้าจำเป็นต้องยิงเป้าหมายในเวลากลางคืนให้แม่นยำ ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ประกอบแสงเลเซอร์ ข.ติดกล้องเล็ง เอ็ม ๔
ค. ติดกล้องเล็งอินฟาเรด ง. ประกอบไฟฉาย
๑๗๙. ในการยิงปืน ปลย.๑๑ ในสนามยิงปืน เมื่อลูกเลื่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดยไม่บรรจุกระสุน นศท.ควรแก้ไขอย่างไร
ก. สอดซองกระสุนให้เข้าที่ ข. ตรวจดูช่องยึดซองกระสุน
ค. เปลี่ยนซองกระสุนใหม่ ง.ถูกทุกข้อ
๑๘๐. เมื่อขอรั้งปลอกกระสุน หรือแหนบหัก หรือเหล็กคัดปลอกกระสุนชำรุด และรังเพลิงสกปรก จะทำให้เกิดสาเหตุติดขัดอย่างไร
ก. ไม่บรรจุกระสุน ข. ไม่รั้งหรือคัดปลอกกระสุน
ค. ปืนไม่ลั่น ง. ยิงไม่สม่ำเสมอ
๑๘๑. เมื่อปืนไม่รั้ง หรือคัดปลอกกระสุน ผู้ยิงจะต้องกระทำอย่างไร
ก. เปลี่ยนซองกระสุน ข. ทำความสะอาดรังเพลิง
ค. ดึงคันรั้งใหม่ ง. เหนี่ยวไกหลายๆ ครั้ง
๑๘๒. ข้อใด คือ วัสดุทำความสะอาดอาวุธของ ปลย.๑๑
ก. น้ำอุ่น ข.น้ำสบู่อุ่น
ค.น้ำมันเบนซิน ง.ข้อ ก และ ข. ถูก
๑๘๓. การปรับศูนย์หลังรูปวงกลมทางระยะให้ปรับโดยการหมุน ตามเข็มนาฬิกา และ ทวนเข็มนาฬิกา ถ้าผู้ยิงหมุนศูนย์หลังตามเข็มนาฬิกาจะทำให้กระสุนถูกเป้าหมายอย่างไร
ก. ต่ำกว่านัดเดิม ข. สูงกว่านัดเดิม
ค. ไปทางซ้ายจากนัดเดิม ง. ไปทางขวาจากนัดเดิม
๑๘๔.การเล็งคือการใช้สายตาวางแนวเส้นเล็งผ่านศูนย์หลังและศูนย์หน้า ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเล็งปืน
ก.ตั้งปืนและเครื่องเล็งให้ตรง
ข. หลับตาซ้ายเล็งด้วยสายตาขวา
ค. ให้ยอดศูนย์หน้าอยู่กึ่งกลางวงกลมศูนย์หลัง
ง. ถูกทุกข้อ
๑๘๕. ศูนย์หลัง ปลย.๑๑ สามารถปรับทางทิศและทางระยะได้ ถ้าปรับศูนย์หลังทางทิศ โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา จะให้กระสุนถูกเป้าหมาย เป็นอย่างไร
ก. สูงกว่านัดเดิม ข.ไปทางซ้ายจากนัดเดิม
ค. ไปทางขวาจากนัดเดิม ง. ถูกเฉพาะข้อ ก
๑๘๖. ถ้ากลุ่มกระสุนที่ยิงด้วย ปลย.๑๑ เข้าเป้าหมายในทิศทาง ๑๐ นาฬิกา จะปรับให้กลุ่มกระสุนเข้าวงดำ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ปรับทางระยะตามเข็มฯ ข. ปรับทางทิศตามเข็มฯ
ค. ปรับทางทิศทวนเข็มฯ ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๑๘๗.ปลย.๑๑ เป็นอาวุธที่ออกแบบสร้างโดย บริษัทเฮกเลอร์และโค้ช ประเทศเยอรมันนี ออกแบบให้สามารถทำการยิง เป็นชุด และ ทีละนัดได้ จากท่ายิงในข้อใด
ก.ท่านอนยิง ข.ท่านั่งราบยิง
ค.ท่ายืนยิง ง. ถูกทุกข้อ
๑๘๘. ในการฝึกยิงปืน ปลย.๑๑ ในสนาม ๑,๐๐๐ นิ้ว หรือ ๒๕ เมตร จะต้องใช้เป้าชนิดใด
ก. เป้า ปลย. ก ข. เป้า ปลย.ข
ค. เป้า ปลย. ค ง. เป้า ปลย ง
๑๘๙.ในการศึกษาวิชาอาวุธ นศท.จะต้องทำการยิงปืน ข้อใดกล่าวถูกต้อง ในการยิงปืนเข้าเป้าหมาย
ก. การบังคับการหายใจ ข. การเล็งและการลั่นไก
ค. ท่ายิง ง. ถูกทุกข้อ
๑๙๐. การปรับศูนย์รบ ของ ปลย. ๑๑ จะต้องใช้เป้าชนิดใด
ก. เป้า ปลย. ก ข. เป้า ปลย. ข
ค. เป้า ปลย. ค. ง. เป้าตาราง
วิชายุทธวิธี เรื่อง บุคคลทำการรบในเวลากลางวัน
๑๙๑. ข้อใดเป็นกฎทั่วไปของการเคลื่อนที่
ก. ต้องเคลื่อนที่ด้วยความระมัดระวัง ข. ใช้การเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว
ค. ต้องมีการเตรียมตัวเอง และยุทโธปกรณ์ ง. ถูกทุกข้อ
๑๙๒. การเตรียมตัวเองจะต้องทำอย่างไร
ก. พักผ่อนให้เพียงพอ ข. เลือกใช้เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม
ค. ลงแป้งเสื้อผ้าให้เรียบร้อย ง. ถูกทุกข้อ
๑๙๓. เมื่อเคลื่อนที่ผ่านป่าหญ้าสูง ๆ ควรทำอย่างไร
ก. ควรเปลี่ยนทิศทางเคลื่อนที่เล็กน้อย
ข. เคลื่อนที่ในขณะลมพัด
ค. อย่าเคลื่อนที่ตรง ๆ ทำให้หญ้าไหวผิดปกติ
ง. ถูกทุกข้อ
๑๙๔. วิธีการเคลื่อนที่ในเวลากลางวันมี ๓ วิธีอะไรบ้าง
ก. การเดิน การคลาน การวิ่ง ข. การเดิน การโผ การคลาน
ค. การโผ การคลาน การวิ่ง ง. การคลาน การวิ่ง การเดิน
๑๙๕. ข้อพิจารณาในการเคลื่อนที่มีอะไรบ้าง
ก. จะไปที่ไหน วิธีอะไร แบบไหน เมื่อไร ข. จะไปที่ไหน วิธีอะไร อย่างไหน เมื่อไร
ค. จะไปที่ไหน วิธีอะไร ทางไหน เมื่อไร ง. จะไปที่ไหน วิธีอะไร เมื่อไร
๑๙๖. ประเภทของการเคลื่อนย้ายมี ๒ ประเภท คือ
ก. การเคลื่อนย้ายทางธุรการ , การเคลื่อนย้ายระยะไกล
ข. การเคลื่อนย้ายทางยุทะวิธี , การเคลื่อนย้ายระยะใกล้
ค. การเคลื่อนย้ายระยะไกล , การเคลื่อนย้ายระยะใกล้
ง. การเคลื่อนย้ายทางธุรการ , การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี
๑๙๗. การโผคือ การเคลื่อนที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง มีกี่ขั้นตอน
ก. ๘ ขั้นตอน ข. ๙ ขั้นตอน
ค. ๑๐ ขั้นตอน ง. ๑๑ ขั้นตอน
๑๙๘. การคลานมี ๒ ชนิด คือ
ก. การคลานต่ำ , การคลานเร็ว ข. การคลานต่ำ , การคลานสูง
ค. การคลานสูง , การคลานเร็ว ง. การคลานสูง , การคลานช้า
๑๙๙. การคลานต่ำใช้ในโอกาสใด
ก. ใช้ในโอกาสมีสิ่งกำบัง และซ่อนพราง ข. ใช้ในโอกาสหาที่ซ่อนพรางยาก
ค. ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วมาก ง. ถูกทุกข้อ
๒๐๐. การคลานสูงใช้ในโอกาสใด
ก. ใช้ในโอกาสมีสิ่งกำบัง และซ่อนพราง ข. เมื่อทัศนวิสัยการตรวจการณ์ของข้าศึกลดลง
ค. ต้องการความรวดเร็ว ง. ถูกทุกข้อ
๒๐๑. การวางตัวในสนามรบปฏิบัติอย่างไร
ก. การตรวจการณ์ และการยิง
ข. ทำตัวให้ต่ำที่สุดเมื่อตรวจการณ์ และทำการยิง
ค. จงเลือกฉากหลังที่ดี ต้องไม่ทำตัวให้ตัดกับเส้นขอบฟ้า
ง. ถูกทุกข้อ
๒๐๒. การพราง คือ
ก. การใช้มาตรการต่าง ๆ ให้รอดพ้นจากการตรวจการณ์ของข้าศึก
ข. ให้พ้นจากการตรวจการณ์ทั้งทางพื้นดิน และทางอากาศ
ค. ใช้วัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ
๒๐๓. การทำตัวให้ต่ำเพื่อให้พ้นจากการตรวจการณ์ของข้าศึก เรียกว่า
ก. การคลานต่ำในสนามรบ ข. การคลานสูงในสนามรบ
ข. การวางตัวในสนามรบ ง. การคลานศอกในสนามรบ
๒๐๔. การเคลื่อนที่จากที่วางตัวแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งด้วยวิธีการที่เร็วที่สุด เรียกว่า
ก. การวิ่ง ข. การคลานสูง
ค. การโผ ง. การคลานต่ำ
๒๐๕. การใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อให้รอดพ้นจากการตรวจการณ์ของข้าศึกทั้งทางพื้นดิน และทางอากาศ โดยใช้วัสดุตามธรรมชาติ เรียกว่า
ก. การกำบัง ข. การโผ
ค. การวางตัวในสนามรบ ง. การพราง
๒๐๖. สีดิน กับ สีเขียวอ่อน ใช้พรางกับทหารที่มีสีผิวอย่างใด
ก. ขาว ข. คล้ำ
ค. ผิวดำแดง ง. ถูกทุกข้อ
๒๐๗. สีเหลืองทราย กับ สีเขียวอ่อน ใช้พรางกับทหารที่มีสีผิวอย่างใด
ก. ขาว ข. คล้ำ
ค. ผิวดำแดง ง. ถูกทุกข้อ
๒๐๘. ทหารที่มีสีผิวคล้ำ ควรใช้สีพรางสีอะไร
ก. สีดิน กับ สีเหลืองทราย ข. สีดิน กับ สีเขียวอ่อน
ค. สีเหลืองทราย กับ สีเขียวอ่อน ง. สีดำ
๒๐๙. การกำบัง คือ
ก. การหลบจากข้าศึก ข. การกำบังเครื่องบินข้าศึก
ค. การกำบังจากการยิงของข้าศึก ง. ถูกทุกข้อ
๒๑๐. การกำบังจากการยิงของข้าศึก เรียกว่า
ก. การซ่อนพราง ข. การกำบัง
ค. การพรางตนเอง ง. การพรางสิ่งที่สร้างขึ้น
๒๑๑. การป้องกันการตรวจการณ์ของข้าศึก เรียกว่า
ก. การซ่อนพรางจากการยิงของข้าศึก ข. การป้องกันจากการตรวจการณ์ของข้าศึก
ค. การป้องกันจากกระสุนปืนใหญ่ ง. การซ่อนพราง
๒๑๒. เมื่อทำการตรวจการณ์ให้ตรวจการณ์ในท่าใด
ก. ท่านอน ข. ท่านั่ง
ค. ท่าหมอบ ง. ถูกทุกข้อ
๒๑๓. การซ่อนพราง คือ
ก. การป้องกันจากกระสุนปืนใหญ่ ข. การซ่อนพรางจากการยิงของข้าศึก
ค. การป้องกันการตรวจการณ์ของข้าศึก ง. ถูกทุกข้อ
๒๑๔. การงดใช้เสียง และแสง คืออะไร
ก. วินัยทหาร ข. วินัยการรบ
ค. วินัยการป้องกัน ง. วินัยการพราง
๒๑๕. เมื่อต้องการทำการรบในภูมิประเทศที่เป็นหิมะ ควรพรางร่างกายด้วยสีอะไร
ก. สีดิน ข. สีขาว
ค. สีเขียวอ่อน ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
๒๑๖. การพราง คือ การป้องกันการตรวจการณ์ของข้าศึก ได้แก่
ก. ร่มเงาต้นไม้ ข. ป่าหญ้า
ค. ตาข่ายเชือกที่มีเศษผ้าชิ้นเล็ก ๆ ง. ถูกทุกข้อ
๒๑๗. การพรางที่สร้างขึ้นได้แก่
ก. ผ้าใบ หรือ ตาข่ายพราง ข. พุ่มไม้
ค. ใบไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ง. ถูกทุกข้อ
๒๑๘. การพรางอาวุธยุทธภัณฑ์ทางทหารได้แก่
ก. เปลี่ยนแปลงขนาด ข. ให้เปลี่ยนแปลงแบบ
ค. เปลี่ยนแปลงรูปทรง ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
๒๑๙. การปฏิบัติตัวให้พ้นจากเส้นขอบฟ้า เรียกว่า
ก. การกำบัง ข. การซ่อนพราง
ค. วินัยการพราง ง. การพรางร่างกาย
๒๒๐. การพรางร่างกายในเวลากลางวัน คือ
ก. การพรางร่างกายในส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม
ข. การพรางใบหน้า และหลังมือ
ค. ข้อ ก. และ ข. ถูก
ง. ข้อ ข. ถูกข้อเดียว
๒๒๑. การโผขั้นที่ ๒ คือ
ก. เริ่มต้นจากท่านอน
ข. การวิ่ง
ค. เผยอศีรษะขึ้นเพื่อตรวจดูลักษณะภูมิประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
๒๒๒. การโผขั้นที่ ๖ คือ
ก. เตรียมตัวลุกขึ้นเพื่อเตรียมโผ
ข. ล้มตัวลงไปข้างหน้าใช้พานท้ายปืนยันพื้นดิน
ค. ปล่อยน้ำหนักลงพื้นใช้มือขวาจับพานท้ายดึงเข้าร่องไหล่
ง. การวิ่งไปยังที่วางตัวแห่งใหม่
๒๒๓. การพรางร่างกายในเวลากลางวัน คือ
ก. ใช้สีทาบริเวณใบหน้าที่ขึ้นเงา
ข. พรางหน้าผาก , โหนกแก้ม , จมูก และคาง อย่างไม่เป็นระเบียบ
ค. ข้อ ข. ถูก
ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๒๒๔. การพรางร่างกายในเวลากลางคืน คือ
ก. ใช้สีทาบริเวณใบหน้าที่ขึ้นเงา
ข. พรางหน้าผาก , โหนกแก้ม , จมูก และคาง
ค. ทาทุกส่วนของร่างกายที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุมด้วยสีดำ
ง. ง. ถูกทุกข้อ
๒๒๕. การพรางอาวุธเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทหารจึงต้องทำการพรางดังนี้
ก. จำเป็นต้องลดความเด่นชัด ข. พรางอย่างถูกต้องไม่เป็นระเบียบ
ค. ข้อ ก. และ ข้อ ข. ถูก ง. ข้อ ข. ถูก
๒๒๖. การพรางหมวกเหล็กจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ระบายสี ให้ดูเปรอะเปื้อนไม่เป็นระเบียบ ข. ใช้ผ้าสีพรางคลุม
ค. ใช้ตาข่ายคลุมเพื่อลดความเด่นชัด ง. ถูกทุกข้อ
๒๒๗. การพรางเครื่องสนามมีความจำเป็นหรือไม่
ก. ไม่มีความจำเป็นต้องพราง ข. จำเป็นต้องพราง
ค. ข้อ ข. ข้อ ง. ถูก ง. เพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
๒๒๘. หลุมบุคคลที่อยู่ในร่มเงาของต้นไม้ใหญ่จำเป็นต้องพรางหรือไม่
ก. ไม่จำเป็นต้องพรางร่มเงาพรางให้แล้ว
ข. การพรางทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
ค. จำเป็นต้องพราง และมั่นตรวจตราเพื่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ
ง. การพรางทำให้เด่นชัดทำให้ข้าศึกตรวจการณ์ได้ง่าย
๒๒๙. การพราง คือ
ก. การป้องกันการตรวจการณ์ของข้าศึก ข. โดยอาศัยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ค. โดยอาศัยธรรมชาติ ง. ถูกทุกข้อ
วิชายุทธวิธี เรื่อง บุคคลทำการรบในเวลากลางคืน
๒๓๐. ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ เยอรมัน และอิตาลีที่โตบรู๊ค ทำอะไรสะเพร่าจนทำให้ทหารอังกฤษตรวจการณ์พบที่มั่น
ก. ใช้ไฟฉาย ข. จุดไฟแช๊ค
ค. จุดไม้ขีด ง. ส่งเสียงดัง
๒๓๑. ในคืนเดือนหงายควรปฏิบัติตนอย่างไร
ก. อยู่ห่างจากต้นไม้ ข. อยู่ใต้เงาไม้
ค. พยายามวิ่งให้เร็ว ง. พยายามเคลื่อนที่บริเวณใบไม้แห้ง
๒๓๒. การพรางใบหน้าในเวลากลางคืนควรพรางอย่างไร
ก. ทาหน้าดำทั้งใบหน้า ข. ทาในส่วนที่สะท้อนแสง
ค. ทาเฉพาะหน้าผาก ง. ทาเฉพาะในหู
๒๓๓. การเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนควรเลือกภูมิประเทศอย่างไร
ก. ในป่า ข. ในลำธาร
ค. ในหุบเขา ง. ที่โล่ง
๒๓๔. การเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนในภูมิประเทศใดที่สามารถตรวจการณ์ได้ดี
ก. ที่โล่ง ข. ในป่า
ค. ในหุบเขา ง. ในลำธาร
๒๓๕. การเคลื่อนที่โดยอาศัยประโยชน์จากสิ่งใดในเวลากลางคืน
ก. เสียงปืนใหญ่ ข. เสียงฝนตก
ค. เสียงลมพัด ง. ถูกทุกข้อ
๒๓๖. การเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนไม่ควรสวมหมวกอะไร
ก. หมวกเหล็ก ข. หมวกแก๊ป
ค. หมวกแบเล่ห์ ง. ถูกทุกข้อ
๒๓๗. การเดินในเวลากลางคืนควรเดินอย่างไร
ก. ส้นเท้าสัมผัสพื้นก่อน ข. ปลายเท้าสัมผัสพื้นก่อน
ค. ลงให้เต็มเท้า ง. เดินโดยใช้ข้างเท้าลงก่อน
๒๓๘. การคลานในเวลากลางคืน ปืน หรืออาวุธประจำกาย ควรเอาไว้ที่ใด
ก. แบกไว้บนบ่า ข. วางบนพื้นข้างลำตัว
ค. สะพายอาวุธไว้ ง. หนีบไว้ใต้แขน
๒๓๙. การหาทิศในเวลากลางคืน เมื่ออยู่ซีกโลกเหนือจะหาจากดาว
ก. ดาวจระเข้ ข. ดาวไถ
ค. ดาวกางเขน ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๒๔๐. ดาวไถมีลักษณะคล้าย พยัญชนะใด
ก. A ตะแคง ข. B ตะแคง
ค. C ตะแคง ง. M ตะแคง
๒๔๑. เมื่อเรายืนอยู่ที่ จังหวัดกาญจนบุรี อยากทราบว่าดาวเหนือจะอยู่สูงจากขอบฟ้ากี่องศา
ก. ๕ องศา ข. ๖ องศา
ค. ๗ องศา ง. ๘ องศา
๒๔๒. ส่วนหางของดาวจระเข้จะมีดาวกี่ดวง
ก. ๒ ดวง ข. ๓ ดวง
ค. ๔ ดวง ง. ๕ ดวง
๒๔๓. ขณะที่เรากำลังข้ามเครื่องกีดขวางลวดหนามมีพลุส่องแสงเกิดขึ้น เราควรปฏิบัติอย่างไร
ก. รีบเคลื่อนที่ ข. กระโดดหนี
ค. ก้มตัวต่ำ และอยู่นิ่ง ๆ ง. รีบทำลายลวดหนามทันที
๒๔๔. ขณะเคลื่อนที่มีพลุที่พื้นดิน ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. รีบออกจากบริเวณนั้นอย่างรวดเร็ว ข. รีบทำลายลวดหนามทันที
ค. ก้มตัวต่ำ ง. อยู่นิ่ง ๆ
๒๔๕. เมื่ออยู่ใต้พลุยิงเหนือศีรษะจะปฏิบัติอย่างไร
ก. รีบเคลื่อนที่ ข. กระโดดหนี
ค. ก้มตัวต่ำอยู่นิ่ง ๆ ง. รีบทำลายลวดหนามทันที
๒๔๖. วิธีการเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนมีอะไรบ้าง
ก. การเดิน , การคลาน ข. การเดิน , การโผ
ค. การเดิน , การคลานสูง ง. การเดิน , การคลานต่ำ
๒๔๗. ข้อใดเป็นการเคลื่อนที่เป็นขั้น ๆ ในเวลากลางคืนถูกต้อง
ก. เคลื่อนที่อย่างเงียบ – ระยะทางมาก – หยุดฟัง – เคลื่อนที่ต่อไป
ข. เคลื่อนที่อย่างเงียบ – ระยะทางมาก
ค. เคลื่อนที่อย่างเงียบ – ระยะสั้น
ง. เคลื่อนที่อย่างเงียบ – ระยะสั้น – หยุดฟัง – เคลื่อนที่ต่อไป
๒๔๘. แสงจากการจุดไม้ขีดไฟในภูมิประเทศอาจมองเห็นได้ในระยะกี่ไมล์
ก. ๕ ไมล์ ข. ๘ ไมล์
ค. ๑๐ ไมล์ ง. ๑๕ ไมล์
๒๔๙. เมื่ออยู่ซีกโลกเหนือจะหาทิศจากดาวใด
ก. ดาวลูกไก่ ข. ดาวไถ
ค. ดาวกางเขน ง. ดาวอังคาร
๒๕๐. การเคลื่อนที่ในเวลากลางคืน จะต้องเตรียมตัวเอง เรื่องการแต่งกายโดยพยายามเลือกใช้
ก. เสื้อผ้าอ่อนนุ่มรัดรูปทรง ข. เสื้อผ้าหนา และรัดรูปทรง
ค. เสื้อผ้าอ่อนนุ่มไม่รัดรูปทรง ง. เสื้อผ้าลงแป้ง
๒๕๑. การใช้อาวุธในเวลากลางคืน เพื่อรักษาความปลอดภัย ควรใช้อาวุธชนิดใด
ก. กระสุนส่องวิถี ข. กระสุนส่องแสง
ค. ลูกระเบิดขว้าง ง. กระสุนปืน M ๖๐
๒๕๒. การเข้าโจมตีในบริเวณหมู่บ้าน ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนที่บริเวณใด
ก. ที่โล่งแจ้ง ข. ไร่
ค. นา ง. ตามถนน , เส้นทาง
๒๕๓. หลักการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัย ในเวลากลางคืนที่ต้องยึดถือ คือ
ก. เข้าใจสัญญาณบอกฝ่าย ข. ประสานการปฏิบัติทหารฝ่ายเดียวกัน
ค. ระวังเรื่องการใช้แสง , เสียง ง. ถูกทุกข้อ
๒๕๔. การรักษาความปลอดภัยในเวลากลางคืนข้อใด เป็นหลักการจัดยามรักษาการณ์
ก. ต้องผลัดเปลี่ยนยามบ่อย ๆ ข. เปลี่ยนยามทุก ๑ วัน
ค. เปลี่ยนยามทุก ๒๔ ชั่วโมง ง. เปลี่ยนยามทุก ๔ ชั่วโมง
๒๕๕. ในตอนหัวค่ำดาวสองดวง หรือขาคู่หน้าของดาวจระเข้ จะเป็นแนวชี้ไปทางใด
ก. ชี้ไปทางทิศตะวันออก ข. ชี้ไปทางดาวเหนือ
ค. ชี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ง. ชี้ลงมาสู่ขอบฟ้า
๒๕๖. การหาดาวเหนือจากดาวจระเข้ ส่วนใดของดาวจระเข้จะเป็นแนวไปยังดาวเหนือ
ก. ส่วนหาง ข. ส่วนขาคู่หน้า
ค. ส่วนขาคู่หลัง ง. ส่วนหัว
๒๕๗. หากไม่มีลักษณะภูมิประเทศใดใช้เป็นเครื่องนำทางได้ ให้ใช้วิธีการเคลื่อนที่อย่างไรโดยใช้เข็มทิศ
ก. เป็นสี่เหลี่ยม ข. เป็นเส้นตรง
ค. เป็นวงกลม ง. เป็นมุมหัก
๒๕๘. การคลานในเวลากลางคืนใช้ในโอกาส
ก. เข้าใกล้ข้าศึก ข. อยู่ห่างจากข้าศึก
ค. เมื่อมีแสงสว่างมาก ง. เมื่อมีพลุดังขึ้น
๒๕๙. ในเวลากลางคืนควรพรางร่างกายด้วยสีอะไร
ก. สีเขียว ข. สีเหลืองทราย
ค. สีขาว ง. สีดำ
๒๖๐. ดาวกางเขนมีจำนวนกี่ดวง
ก. ๒ ดวง ข. ๓ ดวง
ค. ๔ ดวง ง. ๕ ดวง
๒๖๑. ข้อใดหมายถึงสัญญาณผ่าน
ก. ติดแถบเรืองแสงที่หมวก ข. พับแขนเสื้อหนึ่งข้าง
ค. สวมปลอกแขน ง. ถาม กรุงเทพ , ตอบ ภูเก็ต
๒๖๒. สิ่งที่ต้องเตรียมการตั้งแต่ในเวลากลางวัน คือ
ก. แผ่นจดระยะ ข. การเตรียมการยิง
ค. ข้อ ก. ถูก ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
๒๖๓. การหาดาวเหนือจะลากเส้นผ่านขาหน้าตรงไปประมาณกี่เท่า
ก. ๒ เท่า ข. ๓ เท่า
ค. ๔ เท่า ง. ๕ เท่า
๒๖๔. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเส้นตัดขอบฟ้า
ก. บนสันเขาหัวโล้น ข. บนจอมปลวกหัวโล้น
ค. ในก้นบ่อน้ำ ง. บนขอบหลังคา
๒๖๕. การเดินในเวลากลางคืนในที่โล่งแจ้งจะถืออาวุธประจำการยอย่างไร
ก. หนีบไว้ใต้รักแร้ ข. แบกอาวุธ
ค. เฉียงอาวุธ ง. สะพายขวาง
๒๖๖. ดาวกางเขน หรือดาวว่าว มีจำนวนกี่ดวง
ก. ๒ ดวง ข. ๓ ดวง
ค. ๔ ดวง ง. ๕ ดวง
๒๖๗. การพรางเพื่อซ่อนตัวในที่มืด ในการพรางหน้าให้ดำทั้งหน้า ควรใช้สิ่งที่มีสีดำได้แก่
ก. เขม่าถ่าน ข. เขม่าตะเกียง
ค. ถ่านไม้ก๊อก ง. ถูกทุกข้อ
๒๖๘. การคลานในเวลากลางคืน ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ควรยกอาวุธประจำกายให้พ้นพื้นดิน ข. กลางคืนคลานเหมือนกลางวัน
ค. คลานให้หน้าอกติดพื้นดิน ง. ต้องคลานอย่างรวดเร็ว
๒๖๙. การเดินในเวลากลางคืน ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ยกเท้าให้สูง ข. ใช้มือคลำก่อนนอนหมอบ
ค. เพื่อความรวดเร็วไม่ต้องใช้มือคลำ ง. ก่อนคุกเข่าให้ใช้มือคลำที่วางเข่าก่อนทุกครั้ง
วิชายุทธวิธี เรื่อง ป้อมสนาม
๒๗๐. ป้อมสนามเป็นงานที่สร้างขึ้นในชั้นต้นเมื่อใด
ก. เมื่อปะทะกับข้าศึกหรือข้าศึกอยู่ในระยะใกล้
ข. เมื่อข้าศึกยึดพื้นที่ฝ่ายเราได้
ค. เมื่อพื้นที่บริเวณนั้นไม่มีข้าศึกอยู่เลย
ง. เมื่อกำลังพลฝ่ายเราต้องการพักผ่อน
๒๗๑. มูลดินของหลุมบุคคลมีขนาดเท่าใด
ก. กว้าง ๓ ฟุต สูง ๓ นิ้ว ข. กว้าง ๔ ฟุต สูง ๖ นิ้ว
ค. กว้าง ๓ ฟุต สูง ๖ นิ้ว ง. กว้าง ๔ ฟุต สูง ๓ นิ้ว
๒๗๒. การดัดแปลงภูมิประเทศ คือ
ก. การกำจัดมูลดินปรับพื้นที่ให้เรียบ ข. ตัดต้นไม้ทุกต้องให้หมด
ค. การย้ายที่วางตัวบ่อย ๆ ง. การเสริมความแข็งแรงให้กับที่มั่นตั้งรับ
๒๗๓. ลำดับความเร่งด่วนของงานในทันทีที่เข้ายึดที่มั่น จะต้องเสริมความแข็งแรงให้กับที่มั่นตั้งรับ ข้อใดจะต้องกระทำเป็นลำดับแรก
ก. การถากถางพื้นที่การยิงและกำจัดสิ่งกีดขวาง
ข. การกำหนดที่ตั้งและวางอาวุธยิง
ค. การขุดหลุมบุคคลและที่ตั้งอาวุธ
ง. การสร้างเครื่องกีดขวางประเภทต่าง ๆ
๒๗๔. หลุมบุคคลนอนยิงเป็นที่ตั้งยิงแบบบ่อตื้น ๆ กำหนดขึ้นใช้ชั่วคราว หลุมบุคคลชนิดนี้เป็นที่ตั้งยิงแบบใด
ก. ที่ตั้งยิงแบบมาตรฐาน ข. ที่ตั้งยิงแบบเร่งด่วน
ค. ที่ตั้งยิงแบบชั่วคราว ง. ที่ตั้งยิงแบบถาวร
๒๗๕. หลุมบุคคลเดี่ยวมีขนาดของหลุมเท่าใด
ก. กว้าง ๔ ฟุต ยาว ๔ ฟุต ลึก ๒ ๑/๒ - ๔ ฟุต
ข. กว้าง ๓ ฟุต ยาว ๔ ฟุต ลึก ๓ ๑/๒ - ๕ ฟุต
ค. กว้าง ๒ ฟุต ยาว ๓ ฟุต ลึก ๓ ๑/๒ - ๕ ฟุต
ง. กว้าง ๒ ฟุต ยาว ๔ ฟุต ลึก ๓ ๑/๒ - ๕ ฟุต
๒๗๖. ที่ตั้งยิงปืนกลมี ๓ แบบ คือ แบบหลุมบุคคลสองหลุม แบบบ่อ และแบบใด
ก. แบบหลุมบุคคลคู่ ข. แบบเกือกม้า
ค. แบบหลุมบุคคลเดี่ยว ง. แบบเร่งด่วน
๒๗๗. การกรุลาดมี ๒ แบบ แบบกำแพงกันดิน กับ แบบกรุผิว แบบกำแพงกันดินสามารถทรงตัวอยู่ได้เองโดยไม่ต้องใช้เครื่องค้ำจุนกระทำได้หลายวิธี ๆ ใดบ้าง
ก. วิธีใช้กระสอบ,แผ่นหญ้า,หินและอิฐ,ซุง
ข. วิธีใช้ผ้ากระสอบ,ลวดตาข่าย,ผ้าใบ,ตะแกรงลวด
ค. วิธีใช้ภาชนะโลหะที่แผ่แล้ว,แผ่นโลหะ,สังกะสีลูกฟูก
ง. วิธีใช้กิ่งไม้,ไม้กระดาน,ไม้อัด,ไม่ท่อนหรือไม้แปรรูป
๒๗๘ . แบบและรูปร่างของคู มี ๓ แบบ คือ คูต่อสู้,คูมาตรฐานมีที่ยืนยิง,คูยิงสำหรับคูมาตรฐาน มีที่ยืนยิง
มีความลึกเท่าใด
ก. ลึก ๓ ๑/๒ ฟุต ข. ลึก ๔ ๑/๒ ฟุต
ค. ลึก ๕ ๑/๒ ฟุต ง. ๖ ๑/๒ ฟุต
๒๗๙. การถากถางพื้นที่ยิง มีหลักการปฏิบัติอยู่หลายหัวข้อ สำหรับการปฏิบัติในพื้นที่จัดไว้สำหรับ การตั้งรับ
ประชิด ให้เริ่มถากถางใกล้แนวของหน้าที่มั่นใหญ่ และต่อออกไปข้างหน้าอย่างน้อยกี่หลา
ก. ๓๐ หลา ข. ๕๐ หลา
ค. ๘๐ หลา ง. ๑๐๐ หลา
๒๘๐. ป้อมสนามเป็นงานที่ได้สร้างขึ้นในชั้นต้นเมื่อปะทะกับข้าศึกหรือในเมื่อข้าศึกอยู่ในระยะใกล้
แต่ส่วนมากแล้ว มักจะใช้มากในสถานการณ์ใด
ก. เข้าตี ข. ตั้งรับ
ค. ร่นถอย ง. ถูกทุกข้อ
๒๘๑. การกำหนดลำดับความเร่งด่วนของงานป้อมสนาม ในทันทีที่ทำการเข้ายึดที่มั่น จะต้องเสริม
ความแข็งแรง ให้กับที่มั่นตั้งรับ ข้อใดต้องกระทำเป็นลำดับแรก
ก. การกำหนดที่ตั้งและวางอาวุธยิง ข. การถากถางพื้นที่การยิงและการกำจัดสิ่งกีดขวาง
ค. การขุดหลุมบุคคลและที่ตั้งอาวุธ ง. การสร้างและทำเครื่องกีดขวางประเภทต่าง ๆ
๒๘๒. คูเป็นที่ตั้งอาวุธเร่งด่วน นอกจากจะใช้เป็นคูยิงแล้ว ยังใช้ทำสิ่งใดได้อีก
ก. การบังคับบัญชาสั่งการ ข. การส่งกำลังในที่มั่นตั้งรับ
ค. การติดต่อสื่อสาร ง. ถูกทุกข้อ
๒๘๓. รูปรอยมาตรฐานแบบใด เป็นแบบที่ดีเลิศสำหรับคูยิง ในเกือบทุกสถานการณ์ ในการห้องกัน
ดีเลิศ การระเบิดของกระสุนปืนใหญ่ จะถูกจำกัดอยู่เฉพาะแห่ง
ก. แบบสี่เหลี่ยม ข. แบบแปดเหลี่ยม
ค. แบบหกเหลี่ยม ง. แบบสามเหลี่ยม
๒๘๔. ป้อมสนาม เป็นงานซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มักประกอบด้วย
ก. ที่วางตัวสำหรับบุคคล ข. การถากถางพื้นที่การยิง,การขุดคูที่ตั้งอาวุธ
ค. การขุดบ่อพื้นที่หาน้ำ ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก
๒๘๕. การทำที่ตั้งยิงแบบเร่งด่วน,หลุมบุคคลเป็นความรับผิดชอบและต้องสามารถสร้างได้ด้วยตนเองโดยผู้ใด
ก. ทหารทุกนาย ข. ผบ.หมู่
ค. หน.ชุดยิง ง. พลนำสาร
๒๘๖. การดัดแปลงภูมิประเทศ ให้มีความเข็งแรงและดีได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งใด
ก. การสั่งการของผู้บังคับบัญชา
ข. ภูมิประเทศ
ค. ระยะเวลาที่มีอยู่และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นเครื่องมือและวัสดุ
ง. สภาพอากาศ
๒๘๗. หากถูกยิงจากข้าศึกในทันทีทันใด และหาที่กำบังตามธรรมชาติไม่ได้ ทหารสามารถขุดหลุมบุคคล
นอนยิงได้ ด้วยวิธีใดจึงจะถูกต้อง
ก. ปลดเครื่องสนามแล้วเอาพลั่วสนามขุด ข. นั่งหรือยืนขุดก็ได้
ค. นอนตะแคงข้างแล้วใช้พลั่วสนามขุด ง. รอให้ข้าศึกหยุดยิงแล้วจึงทำการขุด
๒๘๘. หลุมบุคคลที่นิยมใช้กันมากที่สุด และได้ผลดีที่สุดมีกี่แบบ
ก. ๑ แบบ ข. ๒ แบบ
ค. ๓ แบบ ง. ๔ แบบ
๒๘๙. หลุมบุคคลคู่ มีขนาดกว้าง และยาวเท่าใด
ก. กว้าง ๑ ฟุต ยาว ๔ ฟุต ข. กว้าง ๒ ฟุต ยาว ๖ ฟุต
ค. กว้าง ๓ ฟุต ยาว ๕ ฟุต ง. กว้าง ๔ ฟุต ยาว ๘ ฟุต
๒๙๐. ที่ตั้งยิงปืนกล ที่ให้ความอ่อนตัวมากที่สุด และสามารถหันปืนไปได้เป็นมุมถึง ๑๘๐ องศา และ
ป้องกันพลประจำปืนได้ดี ได้แก่ที่ตั้งยิงแบบใด
ก. แบบบ่อ ข. แบบหลุมบุคคล ๒ หลุม
ค. แบบนอนยิง ง. แบบเกือกม้า
๒๙๑. ที่ตั้งยิงเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบบ่อมีวงกลมรัศมีกี่ฟุต
ก. ๓ ฟุต ข. ๔ ฟุต
ค. ๕ ฟุต ง. ๖ ฟุต
๒๙๒. ที่ตั้งยิงเครื่องลูกระเบิด ขนาด ๖๐ มม. มีกี่แบบ
ก. ๒ แบบ ข. ๓ แบบ
ค. ๔ แบบ ง. ๕ แบบ
๒๙๓. สิ่งก่อสร้าง ที่เป็นที่ตั้งยิงอาวุธเร่งด่วน และใช้เป็นที่บังคับบัญชา,การติดต่อสื่อสาร,ส่งกำลังบำรุง
ในที่มั่นตั้งรับ คืออะไร
ก. หลุมบุคคลเดี่ยว ข. หลุมบุคคลคู่
ค. คู ง. หลุมแบบเกือกม้า
๒๙๔. งานเริ่มแรกของคูมาตรฐาน ได้แก่การสร้างคูชนิดใด
ก. คูยิง ข. คูต่อสู้
ค. คูระบายน้ำ ง. คูดักระเบิด
๒๙๕. คูต่อสู้ จะมีความกว้างที่ปากคูกี่ฟุต
ก. ๒ ฟุต ข. ๓ ฟุต
ค. ๔ ฟุต ง. ๕ ฟุต
๒๙๖. รูปรอยแบบใด ที่ป้องกันได้ดีเลิศในทุกสถานการณ์ และป้องกันการระเบิดของกระสุนปืนใหญ่ได้ดี คือ
ก. รูปรอยแบบซิกแซก ข. รูปรอยแบบ ๘ เหลี่ยม
ค. รูปรอยแบบ ๖ เหลี่ยม ง. รูปรอยแบบ ๓ เหลี่ยม
๒๙๗. การดัดแปลงภูมิประเทศ คือ
ก. การสร้างเครื่องกีดขวาง ข. การขุดหลุมบุคคล
ค. ทำการพรางด้วยกิ่งไม้ ง. การเสริมความแข็งแรงให้กับที่มั่นตั้งรับ
๒๙๘. ที่ตั้งยิงแบบเร่งด่วนหมายถึง
ก. การดัดแปลงหลุมบุคคลนอนยิง ข. ที่ตั้งยิงกำหนดและดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ชั่วคราว
ค. การดัดแปลงหลุมระเบิดเป็นที่ตั้งยิง ง. การดัดแปลงมูนดินเป็นที่ตั้งยิง
๒๙๙. ที่ยืนยิงของหลุมบุคคลเดี่ยวสมควรขุดลึกกี่ฟุต
ก. ลึก ๓ ๑/๒ ฟุต ถึง ๕ ฟุต ข. ลึก ๔ ๑/๒ ฟุต ถึง ๖ ฟุต
ค. ตามความสูงของผู้ใช้และเมื่อนั่งมอบ ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
๓๐๐. ที่ตั้งยิงปืนกลมีกี่แบบ
ก. ๒ แบบ ข. ๓ แบบ
ค. ๔ แบบ ง. ผิดทุกข้อ
๓๐๑. ที่ตั้งยิงเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังขนาด ๓.๕ นิ้ว (คจตถ.) มี ๒ แบบ คือ
ก. แบบนอนยิงกับแบบนั่งยิง ข. แบบยืนยิงกับแบบนอนยิง
ค. แบบนั่งคุกเข่ายิงกับแบบนั่งราบยิง ง. แบบบ่อกับแบบหลุมบุคคลสองหลุม
๓๐๒. ที่ตั้งยิงปืนไร้แสงสะท้อนถอยหลัง ขนาด ๕๗ มม. และ ๗๕ มม. มีกี่แบบ
ก. ๒ แบบ ข. ๓ แบบ
ค. ๔ แบบ ง. ๕ แบบ
๓๐๓. ที่ตั้งยิงเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๓.๕ นิ้ว มีมูนดินกว้าง
ก. มูนดินกว้าง ๓ ฟุต สูง ๓ นิ้ว ข. มูนดินกว้าง ๔ ฟุต สูง ๖ นิ้ว
ค. มูนดินกว้าง ๔ ฟุต สูง ๓ นิ้ว ง. ไม่ต้องมีมูนดินแต่สร้างที่กำบังไว้ใกล้ ๆ
๓๐๔. คูต่อสู้มีความลึกที่สุดและกว้างปากคูเท่าไร
ก. ๔ ๑/๒ ฟุต กว้างที่ปากคู ๔ ฟุต ข. ๕ ๑/๒ ฟุต กว้างที่ปากคู ๕ ฟุต
ค. ๖ ๑/๒ ฟุต กว้างที่ปากคู ๖ ฟุต ง. ๗ ๑/๒ ฟุต กว้างที่ปากคู ๗ ฟุต
๓๐๕. คูมาตรฐานมีที่ยืนยิงพร้อมลึก ๕ ๑/๒ ฟุต เหมาะแก่การปฏิบัติงานชนิดใด
ก. การติดต่อสื่อสาร,การบังคับบัญชา,การส่งกำลัง,การส่งกลับ,การสับเปลี่ยนหน่วยทหาร
ข. การตั้งรับ,การร่นถอย,การติดต่อสื่อสาร,การบังคับบัญชา
ค. การส่งกำลัง,การส่งกลับ,การสับเปลี่ยนหน่วยทหาร,การติดต่อสื่อสาร
ง. งานติดต่อสื่อสาร,การบังคับบัญชา,การส่งกลับ,การสับเปลี่ยนหน่วยทหาร
๓๐๖. คูมาตรฐานสมควรมีพื้นที่ยืนยิงทุก ๆ กี่หลา
ก. ๑-๕ หลา สลับกันทั้ง ๒ ข้าง ข. ๕–๑๐ หลา สลับกันทั้ง ๒ ข้าง
ค. ๑๐–๑๕ หลา สลับกันทั้ง ๒ ข้าง ง. ผิดทุกข้อ
๓๐๗. ที่ตั้งยิงปืนกลมี ๓ แบบ คือ แบบบ่อ,แบบเกือกม้า,และแบบใด
ก. แบบหลุมบุคคลสองหลุม ข. แบบหลุมบุคคลคู่
ค. แบบหลุมบุคคลเดี่ยว ง. แบบเร่งด่วน
๓๐๘. การกรุลาดมี ๒ แบบ คือ
ก. แบบกรุผิว,แบบคลุมดิน ข. แบบกำแพงดิน,แบบกรุผิว
ค. แบบกำแพงดิน,แบบกำแพงซุง ง. แบบคลุมดิน,กำแพงซุง
๓๐๙. หลักการในการถากถางพื้นยิงมีอยู่ว่า
ก. ต้องไม่เป็นการเปิดเผยที่มั่นฝ่ายเรา ข. ต้องไม่ขาดความรอบคอบ
ค. ถากถางให้มากไว้พอฝนตกก็ขึ้นอีก ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ก.,ข.
วิชายุทธวิธี รูปขบวนทำการรบ หมู่ ปล.
๓๑๐. หมู่ปืนเล็กแต่ละหมู่มีกำลังทั้งหมดกี่นาย
ก. ๑ นาย ข. ๑๐ นาย
ค. ๑๑ นาย ง. ๑๒ นาย
๓๑๑. ผบ.หมู่ ปล. มียศอะไร
ก. ส.อ. ข. จ.ส.อ.
ค. ส.ท. ง. ส.ต.
๓๑๒. หมู่ ปล. แต่ละหมู่ประกอบด้วย ผบ.หมู่ ปล. และ ๒ ชุดยิงคือ ชุดยิง ก. และชุดยิง ข. แต่ละชุดยิงมีกำลังพลชุดละกี่นาย
ก. ๕ นาย ข. ๖ นาย
ค. ๗ นาย ง. ๘ นาย
๓๑๓. ภารกิจของ หมู่ ปล. เป็นส่วนหนึ่งของ มว.ปล. ปฏิบัติตามคำสั่งของ ผบ.มว. ภารกิจหลัก คือ
ก. การเข้าตี ข. การตั้งรับ
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๑๔. รูปขบวนทำการรบของ หมู่ ปล. มี ๒ รูปขบวน คือ
ก. รูปขบวนหมู่แถวตอน ข. รูปขบวนหมู่แถวหน้ากระดาน
ค. ข้อ ก. ถูก ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
๓๑๕. รูปขบวนที่เป็นหลักของแต่ละชุดยิง คือ
ก. รูปขบวนหมู่แถวตอน ข. รูปขบวนหมู่แถวหน้ากระดาน
ค. รูปขบวนสามเหลี่ยมแหลมหลัง ง. รูปขบวนสามเหลี่ยมแหลมหน้า
๓๑๖. ผบ.หมู่ ควบคุมหมู่ของตนโดยใช้คำสั่งด้วย
ก. คำสั่งด้วยวาจา ข. ท่าสัญญาณ
ค. เสียงสัญญาณ ง. ถูกทุกข้อ
๓๑๗. ในการปรับรูปขบวนของ หมู่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือเนื่องจากกำลังพลของ หมู่ เหลือน้อยลงนั้นให้ยึดถือหลักการดังต่อไปนี้
ก. ต้องดำรงความเป็นชุดยิงไว้
ข. หัวหน้าชุดยิงต้องอยู่ ณ. ที่ซึ่งสะดวกในการควบคุม และใช้ชุดยิงได้
ค. ปลย. ติดขาทรายต้องตั้งอยู่ภายในแต่ละชุดยิง
ง. ที่กล่าวมาถูกทุกข้อ
๓๑๘. โอกาสที่ใช้เป็นรูปขบวนที่เหมาะสำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ได้ทุกภูมิประเทศ และทัศนวิสัยมีข้อดี คือ
ก. สะดวกในการควบคุมเคลื่อนที่ได้เร็ว
ข. ให้การระวังป้องกันได้รอบตัว และอำนาจการยิงสูงสุด
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก.
๓๑๙. การปฏิบัติของ ผบ.หมู่ ต้องการให้หมู่ของตนจัดรูปขบวนหมู่แถวตอน อาจกระทำได้กี่วิธี
ก. ๒ วิธี ข. ๓ วิธี
ค. ๔ วิธี ง. ๕ วิธี
๓๒๐. การปฏิบัติของ ผบ.หมู่ ปล. เมื่อ ผบ.หมู่ ต้องการให้หมู่ของตนจัดรูปขบวนหมู่แถวตอน กระทำได้ ๓ วิธี คือ
ก. สั่งการด้วยวาจา ข. ท่าสัญญาณ
ค. เสียงสัญญาณ ง. ถูกทุกข้อ
๓๒๑. ข้อเสียในการจัดรูปขบวนหมู่แถวตอนในการเคลื่อนที่มีข้อเสียอย่างไร
ก. สะดวกในการควบคุม ข. การยิงข้างหน้า และข้างหลังจำกัด
ค. เคลื่อนที่ได้เร็ว ง. ให้การระวังป้องกันได้รอบตัว
๓๒๒. การเปลี่ยนรูปขบวน จากรูปขบวนหมู่แถวหน้ากระดาน เป็นรูปขบวนหมู่แถวตอน จะใช้คำบอกคำสั่งว่าอย่างไร
ก. หมู่หน้ากระดานปฏิบัติ ข. หมู่สามเหลี่ยมแหลมหน้าปฏิบัติ
ค. หมู่แถวตอนปฏิบัติ ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๒๓. การปฏิบัติของแต่ละชุดยิง เมื่อได้ยินคำสั่ง หรือเห็นท่าสัญญาณ หรือได้ยินเสียงสัญญาณ ตามที่นัดหมายกันไว้ ให้เปลี่ยนเป็นรูปขบวนอะไร
ก. รูปขบวน หมู่สามเหลี่ยมแหลมหน้า ข. รูปขบวนหมู่แถวตอน
ค. รูปขบวนหมู่หน้ากระดาน ง. รูปขบวนหมู่สามเหลี่ยมแหลมหลัง
๓๒๔. ชดยิง ก. จัดรูปขบวนในชุดยิงเป็นรูปขบวนหมู่แถวตอนโดย หน.ชุดยิง ก. เคลื่อนที่ขึ้นไปประจำหมู่ ณ.ข้างหน้า ผบ.หมู่ ในระยะประมาณกี่เมตร
ก. ๒๕ เมตร ข. ๓๐ เมตร
ค. ๓๕ เมตร ง. ๔๐ เมตร
๓๒๕. ชดยิง ข. จัดรูปขบวนในชุดยิงเป็นรูปขบวนหมู่แถวตอนโดย หน.ชุดยิง ข. เคลื่อนที่ขึ้นไปประจำหมู่ ณ.ข้างหลัง ผบ.หมู่ ในระยะประมาณกี่เมตร
ก. ๕ เมตร ข. ๑๐ เมตร
ค. ๑๕ เมตร ง. ๒๐ เมตร
๓๒๖. รูปขบวนใดเป็นรูปขบวนหลักในการเข้าตีของหมู่ เป็นรูปขบวนที่มีอำนาจการยิงไปยังด้านหน้ามากที่สุดในการเข้าโจมตี
ก. รูปขบวนหมู่แถวหน้ากระดาน ข. รูปขบวนหมู่แถวตอน
ค. รูปขบวนหมู่สามเหลี่ยมแหลมหน้า ง. รูปขบวนหมู่สามเหลี่ยมแหลมหลัง
๓๒๗. การปฏิบัติของ ผบ.หมู่ เมื่อต้องการให้หมู่ของตน จัดรูปขบวนหมู่แถวหน้ากระดานอาจกระทำได้กี่วิธี
ก. ๑ วิธี ข. ๒ วิธี
ค. ๓ วิธี ง. ๔ วิธี
๓๒๘. ชดยิง ก. จัดรูปขบวนภายในชุดยิงเป็นรูปขบวนสามเหลี่ยมแหลมหน้า โดย หน.ชุดยิง ก. เคลื่อนที่ขึ้นไปประจำอยู่ ณ. ข้างหน้าทางซ้ายของ ผบ.หมู่ ในระยะห่างจาก ผบ.หมู่ ประมาณกี่เมตร
ก. ๑๐ เมตร ข. ๑๕ เมตร
ค. ๒๐ เมตร ง. ๒๕ เมตร
๓๒๙. ท่าสัญญาณ ถ้าต้องการให้แต่ละชุดยิงปรับรูปขบวนทางข้างเข้ามาให้ปฏิบัติอย่างไร
ก. ยกมือทั้งสองข้างไปจรดกันไว้เหนือศีรษะ แขนเหยียดเกือบตึง
ข. ยกมือไปข้างหน้าทั้งสองข้าง
ค. หมุนแขนขวาไปข้างหน้า
ง. หมุนแขนซ้ายไปข้างหน้า
๓๓๐. พล.ปล. คือ ปืนเล็กยาวติดขาทราย เข้าประจำที่เยื้องออกไปทางขวาของ หน.ชุดยิง ระยะต่อจาก หน.ชุดยิงประมาณเท่าใด
ก. ๕ เมตร ข. ๑๐ เมตร
ค. ๑๕ เมตร ง. ๒๐ เมตร
๓๓๑. พลยิง เอ็ม ๒๐๓ หรือ เอ็ม ๗๙ เข้าประจำที่เยื้องออกไปทางซ้ายของ หน.ชุดยิง ระยะต่อจาก หน.ชุดยิงประมาณกี่เมตร
ก. ๓ เมตร ข. ๕ เมตร
ค. ๗ เมตร ง. ๑๐ เมตร
๓๓๒. พลปืนเล็กเข้าประจำที่เยื้องออกไปทางขวาของพลปืนเล็กที่ถือ ปลย. ติดขาทรายระยะต่อห่างจากพลปืนเล็กที่ถือ ปลย. ติดขาทรายประมาณกี่เมตร
ก. ๑๐ เมตร ข. ๒๐ เมตร
ค. ๓๐ เมตร ง. ๔๐ เมตร
๓๓๓. พลปืนเล็กอีกคนหนึ่งเข้าประจำที่เยื้องออกไปทางซ้ายของพลยิงเอ็ม ๒๐๓ หรือ เอ็ม ๗๙ ระยะต่อห่างจากพลยิงเอ็ม ๒๐๓ หรือ เอ็ม ๗๙ กี่เมตร
ก. ๑๐ เมตร ข. ๒๐ เมตร
ค. ๓๐ เมตร ง. ๔๐ เมตร
การพักแรม
๓๓๔. การที่หน่วยทหารออกจากที่ตั้ง และพักค้างคืนที่อื่นเป็นการปฏิบัติอะไร
ก. การพักแรม ข. การลาดตระเวน
ค. การท่องเที่ยว ง. การตรวจการณ์
๓๓๕. ใครเป็นผู้กำหนดพื้นที่พักแรมให้กับหน่วยทหาร
ก. ตัวทหารเลือกเอง ข. ผู้บังคับหน่วย
ค. รองผู้บังคับหน่วย ง. ต่างคนต่างเลือก
๓๓๖. การพักแรมนั้นกระทำเพื่อเหตุใด
ก. ในเวลารบ ข. มิใช่เวลารบ
ค. ไปทำการฝึกภาคสนาม ง. ถูกทุกข้อ
๓๓๗. ลักษณะพื้นที่พักแรมเป็นอย่างไร
ก. ใกล้เส้นทางคมนาคม ข. พื้นที่ราบเรียบแต่มีการปกปิดกำบัง
ค. มีพื้นที่กว้างขวาง ง. ถูกทุกข้อ
๓๓๘. พื้นที่ในการพักแรมควรมีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติหรือไม่
ก. ควรมี ข. ไม่ควรมี
ค. ไม่มีความจำเป็น ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๓๙. ประเภทการพักแรมมีกี่ประเภท
ก. ๑ ประเภท ข. ๒ ประเภท
ค. ๓ ประเภท ง. ๔ ประเภท
๓๔๐. การพักแรมในหมู่บ้านมีลักษณะอย่างไร
ก. อาคารที่เป็นสาธารณะ ข. พื้นที่ป่าใกล้หมู่บ้าน
ค. ศาลาวัด ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
๓๔๑. การพักแรมในหมู่บ้านข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ควบคุมบังคับบัญชาง่าย ข. ควบคุมบังคับบัญชายาก
ค. ทหารจะมีระเบียบวินัยดี ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๔๒. ข้อเสียของการพักแรมในหมู่บ้าน คือ
ก. ทหารอาจจะเสียวินัย ข. ชาวบ้านอาจเห็น และได้ยินเรื่องชี้แจง
ค. ทหารอาจจะติดเชื้อโรคจากชาวบ้าน ง. ถูกทุกข้อ
๓๔๓. การพักแรมในป่า , ทุ่งนา , เชิงเขา เป็นที่พักแรมประเภทใด
ก. ในหมู่บ้าน ข. พักแรมในค่าย
ค. การพักแรมปน ง. พักแรมในสนาม
๓๔๔. การพักแรมในสนามทหารจะพักแรมอย่างไร
ก. ทหารจะต้องใช้เต้นท์ประจำการอย่างมีระเบียบ ข. หาพื้นตามชอบใจ
ค. นอนใต้ต้นไม้ใหญ่ ง. นอนเป็นกลุ่มก้อน
๓๔๕. การพักแรมในสนามเหมาะสำหรับใช้ในโอกาสหน่วยทหารอยู่สถานการณ์ใด
ก. ทางยุทธวิธี ข. ฝึกภาคสนาม
ค. เดินทางไกล ง. ลาดตระเวน
๓๔๖. การพักแรมในพื้นที่ที่มีลักษณะการจัดโดยทั่วไป เช่นเดียวกับที่ตั้งปกติ คือ
ก. พักแรมในหมู่บ้าน ข. พักแรมในสนาม
ค. พักแรมในค่าย ง. การพักแรมปน
๓๔๗. ลักษณะของพื้นที่พักแรมในค่าย คือ
ก. ห่างไกลจากพื้นที่การรบ ข. ไม่ห่างไกลจากตัวเมือง
ค. มีห้องน้ำ , ห้องส้วม , ร้านค้า ง. ถูกทุกข้อ
๓๔๘. ทำไมค่ายพักแรมจำเป็นต้องอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเพราะ
ก. ทหารไม่เหงา ข. ทหารพักผ่อนหย่อนใจในเมืองสะดวก
ค. ญาติมาเยี่ยมได้สะดวก ง. ถูกทุกข้อ
๓๔๙. หน่วยทหารอาจมีภารกิจที่ต้องยึดครอง หรือพิทักษ์รักษา หมู่บ้านแต่มีจำนวนมาก เราจะใช้พื้นที่พักแรมแบบใด
ก. พักแรมในหมู่บ้าน ข. พักแรมในสนาม
ค. พักแรมในค่าย ง. พักแรมปน
๓๕๐. การพักแรมปน คือ
ก. พักในหมู่บ้าน , ในสนาม ข. พักในหมู่บ้าน , ในค่าย
ค. พักในค่าย , ในสนาม ง. พักในป่า , พักในหมู่บ้าน
๓๕๑. หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เตรียมที่พัก คือ
ก. จัดแบ่งพื้นที่ในหน่วยรองต่าง ๆ ข. จัดสิ่งอำนวยความสะดวก
ค. จัดกางเต้นท์กองบังคับการของหน่วย ง. ถูกทุกข้อ
๓๕๒. การวางแผนติดตั้งสายโทรศัพย์เป็นหน้าที่ของใคร
ก. เจ้าหน้าที่เตรียมที่พัก ข. กำลังพลแต่ละหน่วย
ค. ผู้บังคับหน่วย ง. รองผู้บังคับหน่วย
๓๕๓. ใครเป็นผู้กำหนดให้ทหารกางเต้นท์ในที่พักแรม
ก. กำหนดเองตามใจชอบ ข. คู่บัสดี๋เป็นผู้กำหนด
ค. ผู้บังคับบัญชาทหาร ง. ไม่มีข้อใดถูก
๓๕๔. เมื่อเข้าที่พักแรมแล้วทหารต้องทำอะไรบ้าง
ก. ถอดเสื้อผ้าที่เปียกชื้นออกผึ่งให้แห้ง ข. ล้างเท้าด้วยสบู่
ค. ทำความสะอาดอาวุธ ง. ถูกทุกข้อ
๓๕๕. ทหารต้องทราบอะไรบ้างในที่พักแรม
ก. ที่ตั้งหน่วยสารวัตรทหาร ข. สัญญาณบอกฝ่ายประจำวัน
ค. การรักษาการณ์ภายในเขตที่พัก ง. ถูกทุกข้อ
๓๕๖. ใครเป็นผู้กำหนดให้ใช้น้ำกิน น้ำใช้
ก. ทหารเอง ข. ชาวบ้านใกล้ ๆ บอก
ค. ผู้บังคับบัญชากำหนด ง. ตามธรรมชาติ
๓๕๗. ในที่พักแรมนั้นทหารจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นหรือไม่
ก. ต้องทราบ ข. ไม่จำเป็นต้องทราบ
ค. ทราบเฉพาะหน่วยของตนเอง ง. ไม่มีข้อใดถูก
วิชา วีรกรรมของพระมหากษัตริย์ไทย มหาราช ๙ พระองค์
๓๕๘. พระพรหมดำรงตำแหน่งอะไร ในอาณาจักรโยนกนครเชียงแสน ก่อนที่จะสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์
ก. แม่ทัพนายกอง ข. อุปราช
ค. โหรหลวง ง. กษัตริย์
๓๕๙. พระพรหมมหาราช หลังจากทำการขยายอาณาเขต เยี่ยงวีระขัตติยะชาติ พระองค์ได้ทรงสร้างราชธานีขึ้น ก่อนสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ อยากทราบว่าราชธานีนั้น ชื่ออะไร
ก. ชัยปราการ ข. ชัยธานี
ค. ลานนาไทย ง. หริภุญชัย
๓๖๐. หลังจากพระพรหมมหาราช สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงขนานนามอาณาจักรของพระองค์ว่าอย่างไร
ก. ไทยลานนา ข. ลานนาไทย
ค. ละว้า ง. ถูกเฉพาะ ก. และ ข.
๓๖๑. พ่อขุนรามคำแหง เป็นราชโอรสของผู้ใด
ก. พ่อขุนบานเมือง ข. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ค. พ่อขุนบางกลางหาว ง. พระเจ้าพรหมมหาราช
๓๖๒. ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ไทยขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง ดั่งที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ ถามว่า ทิศเหนือมีเมืองขึ้งเมืองอะไร
ก. เมืองแพร่ , น่าน , พลั่ว , ฝั่งโขงถึงหลวงพระบาง
ข. เมืองกำแพงเพชร , สองแดง , ลุมบาจาย
ค. เมืองฉอด , หงสาวดี , อ่าวเบงกอล
ง. เมืองสระหลวง , สองแดง , เพชนบุรี
๓๖๓. ลักษณะการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นลักษณะใด
ก. การปกครองแบบทหาร ข. แบบพ่อปกครองลูก
ค. การปกครองแบบกระจายอำนาจ ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
๓๖๔. “ พระองค์ทรงปราบปรามหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่ทำตามกระด้างกระเดื่องและยึดนครชัยปราการไว้ได้สำเร็จ และขยายอาณาเขตไปถึงหริภุญชัย เขลางกันทรและเชียงของ” ตามคำกล่าวนี้เป็นวีรกรรมของมหาราชพระองค์ใด
ก. พระเจ้าพรหมมหาราช ข. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ค. พ่อขุนเม็งรายมหาราช ง. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๓๖๕. พ่อขุนเม็งรายมหาราชได้ทรงโปรดให้ขนดินมาทำอิฐ เพื่อสร้างพุทธเจดีย์ขึ้นมา พุทธเจดีย์องค์นั้นมีชื่อว่าอะไร
ก. พระพุทธเจดีย์อู่ดำ ข. พระพุทธเจดีย์ลีลา
ค. ศุภนิมิตมงคล ง. ชัยปราการมงคล
๓๖๖. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระนามอีกพระนามหนึ่งว่าอะไร
ก. พระเอกาทศรส ข. พระสุพรรณเทวี
ค. พระยาศรีไสยณรงค์ ง. พระสรรเพชญ์ที่ ๒
๓๖๗. สมเด็จพระนเรศวรโปรดเกล้าให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งไว้ตรงที่กระทำยุทธหัตถีที่ตำบลอะไร
ก. ตำบลตระพังตรุ ข. ต. กุมกาม
ค. ตำบล เมืองน้ำพิงค์ ง. ต. เบี่ยง
๓๖๘. ช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใช้ฟันพระมหาอุปราช พระองค์ทรงพระราชทานนามว่าอะไร
ก. ก้านกล้วย ข. เจ้าพระยาปราบหงสาวดี
ค. เจ้าพระยาปราบศัตรูพ่าย ง. จาปะโร
๓๖๙. พระแสงของ้าว ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใช้ฟันพระมหาอุปราช พระองค์ทรงพระราชทานนามว่าอะไร
ก. พระแสงแสนพลพ่าย ข. พระแสงไร้ศัตรู
ค. พระแสงปราบศัตรู ง. พระแสงง้าวไร้พ่าย
๓๗๐.พระมาลาที่ทรงสวมใส่ ในขณะทำยุทธหัตถีและถูกพระมหาอุปราชฟันดดนพระมาลาไปนั้นมีพระนามว่าอะไร
ก. พระมาลาเบี่ยง ข. พระมาลาพลาด
ค. พระมาลาเศียร ง. พระมาลาไร้พ่าย
๓๗๑. วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงทำสงครามยุทธหัตถีตรงกับวันใดในปัจจุบันและกองทัพไทยถือว่าเป็นวันอะไร
ก. ๒๕ มกราคม วันกองทัพไทย
ข. ๑๕ มกราคม วันกองทัพไทย
ค. ๕ มกราคม วันกองทัพไทย
ง. ๕ ธันวาคม วันกองทัพไทย
๓๗๒. เพราะเหตุใดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงโปรดเกล้าให้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานี
ก. เกรงว่ากรุงศรีอยุธยาจะไม่ปลอดภัยจากฮอลันดา
ข. เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่เหมาะสม
ค. ต้องการย้ายเมืองหลวง
ง. เพื่อให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปอีก
๓๗๓. ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้จัดคณะทูตไปยังฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้ส่งผู้ใดไป
ก. เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ข. เจ้าพระยาโกษาธิบดี ( ปาน )
ค. พระเจ้าปราสาททอง ง. พระเอกาทศรส
๓๗๔. ในสงครามที่พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยึดทัพยึดเมืองจันทบุรี ทรงใช้วิธีอะไรในการปลุกใจทหาร
ก. มอบของกำนัลให้ ข. ปูนบำเหน็จให้
ค. สร้างความกดดันโดยการทุบหม้อข้าว ง. ไม่มีข้อถูก
๓๗๕. หลังจากกู้กรุงศรีอยุธยาแล้วพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปกรุงธนบุรีและขนานนามใหม่ว่าอะไร
ก. กรุงธนศรีนคร ข. กรุงธนบุรีศรีนคร
ค. กรุงธนบุรีศรีสมุทร ง. กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร
๓๗๖. ตำแหน่ง “ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” เป็นตำแหน่งของพระมหากษัตริย์พระองค์ใด ก่อนจะปราบดาภิเษกตนเอง
ก. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ข. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ค. พระยาวชิรปราการ
ง. หลวงพิชัยราชา
๓๗๗. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและสร้างราชธานีขึ้นใหม่ กับฝั่งตรงข้ามธนบุรีเนื่องจากเหตุผลใด
ก. ชัยภูมิเหมาะสมเนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองทั้ง ๒ ด้าน ป้องกันข้าศึกได้
ข. ข้าศึกประชิดเมืองลำบาก เนื่องจากติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ค. สามารถขยายเมืองสะดวก เนื่องจากมีที่ราบกว้างขวาง
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
๓๗๘. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงก่อสร้าง “ กรุงเทพมหานคร” เสร็จเมื่อใด
ก. พ.ศ. ๒๔๒๘ ข. พ.ศ. ๒๔๒๔
ค. พ.ศ. ๒๓๒๘ ง. พ.ศ. ๒๓๒๓
๓๗๙. ในรัชสมัยใดที่พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการปกครองเป็นรายกระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบและมีการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น ๑๘ มณฑล
ก. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ค. พระเจ้าตากสินมหาราช
ง. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
๓๘๐. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลิกทาสและเลิกไพร่ให้เป็นไทแก่ตัวจนหมดในวันที่เท่าใด
ก. ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ข. ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
ค. ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐
ง. ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
๓๘๑. สมเด็จพระปิยะมหาราชทรงโปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมรถไฟในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ และ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟใดเป็นสายแรก
ก. สายกรุงเทพ ฯ ข. สายอยุธยา
ค. สายสระบุรี ง. สายนครราชสีมา
วิชา อุดมการณ์ความรักชาติ
๓๘๒. สีของธงชาติประกอบด้วย สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน แต่ละสีหมายถึงสิ่งใด
ก. ชาติ ประชน ประชาธิปไตย ข. ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ค. ชาติ ประชาชน พระมหากษัตริย์ ง. ชาติ ศาสนา ประชาชน
๓๘๓. ภาระและหน้าที่ต่าง ๆ ในการดำรงซึ่งไว้เอกราชของชาติ
ก. รัฐบาล ข. เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ค. ประชาชน ง. ตำรวจและทหาร
๓๘๔. วันที่มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของบรรดาเหล่าทหารมหาดเล็กราชวัลลภและทหารรักษาพระองค์นั้น คือวันที่เท่าไร
ก. ๓ ธันวาคม ข. ๔ ธันวาคม
ค. ๕ ธันวาคม ง. ๖ ธันวาคม
๓๘๕. ข้อใดคือการแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองที่เหมาะสมที่สุด
ก. การใช้ระบอบประชาธิปไตยในการปกครองประเทศ
ข. แก้ไขปัญหาบ้านเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
ค. รวมใจเป็นหนึ่งเดียวในหมู่คนไทยด้วยกัน
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
๓๘๖. การที่ชาติไทยของเราจะอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้ จะต้องอาศัยสิ่งใดบ้าง
ก. การร่วมแรงร่วมใจด้วยพร้อมเพรียงกันของคนไทยทั้งปวง
ข. การที่แต่ละคนดำเนินการในกิจงานของตนเองอย่างตัวใครตัวมัน
ค. ร่วมมือกันเพื่อจุดมุ่งหมายบางประการ
ง. มีจุดมุ่งหมายและมีอคติร่วมกัน
๓๘๗. เหตุที่มักทำให้ความสามัคคีแตกแยกคือสิ่งใด
ก. บุคคลที่คิดถึงประโยชน์ส่วนตนยิ่งกว่าประโยชน์พวกพ้อง
ข. มีสิทธิที่จะล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย
ค. คนในชาติขาดสติในการดำรงตนอยู่ในประเทศชาติ
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
๓๘๘. พระบาทสมเก็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนา “กองเสือป่า” เมื่อใด
ก. พ.ศ. ๒๔๕๔ ข. พ.ศ. ๒๔๕๐
ค. พ.ศ. ๒๔๕๙ ง. พ.ศ. ๒๔๗๐
๓๘๙. “กองเสือป่า” ประกอบด้วยหน่วยงานใดบ้าง
ก. กองเสือป่าหลวง , กองเสือป่ารักษาดินแดน
ข. กองเสือป่ารักษาพระองค์ , กองเสือป่าชายแดน
ค. กองเสือป่าที่ ๑ , กองเสือป่าที่ ๒
ง. กองเสือป่าเยาวชน , กองเสือป่ารักษาพระองค์
๓๙๐. ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ รัฐบาลได้มีการฟื้นฟู การฝึกวิชาทหาร ตามแนวพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้การนำของใคร
ก. พลเอก ปงพิบูลย์สงคราม ข. พลโท ประยูร ภมรมนตรี
ค. ยุวชนทหาร สนิท พงษ์ภักดี ง. ร.อ.ถวิล นิยมเสน
๓๙๑. เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๖ รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ยุวชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๘๖ โดยกำหนดให้ “องค์กรยุวชนแห่งชาติ” ให้มีฐานะเป็นทบวงทางการเมือง อยู่ในบังคับบัญชาของผู้ใด
ก. จอมพล แปลก พิบูลย์สงคราม ข. พลโท ประยูร ภรมมนตรี
ค. ร.อ.ถวิล นิยมเสน ง. หลวงจรูญประศาสน์
๓๙๒. วีรกรรมของยุวชนทหารทางภาคใต้ ที่ได้ต้านทานกองทัพญี่ปุ่น เพื่อธำรงเอกราชและอธิปไตยไว้ และยุวชนทหารเสียชีวิต ๕ นาย ยุวชนเหล่านี้ได้เลื่อนยศเป็นยศชั้นใด
ก. พลทหาร ข. นายสิบ
ค. จ่านายสิบ ง. จ่าสิบเอก
๓๙๓. ญี่ปุ่นได้ส่งเรือรบและเรือลำเลียงยกทหารขึ้นบก ในจังหวัดใด
ก. ประจวบคีรีขันธ์ , สุราษฎร์ธานี , ชุมพร , นครศรีธรรมราช , สงขลา , ปัตตานี
ข. สมุทรสาคร , สมุทรสงคราม , จันทบุรี , นครศรีธรรมราช , ปัตตานี
ค. ยะลา , ปัตตานี , นราธิวาส , สงขลา
ง. ประจวบคีรีขันธ์ , สุราษฎร์ธานี , สมุทรสงคราม , สมุทรสาคร , จันทบุรี , ปัตตานี
๓๙๔. ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ พระบิดาแห่งกิจการรักษาดินแดน ได้พระราชทานกิจการเสือป่าขึ้น ในยุคนั้นมีทั้งหมดกี่กองพล
ก. ๑๐ กองพล ข. ๑๑ กองพล
ค. ๒๐ กองพล ง. ๒๑ กองพล
๓๙๕. หน่วยฝึกยุวชนทหารที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย อยู่ในความอำนวยการของหน่วยงานใด
ก. มณฑลทหารบกที่ ๑ ข. มณฑลทหารบกที่ ๒
ค. มณฑลทหารบกที่ ๓ ง. มณฑลทหารบกที่ ๔
๓๙๖. ก่อนที่จะมาเป็น “ กรมยุวชนทหารบก” แปรสภาพมาจากหน่วยงานใด
ก. แผนกฝึกที่ ๖ กรมจรเทหารบก ข. มณฑลทหารบกที่ ๑
ค. แผนกประสานงานที่ ๑ ง. แผนกฝึกฝนอบรมครูฝึก
๓๙๗. “กรมยุวชนทหารบก” เปลี่ยนชื่อใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นอะไร
ก. กรมจเรทหารบก ข. กรมเตรียมกองทหาร
ค. กรมเตรียมการทหาร ง. โรงเรียนรักษาดินแดน
๓๙๘. วีรกรรมของยุวชนทหาร ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ เช้ามืด ที่ จังหวัดชุมพร หน่วยยุวชนทหารที่จังหวัดชุมพร ได้เข้าขัดขวางภายใต้การนำของผู้ใด
ก. จอมพล แปลกพิบูลย์สงคราม ข. พลโท ประยูร ภมรมนตรี
ค. ร.อ.ถวิล นิยมเสน ง. หลวงจรูญ
๓๙๙. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ กรมเตรียมทหารได้ล้มเลิกลง และได้โอนกิจการตลอดจนเจ้าหน้าที่ และทรัพย์สินต่าง ๆ ในหน่วยงานใดต่อไป
ก. กรมจเรทหารบก ข. โรงเรียนรักษาดินแดน
ค. ฝ่ายสัมพันธ์มิตร ง. กรมสารวัตรทหาร
๔๐๐. วันที่เท่าไรที่กรมสารวัตรทหารแปรสภาพเป็น “กรมการรักษาดินแดน”
ก. ๑๘ ก.พ. ๒๔๙๑ ข. ๑๕ ก.พ. ๒๔๙๑
ค. ๑๓ ก.พ. ๒๔๙๑ ง. ๑๖ ก.พ. ๒๔๙๑
๔๐๑. ข้อใดเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ทหารเป็นคนดีมีคุณภาพหรือไม่
ก. คุณธรรม , จริยธรรม , มนุษยธรรม , สุนทรีภาพทางจิตใจ
ข. เครื่องหมายยศ , เครื่องหมายประดับ , ระดับขั้นเงินเดือน
ค. คุณธรรม , จริยธรรม , ผลงาน , ระดับขั้นเงินเดือน
ง. ระดับเงินเดือน , ขีดความสามารถ , เครื่องหมายพิเศษ , เครื่องหมายยศ
๔๐๒. คุณธรรมที่สนับสนุนจรรยาบรรณ ของทหารที่ดี เรียกว่าอะไร
ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
ค. ทศพิศราชธรรม ง. อิทธิบาท ๔
๔๐๓. คุณธรรมประเภทใด ที่ทำให้เกิดความกลัว อันเป็นปัจจัยสำคัญของคุณธรรมทหาร
ก. อิทธิบาท ๔ ข. เวสารัชชกรณธรรม ๕
ค. ทศพิศราชธรรม ๑๐ ง. ศีล ๕
๔๐๔. คุณธรรมประเภทใด ที่ทำให้ข้าราชการสุภาพมีน้ำใจ ตั้งใจบริการอย่างมีเหตุผล ปฏิบัติตนให้ทันทีศรัทธา ไม่หาประโยชน์ในราชการ
ก. อิทธิบาท ๔ ข. สังคหวัตถุ 4
ค. ศีล ๕ ง. เวสารัชชกรณธรรม ๕
๔๐๕. กฎระเบียบในหมู่สังคมมนุษย์ เรียกว่าอะไร
ก. ระเบียบ ข. ธรรม
ค. กรรม ง. วินัย
๔๐๖. กฎของธรรมชาติ คือสิ่งใด
ก. วินัย ข. ธรรม
ค. กรรม ง. ระเบียบ
๔๐๗. ข้อใดให้คำจำกัดความของคุณธรรม ( VIRTUE ) ได้ชัดเจนมากที่สุด
ก. มีลักษณะอันดีงาม ในจิตใจ ประพฤติดี ด้วยความรู้สึกในทางดีงาม
ข. มีลักษณะดีงาม ในรูปลักษณ์ ของการข่มใจตนเอง
ค. มีลักษณะดีงาม ในด้านวัตถุ ร่ำรวย ประพฤติตนตามใจฉันท์
ง. มีลักษณะดีงาม ในจิตใจ ประพฤติตัวตามสบาย ไม่คำนึงถึงผู้อื่น
๔๐๘. “ ประมวลความประพฤติ ที่ผู้ประคองอาชีพการงาน แต่ละอย่างกำหนดเพื่อรักษาและส่งเสริม เกียรติคุณ ชื่อเสียง อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” ตามคำกล่าวนี้เป็นนิยามของอะไร
ก. คุณธรรม ข. ระเบียบนัย
ค. จรรยาบรรณ ง. จริยธรรม
๔๐๙. “ บรรพบุรุษของไทยได้มีการสร้างสรรค์และหล่อหลอมมรดกทางปัญญาเข้าไว้เป็นวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และพัฒนาต่าง ๆ มา เป็นเวลาช้านาน” จากบทความดังกล่าวนี้เรารวมเรียกว่าอะไร
ก. อาริยธรรมของชาติไทย ข. ขนบธรรมเนียม , ประเพณี
ค. อุดมการณ์ความรักชาติ ง. เอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย
๔๑๐. ข้อใดแสดงให้เห็นถึง ความเป็นหนึ่งโดยมีอิสระในตัวเอง มากที่สุด
ก. เอกลักษณ์ของชนชาติไทย ข. เอกลักษณ์ความเป็นไท
ค. อุดมการณ์ความรักชาติ ง. วิถีดำรงเอกราช
๔๑๑. การเคารพธงชาติ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งใด
ก. ประเทศของเราเป็นประเทศเอกราช
ข. ความรักชาติ
ค. สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ง. ถูกทุกข้อ
๔๑๒. “ ความสำนึก ตระหนักในคุณของแผ่นดิน อันเป็นที่เกิดอาศัย ซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติกำเนิด และมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาประเทศชาติไว้อย่างอิสระและมั่นคง” จากบทความนี้ คือนิยามข้อใด
ก. รักชาติต้องรักสามัคคี ข. วิถีไทย
ค. เอกลักษณ์ความเป็นไท ง. ความจงรักภักดีต่อชาติ
วิชา การพัฒนาสังคมและชุมชน
๔๑๓. การรวมจิตใจ คือสิ่งที่มหาชนรักและหวงแหนร่วมกัน จนสามารถรวมจิตของเขาเข้าเป็นเอกภาพ
มี ๒ อย่างคืออะไร
ก. ศาสนา , เงินทอง ข. ชาติ , ประชาชน
ค. ชาติ , ศาสนา ง. เงินทอง , ความอยู่รอด
๔๑๔. ข้อใดบอกความหมายของหลักสิทธิมนุษยชน ได้เหมาะสมที่สุด
ก. ทุกคนมีอิสรภาพแห่งความคิด มโนธรรมและศาสนา
ข. ทุกคนมีสิทธิทำตามใจคิดได้อย่างอิสระ
ค. ทุกคนมีสิทธิคิดและทำได้ตามใจชอบ
ง. ทุกคนมีสิทธิที่จะคิดอย่างไร้ขอบเขต แต่ไม่มีสิทธิทำตามคิด
๔๑๕. แนวความคิดของนักคิดคนใดคนหนึ่งในเรื่อง กำเนิดความรู้ , ความจริงของโลก , ศิลปะและจริยศาสตร์ เรียกว่าอะไร
ก. สิทธิ ข. ศาสนา
ค. ปรัชญา ง. ประเพณี
๔๑๖. ความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นสิ่งประเสริฐแล้ว ประพฤติสั่งสอนสืบต่อกันมา เรียกว่าอะไร
ก. สิทธิ ข. ศาสนา
ค. ปรัชญา ง. ประเพณี
๔๑๗. องค์ประกอบของศาสนา แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. ๒ ประเภท ข. ๓ ประเภท
ค. ๔ ประเภท ง. ๕ ประเภท
๔๑๘. ข้อใดให้ความหมายของ “อภิปรัชญา” ได้อย่างถูกต้อง
ก. ความแท้จริงของสัจธรรม ข. ความแท้จริงของโลก
ค. ต้นกำเนิดความรู้ทั้งปวง ง. จารีตมหาชนนิยม
๔๑๙. ญาณวิทยา คือสิ่งใด
ก. ต้นกำเนิดความรู้ ข. ความแท้จริงของโลก
ค. ศิลปะ ง. จริยศาสตร์
๔๒๐. ศิลปะและจริยศาสตร์ เรียกอีกอย่างว่าอะไร
ก. ศาสตร์แห่งความงาม ข. สุนทรียศาสตร์
ค. สิ่งสวยงาม ง. ความดีงามถูกต้อง
๔๒๑. ผลของการศึกษาศาสนาก่อให้เกิดผลดีอย่างไรบ้าง
ก. เสริมสร้างคุณลักษณะผู้ปกครอง ข. สร้างสมรรถภาพในการทำงานที่ดี
ค. เข้าใจกับการประสานงานผู้อื่น ง. ถูกทุกข้อ
๔๒๒. เนื้อแท้ของศาสนา คืออะไร
ก. การสอนและอบรมผู้นับถือให้รู้จักปกครองผู้อื่นได้
ข. การสอนให้ผู้คนเป็นคนดี
ค. สอนให้ตัดสินผู้อื่น
ง. สอนและอบรมให้ผู้นับถือ รู้จักปกครองตนเองได้
๔๒๓. กำลังของมนุษย์ตามหลักศาสนามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. ๒ ประเภท กำลังกรรมดี , กำลังชั่ว
ข. ๒ ประเภท กำลังความดี , ความรู้
ค. ๒ ประเภท กำลังศรัทธา , ไม่ศรัทธา
ง. ๒ ประเภท กำลังกรรม , ธรรมะ
๔๒๔. ความจำเป็นของมนุษย์นอกจาก การกิน , นอน ยังมีอะไรอีก
ก. การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ข. ยารักษาโรค
ค. เครื่องนุ่งห่ม ง. ความเจริญทางวัตถุ
๔๒๕. การรวมกันระหว่างตัวเราและผู้อื่น ไม่ว่าจะรวมกันโดย ชาติ ศาสนา หรืออื่นใดก็ตามเรียกว่าอะไร
ก. ชาติ ข. ประเทศ
ค. สังคม ง. วัฒนธรรม
๔๒๖. การที่สังคมจะตั้งอยู่ได้และมีความสงบสุขนั้น เพราะมีปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร
ก. ความร่ำรวย ข. ความเจริญทางด้านจิตใจ
ค. ความเจริญทางวัตถุ ง. ความไว้วางใจ
๔๒๗. เราสามารถหาความไว้วางใจ ได้จากไหน
ก. ทั่วไปในสังคม ข. ตำราเรียน
ค. หลักธรรมของศาสนา ง. มาสามารถหาได้จากที่ใดเลย
๔๒๘. ข้อใดถือเป็นการผิดมารยาทต่อการติดต่อกับศาสนาต่างศาสนา
ก. นศท. ตูมตาม เข้าโบสถ์เพื่อประกอบพิธีตามหลักศาสนาคริสต์
ข. นศท. เห่ยศักดิ์ สนทนาวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาของผู้อื่น
ค. นศท. เย็นใจ ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ
ง. นศท. เบิกบาน สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน
๔๒๙. ข้อใดคือคำจำกัดความของ “ ศาสนิก” ที่ถูกต้องที่สุด
ก. คนที่นับถือสิทธิหรือศาสนาอย่างเดียวกัน
ข. คนที่นับถือศาสนาเดียวกันแต่แยกถิ่นฐานกันอยู่
ค. คนที่นับถือสิทธิศาสนาเดียวกัน มีศูนย์รวมทางจิตใจเดียวกัน
ง. ถูกทุกข้อ
๔๓๐. การนับถือศาสนาตลอดจนพิธีกรรม ทางศาสนาถือเป็นอะไรในชีวิตมนุษย์
ก. เสรีภาพของมนุษย์ ข. เอกลักษณ์ของมนุษย์
ค. วิถีชีวิตของมนุษย์ ง. วิธีการในชีวิตของมนุษย์
๔๓๑. หากในสังคมใดสังคมหนึ่ง ขาดศาสนาหรือไร้ซึ่งศาสนา จะส่งผลอย่างไร
ก. บ้านเมืองวุ่นวาย ข. เกิดความโกลาหล
ค. ชีวิตมนุษย์ขาดเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ง. ถูกทุกข้อ
๔๓๒. ผู้ที่มีความดี ๓ สถานะ คือข้อใด
ก. รูปสมบัติ , วิชาความรู้ , คุณธรรม ข. รูปสมบัติ , กำลังกาย , จริยธรรม
ค. กำลังกาย , กำลังใจ , ศีลธรรม ง. ความรู้ , เงินทอง , ความเห็นแก่ตัว
๔๓๓. ประเพณีส่วนใหญ่มักเกิดจากสิ่งใด
ก. ศาสนาและสิทธิความเชื่อ ข. ขนบธรรมเนียมที่สืบต่อกันมา
ค. ผู้บริหารของศาสนา ง. ตำราตามศาสตร์ต่าง ๆ
๔๓๔. ประเพณีสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยวิธีใด
ก. ความเชื่อของผู้นำทางศาสนา ข. ความเชื่อของคนหนึ่งคนใดในศาสนา
ค. ความเชื่อของคนส่วนมากในท้องถิ่น ง. ไม่มีข้อถูก
๔๓๕. หลักธรรมใดหมายถึงการทำงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ก. ปฏิรูปการี ข. อัตถการี
ค. อนัพยสนการี ง. อนากุลกัมมการี
๔๓๖. หลักธรรมใด หมายถึง การทำงานและสนองประโยชน์อย่างเหมาะสม
ก. ปฏิรูปการี ข. อัตถการี
ค. อนัพยสนการี ง. อนากุลกัมมการี
วิชา ยาเสพติด
๔๓๗. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของยาเสพติดที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ
ก. ต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้น
ข. มีความต้องการเสพอย่างรุนแรงตลอดเวลา
ค. สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจสดชื่น อารมณ์ดี
ง. เมื่อถึงเวลาเสพแต่ไม่ได้เสพ จะทำให้เกิดอาการขาดยา
๔๓๘. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งยาเสพติดตามลักษณะ
ก. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ข. แบ่งตามแหล่งกำเนิด
ค. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก
ง. แบ่งตามขนาดน้ำหนัก
๔๓๙. เฮโรอีน เป็นยาเสพติดตามพระราชบัญญัติให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดอยู่ในประเภทใด
ก. ประเภท 1 ข. ประเภท 2
ค. ประเภท 3 ง. ประเภท 4
๔๔๐. เฮโรอีน เป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. หลอนประสาท ง. ออกฤทธิ์ผสมผสาน
๔๔๑. กัญชาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. หลอนประสาท ง. ออกฤทธิ์ผสมผสาน
๔๔๒. ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมีประเภทใด
ก. โคเคน ข. แอลเอสดี
ค. แอมเฟตามีน ง. ดีเอ็มที
๔๔๓. ยาบ้าออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. ออกฤทธิ์ผสมผสาน ง. หลอนประสาท
๔๔๔. ข้อใดไม่ใช่อาการของผู้เสพยาบ้า
ก. อ่อนเพลีย ข. ประสาทตึงเครียด
ค. ใจสั่น ง. หัวใจเต้นเร็ว
๔๔๕. ยาบ้าเป็นยาเสพติดตามพระราชบัญญัติให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดอยู่ในประเภทใด
ก. ประเภท 1 ข. ประเภท 2
ค. ประเภท 3 ง. ประเภท 4
๔๔๖. กัญชาเป็นยาเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดอยู่ในประเภทใด
ก. ประเภท 2 ข. ประเภท 3
ค. ประเภท 4 ง. ประเภท 5
๔๔๗. บุหรี่ออกฤทธิ์ต่อจิตประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. หลอนประสาท ง. ออกฤทธิ์ผสมผสาน
๔๔๘. เอธิลแอลกอฮอล์ ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. หลอนประสาท ง. ออกฤทธิ์ผสมผสาน
๔๔๙. ฝิ่นออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. หลอนประสาท ง. ออกฤทธิ์ผสมผสาน
๔๕๐. มอร์ฟีนออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทใด
ก. กดประสาท ข. กระตุ้นประสาท
ค. หลอนประสาท ง. ออกฤทธิ์ผสมผสาน
๔๕๑. ข้อใดไม่ใช่วิธีสังเกตผู้ติดยาเสพติด
ก. ชอบมั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ข. ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยผิดปกติ
ค. อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่มีเหตุผล
ง. มีสมาธิมุ่งมั่นในการทำงาน
๔๕๒. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิด การติดยาเสพติด
ก. พ่อแม่ทะเลาะกันทุกวันให้ลูกเห็น
ข. พ่อแม่ไม่เข้าใจในตัวลูก
ค. มีเวลาให้กับลูกไปไหนไปกันทั้งครอบครัว
ง. ปัญหาทางการเงิน
๔๕๓. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบต่อการติดยาเสพติด
ก. สุขภาพทรุดโทรม ข. มีความขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอ
ค. เป็นอาชญากรถูกลงโทษตามกฎหมาย ง. เป็นที่เกียจคร้านทางสังคม
๔๕๔. ข้อใดไม่ใช่ระยะของการถอนยา
ก. ระยะมีอาการขาดยา ข. ระยะฝ่าฟันอุปสรรค
ค. ระยะพักผ่อน ง. ระยะปรับตัว
๔๕๕. เทคนิคการหยุดความคิดฟุ้งซ่าน ที่ใช้ได้ผลคือวิธีใด
ก. การสวดมนต์ ข. การพักผ่อน
ค. วิ่ง แอโรบิก ง. ฝึกการผ่อนคลาย
๔๕๖. การฟื้นฟูสภาพที่ป้องกันการกลับมาเสพยาอีก คือ
ก. ปรึกษาเพื่อน ข. รับประทานอาหารและน้ำให้มาก
ค. พักผ่อนให้มาก ๆ ง. หยุดความคิดทั้งหมดที่จะกลับไปเสพยา
๔๕๗. ข้อใดเป็นการป้องกันการติดยาเสพติดที่เริ่มต้นจากครอบครัว
ก. ช่วยกันสร้างความร่วมมือในการป้องกันยาเสพติด
ข. สร้างความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจในครอบครัว
ค. ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัด
ง. คบเพื่อนที่ดีไม่ชักชวนกันไปสู่อบายมุขและสิ่งเสพติด
๔๕๘. แนวทางการป้องกันยาเสพติดประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประเภท คืออะไร
ก. ตัวบุคคล – ยา – เพื่อน ข. ตัวบุคคล – ยา – การศึกษา
ค. ตัวบุคคล – สิ่งแวดล้อม - เพื่อน ง. ตัวบุคคล – ยา – สิ่งแวดล้อม
๔๕๙. วันต่อต้านยาเสพติดตามที่ ครม. กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับสหประชาชาติ คือข้อใด
ก. 26 พ.ค. ข. 26 มิ.ย.
ค. 26 ก.ค. ง. 26 ส.ค.
๔๖๐. ข้อใดไม่ใช่แนวความคิดที่กองทัพบกได้กำหนดการต่อสู้ เพื่อเอาชนะยาเสพติดด้วยการตัดวงจร
ก. การควบคุมตัวยาเสพติด ข. การแก้ปัญหาผู้ติดยาเสพติด
ค. การสนับสนุนการใช้ยาเสพติด ง. การป้องกันการติดยาเสพติด
--------------------------------------