แนวข้อสอบอนุกรม
คำสั่ง ในแต่ละข้อจะประกอบด้วยอนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จงเลือกคำตอบจากตัวเลือก ก-ง มาเติมลงในช่องว่างเพื่อให้ได้อนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อ งกันอย่างสมเหตุสมผลมากที่สุด
ข้อ 1. 2 3 1 6 4 3 3 36 6 3 5 90 8 3 7..........
(คล้ายข้อสอบ ก.พ.
ปี 48)
ก. 103
ข. 126
ค. 168
ง. 204
ตอบ ค.
ข้อนี้ให้เราสังเกตตัวเลขสูงๆ
ในโจทย์นะครับ ตัวอย่างเช่น 36 กับ 90 ว่าทำไมนะเลขสองตัวนี้ จึงมีค่าสูงผิดปกติกว่าตัวเลขอื่น
ต่อมาเราก็ลองเอาเลข 3 ตัว ที่อยู่ข้างหน้าของ 36 กับ 90 บวกหรือคูณกัน
เมื่อเราเอาคูณกัน 4*3*3 = 36 และ 6*3*5 = 90 ง่ายมั๊ยละครับ..
ดังนั้นจะได้ว่า
8*3*7 = 168 เป็นคำตอบนั่นเอง
ข้อ 2. 16 16 19 49 22 100 25 .......
(คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริม ฯ)
ก. 28
ข. 31
ค. 144
ง. 169
ตอบ ง.
ข้อนี้ให้เราสังเกตตัวเลขสูงๆ
เช่นกัน ตัวอย่างเช่น 100 กับ 49 เอ๊ะแปลกดีมันสลับกันอยู่กับเลขต่ำครับ
แล้วอยากบอก....บอกให้คุณรู้ซะเลยว่าเลข 49 คือ 72 หรือ 7*7 เสมอแน่ะ ดังนั้นเลข 100 ก็ต้องเป็น 102 = 10*10
แล้วจะได้คำตอบว่า 132 = 13 * 13 = 169 ขอให้สังเกตด้วยว่า
7, 10 และ 13 ห่างกันเท่ากับ 3 อย่างคงที่
ข้อ 3. 95 92 46 42 21 16 8 ......... (คล้ายข้อสอบ กทม.)
ก. 2
ข. 6
ค. 24
ง. 32
ตอบ ก.
อนุกรมในข้อนี้ตัวเลขลดลงเรื่อยๆ
ขอให้เราสังเกตว่า 95 กับ 92
มีค่าใกล้เคียงกัน (ลดลง) ทำนองเดียวกัน 46 กับ 42 ก็มีค่าใกล้เคียงกัน
(ลดลง 4) และ 21 กับ 16 ก็ลดลง 4
ดังนั้นตัวเลขถัดไปก็ต้องลดลงจาก
8 ลงอีก 6 จึงได้คำตอบที่ถูกต้องคือ 8 - 6 = 2 นั่นเอง
ข้อ
6. 1 1
1 5 2
2 3 8
4 3 6
12 7 4
10..........(คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 17 ข. 15
ค.13 ง.
11
ตอบ ก.
ข้อนี้ตัวเลขในอนุกรมสับสนปนกันหมดเลย แต่ไม่ยากหรอกน่า จะบอกเทคนิคให้ดังนี้ครับ
ให้หาตัวเลขสูงๆ ในอนุกรมซะก่อน จะพบว่าคือเลข 12 และ 8 ซึ่งเพิ่มขึ้น 4
เมื่อเราเลือกพิจารณาคำตอบจะได้
1 1
1 5
2 2 3 8
4 3 6 12 7
4 10 17
ข้อ 7. 148 74 80 40 46 23.......... (คล้ายข้อสอบ ก.พ. + ปปส.)
ก. 26
ข. 29
ค. 35
ง. 42
ตอบ ข.
อนุกรมข้อนี้เราจะเห็นชัดว่า 40 เป็นครึ่งของ 80 และ 74 เป็นครึ่งหนึ่งของ 148 รวมทั้ง 23 ก็เป็นครึ่งนึ่งของ 46 แต่อนุกรมข้อนี้ถามหาตัวเลขที่อยู่ถัดจาก 23 ต่างหาก
ซึ่งเราจะเห็นว่า ถัดจาก 74 ไปเป็น 80 เพิ่มขึ้น 6
ถัดจาก 40 ไปเป็น 46 เพิ่มขึ้น 6
ดังนั้นจะได้ว่าถัดจาก 23 เพิ่มขึ้นอีก 6 ไปเป็น 29 นี่เอง
ข้อ 8. 245 479 61013 81317 101621 .......(คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ + ธุรการ + การเงิน)
ก. 121925
ข. 121424
ค. 152125
ง. 151925
ตอบ ก.
ข้อนี้โจทย์แปลกดีนะ ตัวเลขเพิ่มขึ้นเร็วจังเลย
เราลองพิจารณาตัวเลขหน้าของ แต่ละชุดจะได้ดังนี้ 245 479 61013 81317 101621
......เลขตัวหน้าที่ได้คือ 2 4 6 8 10
ตัวเลขเพิ่มขึ้นทีละ
2 คงที่ ดังนั้นเลขตัวหน้าของคำตอบต้องเป็น 12 แน่นอนนั่นคือต้องตอบข้อ ก. หรือไม่ก็ข้อ ข. ส่วนเลขตัวกลางของเลขแต่ละชุดจะได้ดังนี้
245 479 61013 81317 101621
......ซึ่งเพิ่มขึ้นทีละ 3
ดังนั้นตัวเลขกลางของคำตอบคือ 19
นั่นเองเราก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องคือ 121925 นั่นเอง
ข้อ
9. 46 2 23 75 3 25 108 4 27
......(คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ + ตรวจคนเข้าเมือง)
ก. 200
ข. 145
ค. 21
ง. 5
ตอบ ข.
ข้อนี้ต้องดูที่ตัวเลขต่ำ ๆ
ที่แทรกอยู่บนอนุกรมจะง่ายกว่าคือ 2, 3 และ 4
จะได้ดังนี้ 46 2 23 75 3 25 108 4 27 .....
ซึ่งทำให้เราทราบว่า 46 เกิดจาก 3*25 และ 108 เกิดจาก 4*27 ดังนั้นคำตอบที่เราต้องการต้องเกิดจาก 5*29 นั่นเอง ซึ่ง
5*29 = 145
ข้อ 10. 2 5 6
4 7 9 8 12 54 32 .......(คล้ายข้อสอบ ก.พ.ปลัดอำเภอ)
ก. 64
ข. 76
ค. 19
ง. 18
ตอบ ค.
ข้อนี้แปลกตรงที่มีเลข 4,
8, 12 และ 32 เป็นตัวเลขลงแทรกอยู่ในอนุกรมดังนี้ครับ
2 5 6 4 7 9 8 12 54 32 .......จะได้ว่า 5 +7 = 12 และ 7 + 12 = 19
แนวข้อสอบอนุกรม
คำสั่ง
ในแต่ละข้อจะประกอบไปด้วยอนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จงเลือกคำตอบจากตัวเลือก
ก- ง มาเติมลงในช่องว่างเพื่อให้ได้อนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อ
งกันอย่างสมเหตุสมผลมากที่สุด
ข้อ 1. 4 2 8 14 24 46 .......... (คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ)
ก. 58
ข. 60
ค. 70
ง. 84
ข้อ 2. 1 4 2 6 6 8 15 10 .......... (คล้ายข้อสอบ ก.พ. + ปลัดอำเภอ)
ก. 12
ข. 16
ค. 31
ง. 41
ข้อ 3. 17 17 51 255 .......... (คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. 1,781
ข. 1,785
ค. 2,455
ง. 2,295
ข้อ 4. 3 5 8 14 29 71 .......... (คล้ายข้อสอบ กทม.)
ก. 123
ข. 145
ค. 162
ง. 194
ข้อ 5. 7 -9 16 -20 29 ..........
(คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. -33
ข. -35
ค. -37
ง. -39
ข้อ 6. 2 2 5 5 4 10 8 7 16 .........
(คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. 11
ข. 12
ค. 13
ง. 14
ข้อ 7. 6 10 18 29 51 76 .......... (คล้ายข้อสอบ กทม.)
ก. 126
ข. 156
ค. 112
ง. 99
ข้อ 8. 12 12 24 72 288 ..........
(คล้ายข้อสอบ กทม.)
ก. 1,240
ข. 1,440
ค. 1,420
ง. 1,480
ข้อ 9. 45 18 65 28 90 43 120 ..........
(คล้ายข้อสอบปลัดอำเภอ)
ก. 63
ข. 86
ค. 130
ง. 155
ข้อ 10. 3 2 7 5 4 21 7 6 43 ..........
(คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. 8
ข. 9
ค. 12
ง. 73
ข้อ 11. 6 42 7 9 72 8 12 108 9 15 .......... (คล้ายข้อสอบปลัดอำเภอ)
ก. 10
ข. 18
ค. 122
ง. 150
2XY
|
3X
|
3
|
ข้อ 12. 3X 2XY 2Y 1
1
………. (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
2Y
|
Y
|
ก. X
ข. 3
6XY
|
3Y
|
ค. X
ง. 1
ข้อ 13. 3 5 7 15 27 ..........
(คล้ายข้อสอบ กทม.)
ก. 35
ข. 42
ค. 47
ง. 49
ข้อ 14. 3 10 33 134 .......... (คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ)
ก. 671
ข. 691
ค. 792
ง. 797
ข้อ 15. 1 4 36 9 121 14 256 19 441 ..........
(คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 24
ข. 33
ค. 42
ง. 676
ข้อ 16. 33 49 63 75 .......... (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 65
ข. 71
ค. 69
ง. 85
ข้อ 17. 2 4 8 14 23 33 49 63 ..........
(คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. 14
ข. 25
ค. 88
ง. 91
99
|
63
|
35
|
15
|
3
|
ข้อ 18. 7 9 13 21 37 ......... (คล้ายข้อสอบปลัดอำเภอ)
143
|
44
|
ก. 69
ข. 69
143
|
ข้อ 19. 7 10 25 100 475 …....... (คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. 2,350
ข. 2,845
ค. 1,875
ง. 16
ข้อ 20. 4 29 7 93 12 253 19 ..........
(คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 278
ข. 302
ค. 562
ง. 581
เฉลย
1. ง
|
2. ค
|
3. ข
|
4. ง
|
5. ข
|
6. ก
|
7. ก
|
8. ข
|
9. ก
|
10. ข
|
11. ง
|
12. ข
|
13. ง
|
14. ก
|
15. ก
|
16. ง
|
17. ค
|
18. ข
|
19. ก
|
20. ง
|
ตีแผ่ข้อสอบคณิตศาสตร์ทั่วไป
คำสั่ง
ในแต่ละข้อจะประกอบด้วยโจทย์คณิตศาสตร์และตัวเลือก ก – ง ให้ศึกษาโจทย์ที่กำหนดแล้วคำนวณหาคำตอบโดยอาศัยความรู้พื้นฐานท
างคณิตศาสตร์
ข้อ 1. ลูกเต๋าลูกหนึ่งมีความยาวของเส้นขอบทุกด้านรวมกันเป็น 72 เซนติเมตร
อยากทราบว่าปริมาตรของลูกเต๋านี้เป็นกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 144
ข. 216
ค. 512
ง. 729
ตอบ ข.
อย่าลืมนะครับว่า....ลูกเต๋าแต่ละลูกประกอบด้วย
6 ด้านหรือ 6 หน้า ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะมีขอบด้านทั้งหมด 12 ขอบด้านด้วย
ทำให้ลูกเต๋าตามโจทย์จะมีด้านแต่ละด้านยาว = 72 =
6 เซนติเมตร
12
ดังนั้นปริมาตรของลูกเต๋า = ด้าน × ด้าน ×
ด้าน = 6 × 6 × 6
= 216 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข้อ 2. จงหาว่าเลขจำนวนเต็ม 2 จำนวนที่รวมกันได้ 60
และทำให้ผลคูณของเลข 2 จำนวนนี้มีค่าสูงสุดคือ
(คล้ายข้อสอบกรมส่งเสริมฯ)
ก. 50 กับ 10
ข. 45 กับ 15
ค. 40 กับ 20
ง. 30 กับ 30
ตอบ ง.
ก็ลองจับตัวเลขในตัวเลือกคูณกันดูซิจะรู้เองดังนี้ 50×10 = 500, 45×15
= 675,
40×20
= 800, 30×30 = 900 ดังนั้นเลข 2
จำนวนนี้คือ 30 กับ 30
ข้อ 3. ดำริต้องการแจกขนมให้เพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ถ้าเขาแจกให้เพื่อนคนละ 1 ชิ้น
จะเหลือขนมอยู่ 6 ชิ้นแต่ถ้าเขาแจกให้เพื่อนคนละ 2 ชิ้น จะมีเพื่อนที่ไม่ได้รับขนมอยู่ 2 คน
อยากทราบว่าดำริมีขนมทั้งหมดกี่ชิ้น (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 14
ข. 15
ค. 16
ง. 17
ตอบ ค.
ข้อนี้มีข้อน่าสังเกตว่าครั้งหลังดำริแจกขนมให้เพื่อนคนละ
2 ชิ้น
ดังนั้นขนมที่เขาก็ต้องมีอยู่ก็ต้องเป็นเลขคู่เท่านั้น
คำตอบข้อนี้คือข้อ ก. 14 หรือไม่ก็ข้อ ค.
16 นะครับ
สมมติว่าดำริมีขนมอยู่ 16 ชิ้น
และต้องมีเพื่อนนักเรียนอยู่ 10 คน (เนื่องจากแจกกันคนละชิ้น แล้วเหลือขนมอยู่ 6 ชิ้นนี่นา)
เมื่อดำรินำขนม
16 ชิ้นไปแจกกันคนละ 2 ชิ้น
จะแจกให้เพื่อนได้ทั้งหมด 16 ส่วน 12 = 8 คน แสดงว่ามีเพื่อนที่ไม่รับขนมอยู่ = 10 - 8 = 2 คน ตรงกับโจทย์เป๊ะเลย
ยังงั้นก็แสดงว่าดำริมีขนมอยู่ทั้งหมด 16 ชิ้น
ข้อ 4. สี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุอยู่ในวงกลมที่มีพื้นที่ 18 ตารางเซนติเมตร อยากทราบว่าสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มีความยาวด้านละกี่เซนติเมตร (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 3
ข. 3√2
ค. 6
ง. 6√2
ตอบ ค.
ข้อนี้แสดงว่า □ จัตุรัสวางอยู่ในวงกลม เป็นวงกลมที่มีพื้นที่ 18
ดังนั้น □ จัตุรัสที่ต้องการมีด้านยาวด้านละ = √2×18 = √36 = 6
เซนติเมตร..ง่ายจัง
ข้อ 5. พี่ขุดบ่อแห่งหนึ่งเสร็จใน 20 วัน น้องขุดบ่อเดียวกันเสร็จใน 12 วัน หากพี่ขุดไประยะหนึ่งแล้วหยุดปล่อยให้น้องขุดต่อคนเดียวจะใช้เว
ลาทั้งสิ้น 14 วันตั้งแต่พี่ลงมือขุด อยากทราบว่าพี่ขุดบ่ออยู่ก่อนแล้วกี่วัน (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 3
ข. 5
ค. 7
ง. 9
ตอบ
ข.กำหนดให้พี่ขุดบ่อคนเดียวใช้เวลา 20 วัน และน้องขุดบ่อคนเดียวใช้เวลา 12 วันจึงเสร็จ แล้วถามว่าพี่ขุดบ่ออยู่ก่อนแล้วกี่วัน ข้อนี้กล้วยมาก ๆ ครับก็เอาเวลาของพี่คือ 20 ตั้งไว้ซิแล้วเอาตัวเลขในตัวเลือกไปหารซะ เลขตัวไหนหาร 20 ลงตัว เป็นคำตอบ จะเห็นว่า 20 ส่วน 5 = 4 ลงตัวพอดี ดังนั้นพี่ขุดบ่ออยู่ก่อนแล้ว 5 วัน...อย่างง...นี่คือเทคนิค
ข้อ 6. ถ้า X มีค่าอยู่ระหว่าง
2 ถึง 9 และ Y มีค่าอยู่ระหว่าง
18 ถึง 54 อยากทราบว่า Y มีค่าระหว่างใด (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. 6 ถึง 9
ข. 6 ถึง 12
ค. 3 ถึง 9
ง. 2 ถึง 27
ตอบ ง.
ข้อ 9. กล่องผงซักฟอกขนาดใหญ่มีขนาด 40×25×7 ลูกบาศก์เซนติเมตร และกล่องผงซักฟอกขนาดเล็กมีขนาด 25×16×5 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ละกล่องจะมีผงซักฟอกอยู่เพียง 3 ของกล่อง
ถามว่าจะต้องซื้อผงซักฟอกแต่ละขนาดอย่างน้อยกี่กล่องจึงจะมีปริ มาตรเท่ากับ (คล้ายข้อสอบ ก.พ.)
ก. กล่องใหญ่ 1 กล่อง กล่องเล็ก 2 กล่อง ข. กล่องใหญ่ 2 กล่อง กล่องเล็ก 5 กล่อง
ค. กล่องใหญ่ 2 กล่อง กล่องเล็ก 9 กล่อง ง. กล่องใหญ่ 2 กล่อง กล่องเล็ก 7 กล่อง
ข้อ 10. ถ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่ง
ความยาวของด้านกว้างเพิ่มขึ้น 30% แต่ด้านยาวลดลง 10% ถามว่าพื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปดังกล่าวจะมีพื้นที่เพิ่มข
ึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ (คล้ายข้อสอบนายร้อยตำรวจ)
ก. 17
ข. 20
ค. 21
ง. 23
ตอบ ก.
ด้านกว้างเพิ่มขึ้น 30%
หมายถึง เดิมกว้าง 100 ใหม่กว้าง 130
ด้านยาวลดลง 10%
หมายถึง เดิมยาว 100 ใหม่ยาว 90
ดังนั้นพื้นที่เดิม = กว้าง×ยาว = 100×100 = 10,000
และพื้นที่ใหม่ = กว้าง×ยาว = 130×90 = 1,700
หลังจากนั้นเราก็เทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยให้เทียบเป็น 100 ดังนี้
พื้นที่เดิม =
10,000 พื้นที่ใหม่ = 11,700
พื้นที่เดิม = 100
พื้นที่ใหม่ = 11,700×100 = 117
ดังนั้นพื้นที่สี่เหลี่ยมดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น = 117 – 100 = 17% นั่นเอง
ข้อแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรการสอบภาค
ก.
วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์
และสรุปเหตุผล
ข้อสอบวิชานี้ใช้วัดความสามารถทางด้านความมีเหตุผล
ด้านตัวเลข และด้านภาษา
1. ความสามารถทางด้านความมีเหตุผล
(Reasoning)
แบบที่ 1 อุปมาอุปไมย
(Analogy)
ข้อสรุปรูปแบบนี้แต่ละข้อจะประกอบด้วยอุปมาอุปไมยที่ยังไม่สมบู
รณ์และตัวเลือก ก-ง ให้เลือกคำสองคำจากตัวเลือก ก-ง มาแทนเครื่องหมายคำถามของอุปมาอุปไมยที่ไม่สมบูรณ์นั้น
โดยคำแรกของตัวเลือกแทนเครื่องหมายคำถามแรก คำที่สองของตัวเลือกแทนเครื่องหมายคำถามหลัง
เมื่อแทนแล้วต้องทำให้อุปมาอุปไมยนั้นสมบูรณ์คือให้ความสัมพันธ
์เกี่ยวข้องของสองคำแรกสอดคล้องกับความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของสอ งคำหลัง
ตัวอย่าง ข้อ 01 อาหาร : ? : : ? : ดื่ม
ก. กิน น้ำ ข. หิว น้ำแข็ง
ค. หิว ข้าว ง. ชด น้ำหวาน
ตอบ ก. เพราะกินและน้ำ มาแทนเครื่องหมายคำถาม จะได้คำคู่แรกคือ อาหาร : กิน ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยสอดคล้องกับคำคู่หลังคือ น้ำ : ดื่ม
ข้อ 02 เสมียน : สถาปนิก : : ? : ?
ก. ธุรการ : บริหาร ข. ข้าราชการ : เอกชน
ค. จิตรกร : วาดรูป ง. หนังสือ : อาคาร
ตอบ ง. เพราะหนังสือและอาคาร
มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเสมียนและสถาปนิกมากที่สุด
ข้อ 03 ลำธาร : แม่น้ำ : : ? : ?
ก. ทะเล : เรือ ข. ลูกน้ำ : ยุง
ค. อ่าว : ฝั่ง ง. ตาราง : หมากรุก
ตอบ ข. เพราะลูกน้ำและยุง
มีความสัมพันธ์โดยสอดคล้องกับลำธารและแม่น้ำมากที่สุด
แบบที่ 2 การสรุปความ
(Inference)
ข้อสอบรูปแบบนี้จะประกอบด้วยเงื่อนไข
และในแต่ละข้อจะมีข้อสรุปที่ 1 และข้อสรุปที่ 2 ให้ศึกษาเงื่อนไขที่กำหนดให้ก่อน แล้วจึงอาศัยความรู้ที่ได้จากเงื่อนไขดังกล่าวมาพิจารณาข้อสรุป
ทั้งสองของแต่ละข้อ แล้วทำตอบลงในกระดาษคำตอบ โดยยึดหลักดังนี้
หลักในการทำตอบ
ตอบ ก. ถ้าข้อสรุปทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ ข. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ ค. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด
คือ ศึกษาจากเงื่อนไขแล้วไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นจริง หรือไม่เป็นจริง
ตอบ ง. ถ้าข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริง
หรือไม่เป็นจริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง
ตัวอย่าง ข้อ 01 – 03 ให้ใช้เงื่อนไขที่กำหนดให้ต่อไปนี้สำหรับการตอบคำถาม
เงื่อนไข
- นายกานต์ไม่สูบบุหรี่
- ญาติของนายธนูทุกคนสูบบุหรี่
- นายธนูไม่ได้เป็นทนายความ
- นายสมานญาติของนายธนูเป็นทนายความ
- นายชาติญาติของนายธนูเป็นตำรวจอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำถาม
ข้อ 01 ข้อสรุปที่ 1 นายกานต์เป็นญาติของนายธนู
ข้อสรุปที่ 2 นายสมานไม่สูบบุหรี่
ตอบ ข. เพราะข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
คือ จากเงื่อนไขที่ว่าญาติของนายธนูทุกคนสูบบุหรี่ แต่นายกานต์ไม่สูบบุหรี่
นายกานต์จึงไม่ใช่ญาติของนายธนูและนายสมานจึงต้องเป็นคนสูบบุหร
ี่เพราะเป็นญาติของนายธนู
ข้อ 02 ข้อสรุปที่ 1 ทนายความทุกคนสูบบุหรี่
ข้อสรุปที่ 2 ภรรยานายกานต์ไม่ชอบคนสูบบุหรี่
ตอบ ค. เพราะข้อสรุปทั้งสองดูจากเงื่อนไขแล้วไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นจริง
หรือไม่เป็นจริง เนื่องจากทนายความทุกคนอาจสูบบุหรี่ก็ได้
หรือบางคนอาจไม่สูบบุหรี่ก็ได้ และภรรยานายกานต์ก็เช่นกัน
เงื่อนไขไม่ได้บอกว่าชอบหรือไม่ชอบคนสูบบุหรี่
ข้อ 03 ข้อสรุปที่ 1 ภรรยานายชาติอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อสรุปที่ 2 ญาติบางคนของนายธนูรับราชการ
ตอบ ง. เพราะข้อสรุปที่ 1 ไม่แน่ชัดว่าเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงเพียงข้อสรุปเดียว
ส่วนข้อสรุปที่ 2 นั้นเป็นจริง ดังนั้นจะตอบ ก. หรือ ข. หรือ ค. ไม่ได้
ต้องตอบ ง.
แบบที่ 3 การสรุปความจากสัญลักษณ์
(Symbolic)
ข้อสอบรูปแบบนี้จะประกอบด้วยเงื่อนไข
ซึ่งอยู่ในรูปของตัวอักษรและเครื่องหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
= หมายถึง เท่ากับ ¹ หมายถึง ไม่เท่ากับ
ซึ่งอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า
> หมายถึง มากกว่า > หมายถึง ไม่มากกว่า
ซึ่งอาจเท่ากับหรือน้อยกว่า
< หมายถึง น้อยกว่า < หมายถึง ไม่น้อยกว่า
ซึ่งอาจเท่ากับหรือมากกว่า
£ หมายถึง น้อยกว่าหรือเท่ากับ ³ หมายถึง มากกว่าหรือเท่ากับ
และในแต่ละข้อจะมีข้อสรุปที่ 1 และข้อสรุปที่ 2 ให้ศึกษาเงื่อนไขที่กำหนดให้ก่อน
แล้วจึงอาศัยความรู้ที่ได้จากเงื่อนไขดังกล่าวมาพิจารณาข้อสรุป ทั้งสองของแต่ละข้อ
แล้วทำตอบลงในกระดาษคำตอบ โดยยึดหลักดังนี้
หลักในการทำตอบ
ตอบ ก. ถ้าข้อสรุปทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ ข. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ ค. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด
คือ ศึกษาจากเงื่อนไขแล้วไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นจริง หรือไม่เป็นจริง
ตอบ ง. ถ้าข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริง
หรือไม่เป็นจริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง
ตัวอย่าง ข้อ 01 – 03 ให้ใช้เงื่อนไขที่กำหนดให้ต่อไปนี้สำหรับการตอบคำถาม
เงื่อนไข
ถ้า P
> R = E < S
และ V > E < A > B (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
คำถาม
ข้อ 01 ข้อสรุปที่ 1 B > E
ข้อสรุปที่ 2 R ¹ A
ตอบ ก. เพราะข้อสรุปที่ 1 และข้อสรุปที่ 2 ถูกต้องเป็นจริงตามเงื่อนไข
ข้อ 02 ข้อสรุปที่ 1 P < B
ข้อสรุปที่ 2 S ¹ P
ตอบ ค. เพราะข้อสรุปทั้งสอง
ดูจากเงื่อนไขแล้วไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ข้อ 03 ข้อสรุปที่ 1 P > A
ข้อสรุปที่ 2 E ¹ P
ตอบ ง. เพราะข้อสรุปที่ 1 ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
ส่วนข้อสรุปที่ 2 สามารถสรุปได้ว่าเป็นจริงตามเงื่อนไข
แบบที่ 4 การสรุปเหตุผลเชิงตรรกวิทยา (Logic)
ข้อสอบรูปแบบนี้จะประกอบด้วย
2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 คือ
เงื่อนไขหรือข้อมูลที่กำหนดให้และส่วนที่ 2 คือ ข้อสรุป
ให้ศึกษาเงื่อนไขที่กำหนดให้
แล้วจึงอาศัยความรู้เฉพาะที่ได้รับจากข้อมูลมาใช้พิจารณาว่าข้อสรุปใดสอดคล้องตามข้อความข้างต้น
หรือข้อสรุปใดไม่สอดคล้องกับข้อความข้างต้น
ตัวอย่าง
ข้อ 01 ตรรกวิทยา คือวิชาว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล
ผู้ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากตรรกวิทยาทุกคนเป็นผู้มีเหตุผลทุกคน
ไม่เป็นผู้เข้าใจผิดง่าย ผู้เข้าใจผิดง่ายทุกคนเป็นผู้หาความสุขได้ยาก
ข้อใดสอดคล้องตามข้อความข้างต้น
ก. ผู้รู้จักใช้ประโยชน์จากตรรกวิทยาบางคนไม่เป็นผู้หาความสุขได้ย
าก
ข. ไม่มีผู้รู้จักใช้ประโยชน์จากตรรกวิทยาคนใดเป็นผู้เข้าใจผิดง่า
ย
ค. ไม่มีผู้หาความสุขได้ยากคนใดเป็นผู้มีเหตุผล
ง. ผู้มีเหตุผลทุกคนเป็นผู้รู้จักใช้ประโยชน์จากตรรกวิทยา
ตอบ
ข. เพราะตามข้อมูลข้างต้นวินิจฉัยได้ว่าผู้รู้จักใช้ประโยชน์จากตร
รกวิทยาทุกคนไม่เป็นผู้เข้าใจผิดง่าย
ข้อ 02 จากการศึกษาพบว่า
ถ้ารับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับ
จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง
ข้อใดสอดคล้องตามข้อความข้างต้น
ก. ถ้าระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของคนใดลดลง แสดงว่าคนนั้นรับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ
12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับ
ข. ถ้าคนไม่รับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับแล้วระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ใ
นเลือดจะไม่ลดลง
ค. ถ้าระดับคอเลสเตอรอลแลไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของคนใดไม่ลดลง
แสดงว่าคนนั้นไม่ได้รับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับ
ง. ถ้าตนใดไม่รับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับ ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของคนนั้นจะเพิ่มขึ้น
ตอบ ค. เนื่องจากตามข้อมูลที่ให้มา เราทราบว่า ถ้ารับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ
12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับ
จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง
เมื่อใช้หลักตรรกวิทยาแล้ว คำตอบในข้อ ค. คือ ถ้าระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของคนไม่ลดลง ดังนั้น
จึงสรุปได้ว่าเขาไม่ได้รับประทานกรดไลโนเลอิกในขนาดร้อยละ 12 ของแคลลอรี่ที่ควรได้รับ
1. ความสามารถทางด้านตัวเลข (Numerical)
แบบที่ 1 อนุกรม
ข้อสอบรูปแบบนี้ในแต่ละข้อ
โจทย์จะกำหนดอนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันให้ชุดหนึ่ง
แล้วให้หาตัวเลขจำนวนถัดไปมาเติมลงในช่องว่าง
เพื่อให้ได้อนุกรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมเหตุสมผ ลมากที่สุด
โดยเลือกจากตัวเลือก ก-ง แล้วทำตอบลงในกระดาษคำตอบ
ตัวอย่าง ข้อ 01 5 10 20 35 ….
ก. 45
ข. 50 ค. 55 ง. 60
ตอบ ค. เพราะ 55 เป็นตัวเลขที่ทำให้อนุกรมมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมเหต
ุสมผลมากที่สุด
ข้อ 02 9 13 22 38 63 ….
ก. 86 ข. 99 ค. 108
ง. 125
ตอบ ข. เพราะ 99 เป็นตัวเลขที่ทำให้อนุกรมมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมเหต ุสมผลมากที่สุด
แบบที่ 2 โจทย์คณิตศาสตร์
ข้อสอบรูปแบบนี้ในแต่ละข้อจะประกอบด้วยโจทย์คณิตศาสตร์ และตัวเลือก ก-ง ให้ศึกษาโจทย์ที่กำหนดให้แล้วคำนวณหาคำตอบ โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แล้วทำตอบลงในกระดาษคำตอบ
ตัวอย่าง ข้อ 01 ถ้าความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมวงหนึ่งเพิ่มขึ้น
100 เปอร์เซ็นต์
วงกลมที่เกิดขึ้นใหม่จะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 50 ข. 100
ค. 200 ง. 300
ตอบ ง. เพราะ 300% คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ข้อ 02 น้ำเกลือ 6 ลิตร ซึ่งมีความเข้มข้น 4% ถ้าทำให้ระเหยเป็นน้ำไปเสีย
1 ลิตร ดังนั้น น้ำเกลือที่เหลือจะมีความเข้มข้นกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 3 1/3
ข. 4 4/5 ค. 4 ง. 5
ตอบ ข. เพราะ 4
4/5% คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
แบบที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อสอบแบบนี้
จะประกอบด้วยข้อมูลชุดหนึ่ง ในรูปของตาราง แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ
และในแต่ละข้อจะมีคำถามกับตัวเลือก ก-ง
ให้ศึกษาข้อมูลที่กำหนดให้แล้วนำความรู้ที่ได้จากข้อมูลดังกล่า
วมาพิจารณาตอบคำถามของแต่ละข้อ แล้วทำตอบลงในกระดาษคำตอบ
ตัวอย่าง ข้อ 01–03 ให้ใช้ข้อมูลจากแผนภาพที่กำหนดให้ตอบคำถาม
ข้อ 01 ค่าใช้จ่ายสองประเภทใดที่รวมกันแล้วเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าใช้ จ่ายทั้งหมด
ก. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายเพื่อสังคมและเบ็ดเตล็ด
ข. ค่าที่พักอาศัยกับอุปการะผู้อื่น
ค. ค่านันทนาการกับใช้จ่ายส่วนตัว
ง. ค่าที่พักอาศัยกับใช้จ่ายส่วนตัว
ตอบ ง. เพราะค่าที่พักอาศัยกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวรวมกันได้
1,000 บาท ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งรวมกันได้ 2,000 บาท
ข้อ 02 ค่าใช้จ่ายในด้านนันทนาการเป็นร้อยละเท่าไรของค่าใช้จ่ายทั้งหม
ด
ก. 5
ข. 10 ค. 15 ง. 20
ตอบ ข. เพราะ 200 บาท เป็นร้อยละ 10 ของ 2,000 บาท
ข้อ 03 มุมที่จุดศูนย์กลางของส่วนที่เป็นที่พักอาศัย
โตเป็นกี่เท่าของส่วนที่เป็นออมทรัพย์
ก. 3
ข. 4 ค. 5 ง. 6
ตอบ ค.
เพราะมุมที่จุดศูนย์กลางของส่วนที่เป็นที่พักอาศัยเป็น
5 เท่าของมุมที่จุดศูนย์กลางของส่วนที่เป็นออมทรัพย์ ทั้งนี้
ดูได้จากค่าใช้จ่ายที่พักอาศัยเท่ากับ 500 บาท คิดเป็น
5 เท่าของค่าใช้จ่ายออมทรัพย์ ซึ่งเท่ากับ 100 บาท
1. ความสามารถทางภาษา
(Verbal)
ข้อสอบจะประกอบด้วยบทความและข้อคำถาม
ให้ศึกษาทำความเข้าใจกับบทความที่กำหนดให้ก่อน
แล้วจึงอาศัยความรู้ความเข้าใจจากบทความนั้น ๆ เป็นหลักในการทำตอบ
ตัวอย่าง จุดเด่นของประวัติศาสตร์อยู่ที่ข้อเท็จจริงและหลักฐาน
นักประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยหลักฐานในการวินิจฉัยประวัติศาสตร ์ หลักฐานในประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานชั้นต้นหมายถึงบันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเหตุการณ์หรื
อผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ป้อมปราการ เจดีย์
รูปปั้นและอื่น ๆ เป็นต้น หลักฐานชั้นรองหมายถึงบันทึกหลังที่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว เช่น
บันทึกเกี่ยวกับธุรกิจ คำบอกเล่าและอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม
หลักฐานทั้งสองประเภทนี้จะสำคัญมากน้อยเพียงไร
ผู้ใช้ย่อมต้องอาศัยหลักหลายประการเข้าประกอบในการชั่งน้ำหนักข องความจริง เช่น
ต้องพิจารณาถึงช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก
เพราะยิ่งบันทึกได้ทันเหตุการณ์มากเท่าไร ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้
นักประวัติศาสตร์ที่ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์
มีส่วนช่วยให้หลักฐานมีคุณค่ามากขึ้น
ดังนั้น
จึงเห็นได้ว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการประสานงานกันระ
หว่างหลักฐานและนักประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานแม้จะแน่นอนถูกต้องเพียงไร
ถ้านักประวัติศาสตร์ไม่นำมาใช้ก็หมดคุณค่าหรือไร้ความหมาย นักประวัติศาสตร์และหลักฐานจึงต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับซึ่ง
กันและกัน
ข้อ
01
บทความนี้เน้นถึงความสำคัญในเรื่องอะไรก. ข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์
ข. หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค. การวินิจฉัยประวัติศาสตร์
ง. ความสำคัญของประวัติศาสตร์
ตอบ ข. เพราะสรุปความสำคัญของข้อความที่กำหนดให้ ได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 02 ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่แน่นอนเชื่อถือได้
ข. นักประวัติศาสตร์มีความสำคัญมากกว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค. ประวัติศาสตร์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้
ง. หลักฐานชั้นรองส่วนใหญ่เชื่อถือไม่ได้
ตอบ ค. เพราะมีความหมายอย่างเดียวกับข้อความที่กำหนดให้
ข้อ 03 ที่ว่า “ นักประวัติศาสตร์และหลักฐานเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับซึ่งกันและก ัน” หมายความว่า
ก. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้สร้างหลักฐานขึ้น
ข. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้นำหลักฐานมาใช้
ค. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้ตีความหลักฐานในขณะที่หลักฐานให้ความจร ิงแก่ประวัติศาสตร์
ง. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้เห็นคุณค่าของหลักฐานในขณะที่หลักฐานช่ วยให้เกิดประวัติศาสตร์
ตอบ ค. เพราะมีความหมายอย่างเดียวกับข้อความที่กำหนดให้
วิชาภาษาไทย
ข้อสอบวิชาภาษาไทยใช้ทดสอบความรู้ความเข้าใจภาษาและความสามารถใ นการใช้ภาษาให้ถูกต้อง
1. ความเข้าใจภาษา (Comprehension) จะวัดความสามารถในด้านความเข้าใจภาษาไทย โดยสามารถสรุปความในรูปแบบต่าง ๆ จากข้อความสั้น ๆ หรือบทความได้
แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นข้อความสั้น ๆ จงอ่านข้อความที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามโดยพิจารณาเลือกตัวเลือก ก, ข, ค, หรือ ง ที่ถูกต้องที่สุด
- การสรุปความ
ข้อ 01 เสียงของคำเพี้ยนและกลายได้ ความหมายก็เพี้ยนและกลายได้ทำนองเดียวกัน เพราะเสียงและความหมายเป็นของคู่กัน ถ้าแยกกันแต่ละส่วนก็ไม่เป็นคำพูดในภาษา เพราะมีแต่เสียงอย่างเดียวก็เป็นเสียงที่ปราศจากความหมาย ถ้ามีแต่ความหมายก็เป็นแต่ความในใจ เมื่อไม่เปล่งเสียงออกมาก็ไม่มีใครทราบ ข้อความนี้สรุปว่าอย่างไร
ก. ทั้งเสียงและความหมายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
ข. ความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายอยู่ที่การสื่อสาร
ค. การสื่อสารด้วยเสียงที่มีความหมายเป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์ที่ส ุด
ง. ในการสื่อสารต้องใช้ทั้งเสียงและความหมายประกอบกันจึงจะเข้าใจไ ด้
ตอบ ง. เพราะสรุปความสำคัญของข้อความที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 02 พินัยกรรมคือคำสั่งแสดงความตั้งใจสุดท้ายที่จะยกทรัพย์สินหรือว างข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว
ข้อความนี้สรุปว่าอย่างไร
ก. พินัยกรรมคือเอกสารแสดงเจตนาในเรื่องทรัพย์สินซึ่งถูกต้องตามกฎ หมาย
ข. พินัยกรรมคือบรรดาทรัพย์สินทั้งปวงที่ผู้ตายได้มอบไว้แก่ผู้รับ ตามที่กำหนด
ค. พินัยกรรมคือเอกสารแสดงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับทรัพย์สินของผู ้ตายตามที่ระบุไว้
ง. พ ินัยกรรมคือมรดกที่ผู้ตายได้มอบไว้ให้แก่ผู้รับตามเงื่อนไขที่ไ ด้ระบุไว้ทุกประการ
ตอบ ก. เพราะสรุปความสำคัญของข้อความที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 03 จากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ ปรากฏว่า ในประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงสี่คน จะมีอยู่คนหนึ่งที่ออกเสียงเลือกตัวบุคคลโดยไม่คำนึงถึงพรรค หากเขาพิจารณาแล้วว่าบุคคลนั้นเหมาะสมกับหน้าที่ผลจากการสำรวจส รุปว่าอย่างไร &nb sp;
ก. ประชากรส่วนใหญ่นิยมเลือกตัวบุคคลมากกว่าพรรค
ข. ผู้มีสิทธิออกเสียงจะมีแนวทางการตัดสินใจในทำนองเดียวกัน
ค. ผู้ออกเสียงส่วนใหญ่ไม่นิยมเลือกพรรคที่มีบุคคลไม่เหมาะสม
ง. ความสามารถของผู้สมัครเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการช่วยให้ผู้อ อกเสียงตัดสินใจเลือก
ตอบ ง. เพราะสรุปความสำคัญของข้อความที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด
- การหาความหมาย
ข้อ 01 ความคิดเรื่องสหกรณ์นี้เป็นความคิดแบบสังคมนิยมโดยแท้ แต่การสหกรณ์ก็มีผู้นำไปใช้ได้ผลดีในเศรษฐกิจแบบนายทุนนั้นหลาย แห่ง ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร
ก. สหกรณ์เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและแบบนายทุนด้วย
ข. สหกรณ์เป็นอุดมคติของสังคมนิยม แต่ใช้ได้ไม่เหมาะสมกับประเทศแบบทุนนิยม
ค. สหกรณ์เป็นอุดมคติทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แต่บางประเทศแบบทุนนิยมก็ใช้ได้ผลดี
ง. สหกรณ์เป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสังคมนิยม แต่ขัดกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ตอบ ค. เพราะมีความหมายอย่างเดียวกับข้อความที่กำหนดให้
ข้อ 02 ห้ามมิให้มีคนทำงานในที่ที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เป็นเวลานาน 8 ชั่วโมง ใน 5 วันของสัปดาห์ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร
ก. ในที่ที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบล คนงานจะทำงานเกินกว่า 8 ชั่วโมงไม่ได้
ข. คนงานจะทำงาน 8 ชั่วโมง ใน 5 วัน ในที่ที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลไม่ได้
ค. คนงานจะใช้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ติดต่อกันถึง 5 วัน ในที่ที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลไม่ได้
ง. ในหนึ่งสัปดาห์คนงานสามารถทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ในที่ที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลได้ไม่เกิน 2 วัน
ตอบ ค. เพราะมีความหมายอย่างเดียวกับข้อความที่กำหนดให้
ข้อ 03 มติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราช การว่าให้สั่งบรรจุย้อนหลังไปได้ไม่ก่อนวันที่ผู้นั้นได้รายงาน ตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร
ก. คณะรัฐมนตรีมีมติไม่ให้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการย้อนหลัง
ข. คณะรัฐมนตรีให้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการย้อนหลังได้ในบางกรณี
ค. คณะรัฐมนตรีให้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการในวันที่มารายงานตัวเข้า รับราชการได้
ง. คณะรัฐมนตรีมีมติไม่ให้บรรจุบุคคลที่มารายงานตัวเข้ารับราชการก ่อนมาปฏิบัติราชการ
ตอบ ค. เพราะมีความหมายอย่างเดียวกับข้อความที่กำหนดให้
- การตีความ
ข้อ 01 ผงซักฟอกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีผลทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะว่ามีสารอาหารที่เป็นปุ๋ยของพืช แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียในระยะหลัง เพราะว่าพืชจะดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการหายใจข้อความนี้ตีความ ว่าอย่างไร
ก. ผงซักฟอกมีส่วนทำให้น้ำเสีย
ข. พืชน้ำเจริญเติบโตได้ดีในที่ ๆ น้ำเสีย
ค. ผงซักฟอกให้ประโยชน์แก่มนุษย์ได้หลายอย่าง
ง. พืชน้ำจะไม่ใช้ออกซิเจนในอากาศมาปรุงอาหาร
ตอบ ก. เพราะตีความจากข้อความที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 02 ประตูสามยอดเป็นประตูกำแพงเมืองซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 5 โดยสร้างเป็นประตูสามช่อง มียอดทั้งสามช่อง ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็พากันเรียกประบั้นท้ายังกล่าวว่า “ประตูสามยอด” ข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร
ก. ชาวบ้านเป็นผู้สร้างประตูกำแพงเมือง
ข. ประตูกำแพงเมืองนิยมสร้างให้มียอดเสมอ
ค. “ประตูสามยอด” ได้ชื่อจากลักษณะการสร้าง
ง. เริ่มมีการสร้างประตูกำแพงเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5
ตอบ ค. เพราะตีความจากข้อความที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 03 สมัยก่อนไม่ปรากฏเรื่องปัญหาภาวะแวดล้อมเป็นพิษ เพราะคนน้อยข้อความนี้ตีความว่าอย่างไร
ก. ภาวะแวดล้อมเป็นพิษก่อให้เกิดอันตรายกับคน
ข. คนเป็นต้นเหตุของปัญหาภาวะแวดล้อมเป็นพิษ
ค. สมัยก่อนปัญหาภาวะแวดล้อมเป็นพิษเกิดขึ้นน้อย
ง. สมัยก่อนมีคนจำนวนน้อยที่ก่อปัญหาภาวะแวดล้อมเป็นพิษ
ตอบ ข. เพราะตีความจากข้อความที่กำหนดให้ได้ถูกต้องที่สุด
แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นบทความ
จงอ่านบทความที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามในแต่ละข้อ โดยพิจารณาเลือกตัวเลือก ก, ข, ค หรือ ง ที่ถูกต้องที่สุด ทั้งนี้ ให้ยึดเนื้อความในบทความเป็นหลัก
ตัวอย่าง หนังสือหรือข้อเขียนใด ๆ คือสิ่งที่มนุษย์เขียนขึ้น การเขียนจึงหมายถึงสิ่งที่มนุษย์คิดออกมาเป็นตัวอักษร มนุษย์เขียนอะไร คำตอบคือ มนุษย์เขียนสิ่งที่ตนรู้หรือคิด ถ้าเช่นนั้น การอ่านคืออะไร การอ่านคือความพยายามที่จะถ่ายทอดสิ่งที่มนุษย์เขียนไว้กลับออก มาเป็นความคิด เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมเห็นว่าการอ่านกับการเขียนเป็นของ คู่กัน มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
อย่างไรจึงจะเรียกว่า อ่านดี หรือ เขียนดี เรื่องนี้นักปราชญ์ทางภาษาได้ให้ทรรศนะไว้ว่า “ผู้เขียนแสดงความคิดอย่างไร ผู้อ่านก็ได้ความคิดอย่างนั้น เอนเอียงไปตามนั้น หรือปฏิบัติตามนั้น” อย่างนี้เรียกว่า เขียนดี และ “ผู้เขียนแสดงความคิดอย่างไร ผู้อ่านเข้าใจได้หมด รู้เท่าทันทุกความคิด แต่ผู้อ่านมีความคิดเป็นของตนเอง รู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ เลือกรับแต่ความคิดที่เป็นประโยชน์ ขจัดความคิดที่ไร้สาระออกไป เพราะอ่านอย่างมีวิจารณญาณ” อย่างนี้เรียกว่า อ่านดี
ข้อ 01 สาระสำคัญของบทความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร
ก. การเขียนหนังสือ &nb sp; &nb sp; &nb sp; &nb sp; ข. การเป็นนักอ่านที่ดี
ค. การเขียนกับการอ่าน ง. การอ่านขั้นใช้วิจารณญาณ
ตอบ ค. เพราะตอบคำถามได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 02 การเขียนดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร
ก. ภาษาที่ใช้สละสลวยและเข้าใจง่าย
ข. ความคิดที่แสดงออกมาทันสมัยและเป็นจริง
ค. ผู้เขียนใช้เหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการเขียน
ง. ผู้อ่านเข้าใจความหมายของข้อเขียนได้ตรงกับที่ผู้เขียนต้องการ
ตอบ ง. เพราะตอบคำถามได้ถูกต้องที่สุด
ข้อ 03 ที่กล่าวว่า “อ่านดี” หมายความว่าอย่างไร
ก. อ่านเอาจริงเอาจัง & nbsp; & nbsp; & nbsp; ข. อ่านแล้วได้ความรู้และความคิด
ค. อ่านแล้วมีความรู้สึกคล้อยตาม &n bsp; ง. เลือกอ่านเฉพาะบางตอนที่ดีและมีสาระ
ตอบ ข.
ข้อ 04 ผู้เขียนมีความประสงค์จะเน้นสิ่งใด
ก. การเขียนและการอ่านที่ดี & nbsp; & nbsp; & nbsp; ข. ความสามารถในการเขียนและการอ่าน
ค. ความสัมพันธ์ระหว่างการเขียนกับการอ่าน ; ง. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนที่ดีกับผู้อ่านที่ดี
ตอบ ก.
1. การใช้ภาษา (Expression)
จะวัดความสามารถในการใช้ภาษา โดยสามารถพิจารณาใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ คำหรือกลุ่มคำ ประโยค หรือข้อความสั้น ๆ รวมทั้งสามารถเรียงลำดับข้อความได้ถูกต้อง แนวคำถามการเลือกใช้คำที่ถูกต้องเติมลงในช่องว่าง
จงอ่านข้อความที่กำหนดให้ แล้วพิจารณาเลือกตัวเลือก ก, ข, ค หรือ ง เติมในช่องว่างให้ถูกต้องตามหลักภาษา และให้มีความหมายสอดคล้องกับข้อความที่กำหนดให้นั้น
ข้อ 01 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศ………. นโยบายทางด้านสินเชื่อของประเทศเพื่อช่วยให้การส่งออกผลิตผลทาง อุตสาหกรรมขยายตัว
ก. ผ่อนผัน ; ข. ลดหย่อน ; ค. ผ่อนคลาย &nbs p; ง. ปลดเปลื้อง
ตอบ ค. เพราะ “ผ่อนคลาย” เป็นชนิดของคำที่เติมลงในช่องว่างได้ถูกต้องและมีความหมายสอดคล ้องกับข้อความ ที่กำหนดให้
ข้อ 02 ตบะในพุทธศาสนา หมายถึง ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ตัดความกังวลในการแสวงหาสิ่งปรนเปรอความสุขให้……….เท่าที่จำเป็ นแก่การดำรงชีวิต
ก. เหมาะสม ; ข. เพียงพอ ; ค. เหลือเพียง &n bsp; ง. พอประมาณ
ตอบ ค. “เหลือเพียง”
ข้อ 03 ข้อเรียกร้องทั้ง 8 ข้อนี้ สามารถตกลงได้ 7 ข้อเท่านั้น………. ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงกำหนดราคาข้าวขั้นต่ำขึ้นใ หม่
ก. ยกเว้น ข. นอกจาก ค. กล่าวคือ &nbs p; ง. โดยเฉพาะ
ตอบ ก. “ยกเว้น”
ข้อ 04 ตามหลักภาษาไทยถือว่าเมื่อ “การ” นำหน้ากริยาและ “ความ” นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์ จะได้คำประสมเป็นคำนาม หรือจะเรียกให้ชัดลงไปอีกก็ว่าอาการนามนับว่าคำทั้งสองนี้สำคัญ มาก สามารถ……….ชนิดของคำในไวยากรณ์ได้
ก. ระบุ &n bsp; &n bsp; ข. กำหนด & nbsp; ค. เปลี่ยน ; ง. แยกประเภท
ตอบ ค. “เปลี่ยน”
ข้อ 05 ใครจะสมมติเรียกสิ่งใดว่าอะไรก็ได้ทั้งสิ้น……… อยู่ที่ว่าภาษาที่ใช้นั้นสามารถเป็นสื่อติดต่อระหว่างผู้พูดกับ ผู้ฟัง หรือผู้เขียนกับผู้อ่านได้หรือไม่เพียงไรเท่านั้นเอง
ก. สาเหตุ ข. ผลลัพธ์ ; ค. ปัจจัยสำคัญ & nbsp; ง. ความสำคัญ
ตอบ ง. “ความสำคัญ”
แนวคำถามการเขียนประโยคให้ถูกต้อง
แบบที่ 1 ในแต่ละข้อจงพิจารณาข้อความในแต่ละตอนที่มีตัวเลือก ก, ข, ค หรือ ง กำกับอยู่หน้าข้อความ แล้วเลือกตอบว่าข้อความตอนใดใช้ไม่รัดกุมหรือไม่ถูกต้อง
ข้อ 01 (ก) กลองเป็นของสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับบ้านเมือง / (ข) ใช้เป็นหลักสำหรับบอกให้รู้เวลา / (ค) ในสมัยที่ยังไม่มีนาฬิกาใช้กันทั่วไป / (ง) ต้องอาศัยกลองเป็นสัญญาณ
ตอบ ข. เพราะกลองไม่ได้ใช้เป็นหลักสำหรับบอกให้รู้เวลา ดังนั้น “ใช้เป็นหลัก” ในตัวเลือก ข. จึงเป็นกลุ่มคำที่ใช้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาและไม่สอดคล้องกับข้ อความ
ข้อ 02 (ก) ที่เรียกว่าฉันทลักษณ์ ด้วยมีความประสงค์ / (ข) ให้มีชื่อตรงกันกับไวยากรณ์ในภาษาบาลี / (ค) ที่ท่านจำแนกไว้เป็นอักขรวิธี วจีภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ / (ง) ซึ่งไวยากรณ์ในภาษาไทยเราได้อิงอาศัยมาสร้างขึ้นไว้เป็นหลัก
ตอบ ง. เพราะกลุ่มคำ “อิงอาศัย” ในตัวเลือก ง. ใช้ไม่รัดกุมและไม่ถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 03 (ก) คำว่าจราจร ใช้กันแพร่หลายเมื่อทางราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจราจรทา งบก พ.ศ. 2477 / (ข) เพื่อจัดระเบียบการเดินของยวดยาน ตลอดจนการเดินทางเท้าของคนและจ๋าจ๊ะตามถนน / (ค) สำหรับประสานงานกันด้วยความปลอดภัยและรวดเร็วตามสมควร / (ง)และพร้อมกันนี้ก็ได้ตั้งตำรวจแผนกจราจรขึ้น
ตอบ ค. เพราะกลุ่มคำ “สำหรับประสานงานกัน” ในตัวเลือก ค. ใช้ไม่รัดกุมและไม่ถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 04 (ก) วงดนตรีที่เรียกว่าขับไม้ เป็นวงดนตรีโบราณของไทย / (ข) ที่ถือกันว่าเป็นของสูงศักดิ์อย่างหนึ่ง / (ค)จะมีได้ก็แต่ของหลวงเท่านั้น / (ง) แม้แต่งานของหลวงที่จะบรรเลงด้วยวงขับไม้ก็ต้องเป็นงานสมโภชชั้ นสูง
ตอบ ข. เพราะ “วงดนตรีไม่ใช่ของสูงศักดิ์” ดังนั้น ของสูงศักดิ์ ในตัวเลือก ข. จึงเป็นกลุ่มคำที่ใช้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาและไม่สอดคล้องกับข้ อความ
แบบที่ 2 ในแต่ละข้อ จงพิจารณาคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้ และมีตัวเลข 1, 2 หรือ 3 กำกับอยู่ แล้วเลือก
ตอบ ก. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้ทั้ง 3 กลุ่ม ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ตอบ ข. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกุล่ม 1 และกลุ่ม 2 ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ตอบ ค. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม 1 และกลุ่ม 3 ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ตอบ ง. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 01 การยิงปืนเพื่อแสดงความเคารพนั้น เราเรียกว่ายิงสลุต การยิงสลุตเป็นการ
(1)
แสดงความเคารพให้แก่
ชาติหรือบุคคล
จำนวนนัดที่ยิงก็มีเกณฑ์ตามควรแก่เกียรติยศของผู้หรือสิ่งที่ควรรับการเคารพ
(2)
(3)
ตอบ ก. เพราะคำและกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้ทั้ง
3 กลุ่ม ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 02 อัตวิสัย หมายถึง เรื่องหรือภาพของสิ่งทั้งหลายที่ผู้เขียนอาจนำมาใช้เป็นเค้าโครงโดยวิธีนึกหรือ
(1)
(2)
คิดเห็นในใจ
ภววิสัย เป็นภาพที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน
(3)
ตอบ ก. เพราะคำและกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้ทั้ง
3 กลุ่ม ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 03 นักประพันธ์ควรเขียนเรื่องที่แนะให้คนได้คิด
นักเขียนหลายคนหนีความจริง โดยที่
(1)
(2)
สร้างโลกขึ้นใหม่
โดยการไม่ยอมรับสภาพชีวิตจริง ทำให้ผู้อ่านพลอยหนีโลกแห่งความจริงไปด้วย
(3)
ตอบ ค. เพราะคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม
1 และกลุ่ม 2 เท่านั้นที่ใช้ได้รัดกุม
และถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 04 คณะกรรมการพิจารณาแก้ปัญหาสะพานกรุงเทพลงมติอนุญาตให้รถบรรทุกผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
(1)
ได้ในช่วงเวลาระหว่าง
10.00-15.00 น. เพื่อผ่อนคลาย ความชำรุดของสะพานที่กำลังทรุดโทรมอย่างมาก
(2)
(3)
ตอบ ค. เพราะคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม
1 และกลุ่ม 3 เท่านั้นที่ใช้ได้รัดกุม และถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 01 ก. รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำปราศรัยต่อนิสิตนักศึกษา
ข. ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมต่อสังคม
ค. กระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่าข่าวดังกล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริ ง
ง. ศูนย์บริการประชาสัมพันธ์เสนอข่าวไม่ทันต่อเหตุการณ์และไม่เห็น ความสำคัญกับประชาชน
ตอบ ค. เพราะเป็นประโยคที่มีกลุ่มคำ “คลาดเคลื่อนจาก” ที่ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 02 ก. รถนำเที่ยวสมัยใหม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมเพรียง
ข. เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยให้งานบ้านบางอย่างเสร็จสิ้นในเวลาอันรวดเร ็ว
ค. ผู้จะออมเงินควรศึกษาติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินให้เข้ มงวด
ง. การดูแลรักษาอย่างดีจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานได้อย่างมีสมร รถภาพ
ตอบ ข. เพราะเป็นประโยคที่ใช้คำขยาย “ในเวลาอันรวดเร็ว” ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 03 ก. ประชาชนมาชุมนุมกันอย่างแน่นหนา
ข. เขาใช้เหตุผลเป็นมาตรการในการตัดสินใจ
ค. ชาติไทยเราเป็นชาติเก่าแก่มาแต่ดั้งเดิม
ง. ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด
ตอบ ง. เพราะเป็นประโยคที่เรียงคำถูกต้องและใช้ได้รัดกุมถูกต้องตามหลั กภาษา
ข้อ 04 ก. การพัฒนาสังคมมีความสำคัญกับภาวะการครองชีพของประชาชน
ข. การสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งจำเป ็น
ค. ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันในความสงบสุขของบุคคลในสังคม
ง. ปัญหาสำคัญสำหรับการศึกษาคือ ทำอย่างไรจึงจะมีโรงเรียนเพียงพอต่อนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี
ตอบ ข. เพราะเป็นประโยคที่มีกลุ่มคำ “ให้แก่” ที่ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
แนวคำถามการเรียงลำดับข้อความให้ถูกต้อง
จงพิจารณาข้อความในตัวเลือก ก, ข, ค หรือ ง ว่าข้อความใดเป็นลำดับที่ 1, 2, 3 หรือ 4 แล้วจึงตอบคำถามของแต่ละข้อ
ข้อ 01 ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
ก. หรือไม่ทราบผลร้ายที่เกิดขึ้นตามมาภายหลัง
ข. ถ้าหากไม่กระทำสิ่งเหล่านั้นก็เพราะไม่ทราบวัตถุประสงค์
ค. โดยยึดข่าวสารข้อมูลที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมประกอบการนั้น ๆ
ง. ทฤษฎีสมองกลถือว่าคนเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมักจะทำอะไรอย่างมีจุดห มาย
ตอบ ข. เพราะจะเรียงได้ดังนี้ ง-ค-ข-ก
ข้อ 02 ข้อความใดเป็นลำดับที่ 4
ก. และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมิใช่น้อย
ข. แต่การเพิ่มปริมาณการใช้วัคซีนในช่วงเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา
ค. สะท้อนให้เห็นว่าโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาที่ทวีความสำคัญ
ง. แม้ว่าสถิติโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยมิได้มีอัตราเพิ่มขึ้นมาก
ตอบ ก. เพราะจะเรียนได้ดังนี้ ง-ข-ค-ก
ข้อ 03 ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
ก. และให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ข. ลักษณะเด่นประการหนึ่งของการฝึกอบรมก็คือ
ค. ระหว่างผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้อภิปรายอย่างอิสระ
ง. วิธีการฝึกอบรมพยายามที่จะสร้างบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์
ตอบ ก. เพราะจะเรียงได้ดังนี้ ข-ง-ก-ค
ข้อ 04 ข้อความใดเป็นลำดับที่ 4
ก. การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น
ข. เพื่อประมวลข้อเท็จจริงนั้น ๆ มาเป็นความรู้ประดับสติปัญญา
ค. วิธีหนึ่งคือสดับตรับฟังข่าวสารต่าง ๆ ในปัจจุบันและค้นหาสาระที่แท้จริงสะสมไว้
ง. อีกวิธีหนึ่งคือศึกษาความเป็นมาของประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะทางด้านนโยบายต่างประเทศ
ตอบ ง. เพราะจะเรียงได้ดังนี้ ก-ค-ข-ง